ห้องสมุด

เมล็ดและข้อจำกัดของ microsite ของต้นไม้ที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ ที่มีผลกระจายโดยสัตว์พื้นที่ฟื้นฟูป่าเขตร้อนในภาคเหนือของประเทศไทย

Date
2018
Authors
Sangsupan, H., D. Hibbs, B. Withrow-Robinson & S. Elliott
Publisher
Elsevier: Forest Ecology and Management 419-420:91-100
Serial Number
90
Suggested Citation
Sangsupan, H., D. Hibbs, B. Withrow-Robinson & S. Elliott, 2018. Seed and microsite limitations of large-seeded, zoochorous trees in tropical forest restoