โครงการ

การอบรบเชิงปฏิบัติเพื่อสนับสนุน 8 หมู่บ้านในการจัดตั้งเรือนเพาะชำที่ดอยแม่สะลอง

Ban Mae Ter school kids enjoy growing trees
โรงเรียนบ้านแม่เต๋อ - นักเรียนต่างมีความสุขที่ได้ปลูกต้นกล้า
May 12
2007
-
May 13
2010
Doi Mae Salong

หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าจัดทำโครงการฟื้นฟูป่าโดยมีกองบัญชาการทหารสูงสุดและองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรม 1,440 เฮกตาร์ ของดอยแม่สะลอง จังหวัดเชียงราย โครงการนี้ถูกริเริ่มจาก "การดำรงชีวิตและภูมิทัศน์ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ" โดยได้รับการสนับสนุนกล้าไม้จากมูลนิธิ Plant a Tree Today (PATT) พื้นที่ฟื้นฟูเป็นพื้นที่การเกษตรบนเนินสูงชันเสี่ยงต่อการพังทลายของดินและดินถล่ม

วัตถุประสงค์:

  1. เปลี่ยนแปลงพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลายเป็นป่าที่สมบูรณ์
  2. ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
1st workshop for Doi Mae Salong project
การอบรมเชิงปฏิบัติครั้งที่ 1 สำหรับโครงการดอยแม่สาลอง

หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าเป็นผู้สนับสนุนด้านวิธีการและงานวิจัยสำหรับโครงการตั้งแต่ปี 2550-2553 ได้จัดประชุมวางแผนแนวทางที่จัดโดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ประกอบไปด้วย 6 หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ภาครัฐท้องถิ่น คุณครูอาสา และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เพื่อแนะนำวิธีการที่เหมาะสมในการฟื้นฟูป่า

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติได้สนับสนุนจัดตั้งเรือนเพาะชำ 8 แห่ง ตั้งอยู่ในโรงเรียนชุมชน และมีหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าจัดอบรมวิธีการเพาะกล้าไม้ในเรือนเพาะชำทั้งหมด 8 แห่งในปี 2552 มีเนื้อหาประกอบด้วยการเพาะเฟมล็ด การย้ายกล้าไม้ การดูแลกล้าไม้ และการปลูกและรักษาต้นกล้าในแปลงฟื้นฟู

การเก็บเมล็ดเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ให้การสนใจ โดยที่หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าได้จัดกิจกรรมที่มีชื่อว่า "ลูกไม้ป้า" โดยให้นักเรียนได้ทดลองเขียนและติดแท็กให้กับต้นไม้ อีกทั้งยังจัดกิจกรรมเก็บเมล็ดและนำมาเพาะชำต่อไป

Treasure tree club
กิจกรรมสำหรับนักเรียนในการติดแท็กต้นไม้ธรรมชาติในแปลงฟื้นฟูป่าT

นอกจากนี้ยังมีการทดลองในแปลงฟื้นฟูเพื่อหาชนิดพรรณไม้โครงสร้างที่เหมาะสมในการฟื้นฟูป่าร่วมกับชุมชน (FORRU, 2006) ณ บ้านหล่อโย หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าให้การช่วยเหลือในด้านการติดตามผลการเจริญเติบโตของกล้าไม้และทดสอบประสิทธิภาพของกล้าไม้ในแปลงเพื่อรายงานผลให้กับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

 

 

การฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์

ครงการฟื้นฟูป่าควรให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เรียนรู้เรื่องการผสมผสานการศึกษาและการฝึกอบรมในโครงการฟื้นฟูป่าของคุณได้ที่นี่

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

1: ผลของปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตและการสะสมมวลชีวภาพของต้นไม้ไม่ผลัดใบ 3 ชนิดจากป่าเขตร้อน

Publication date05 Apr 2023
Author(s)Shannon, D.P., P. Tiansawat, S. Dasoon, S. Elliott & W. Pheera
PublisherTrends in Sciences
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: การปลูกต้นไม้โดยการใช้พันธุ์ไม้พื้นเมืองเป็นหลักเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าสามารถช่วยเยียวยาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้...

2: สมุดกิจกรรมโครงการยุวชนฟื้นฟูป่า

Publication date11 Nov 2022
Author(s)FORRU-CMU
PublisherChiang Mai University
Format
Book

คู่มือการเรียนรู้ที่ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับนักเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมของการฟื้นฟูป่า โดยเริ่มต้นจากการเก็บเมล็ด การเพาะกล้า ดูแลกล้าในเรือนเพาะชำ รวมถึงการปลูกต้นไม้...

3: คู่มือครูสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่

Publication date20 Mar 2022
Author(s)FOREST RESTORATION RESEARCH UNIT
PublisherChiang Mai University
Format
Book

4: ผลของการใช้อากาศกำจัดรากต่อการผลิตกล้าพรรณไม้โครงสร้างสำหรับฟื้นฟูป่าในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย

Publication date2020
Author(s)Chaiklang, P.
PublisherEnvironmental Science, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทนำ: การฟื้นฟูป่าด้วยพันธุ์ไม้โครงสร้างถือเครื่องมือสำคัญในการช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ วิธีการนี้ต้องอาศัยกล้าไม้ที่มีคุณภาพหลากหลายชนิด  ซึ่งถือเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายหลักในการฟื้นฟูป่า...

5: คุณภาพและต้นทุนการผลิตกล้าพรรณไม้โครงสร้างด้วยวิธีการตัดแต่งรากที่แตกต่างกัน

Publication date2019
Author(s)Preeyaphat Chaiklang, Sutthathorn Chairuangsri, Pimonrat Tiansawat
PublisherProceedings of the 5th EnvironmentAsia International Conference
Format
Conference Paper

บทนำ: การผลิตกล้าไม้คุณภาพดีถือเป็นหัวใจหลักในการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง ทั้งนี้การผลิตกล้าไม้นั้นมีต้นทุนสูงเป็นครึ่งหนึ่งของต้นทุนการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีการใช้พรรณไม้โครงสร้าง...

7: เมล็ดและข้อจำกัดของ microsite ของต้นไม้ที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ ที่มีผลกระจายโดยสัตว์พื้นที่ฟื้นฟูป่าเขตร้อนในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2018
Author(s)Sangsupan, H., D. Hibbs, B. Withrow-Robinson & S. Elliott
PublisherElsevier: Forest Ecology and Management 419-420:91-100
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ในพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่าหรือพื้นที่เสื่อมโทรม การฟื้นฟูป่าโดยการปลูกแบบผสมผสานระหว่างพันธุ์ไม้ป่าท้องถิ่นจะทำให้เกิดการเติบโตทางด้านเรือนยอดของป่าอย่างรวดเร็ว...

8: Selection of native tree species for restoring forest ecosystems

Publication dateJun 2016
Author(s)Shannon, D.P. & S. Elliott
PublisherProceedings of the 3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: วิธีพรรณไม้โครงสร้างเป็นเทคนิคการฟื้นฟูป่าเขตร้อนที่มีการยอมรับอย่างกว้างขวาง เป็นการปลูกไม้ท้องถิ่น 20-30 ชนิดที่มี อัตราการรอดตายและเจริญเติบโตสูง มีเรือนยอดแผ่กว้าง...

9: ผลของปุ๋ยและแอสไพรินที่มีต่อการขยายพนัธุ์พืชสกุลมะเดื่อจากเมล็ด

Publication date21 Apr 2016
Author(s)Sansupa, C.
PublisherDepartment of Biology, Faculty of Science Chiang Mai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: พืชสกุลมะเดื่อเป็นกลุ่มพืชที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความส าคัญในระบบนิเวศป่ าเขตร้อน และเป็ นพันธุ์ไม้ที่ไดร้ับการส่งเสริมในฐานะพนัธ์ไมโ้ครงสร้างส าหรับการฟ้ืนฟูป่าในภาคเหนือ...

10: Restoring Tropical Forests: a Practical Guide 

Publication date2013
Author(s)Elliott, S.D., D. Blakesley & K. Hardwick
PublisherFirst published in 2013 by Royal Botanic Gardens, Kew, Richmond, Surrey, TW9 3AB, UK www.kew.org Distributed on behalf of the Royal Botanic Gardens, Kew in North America by the University of Chicago Press, 1427 East 60th Street, Chicago, IL 60637, USA
Format
Book

มีให้บริการในภาษาอังกฤษสเปนและฝรั่งเศส      ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ในงานประชุม ณ สวนพฤกษศาสตร์หลวง เมืองคิว ประเทศอังกฤษ...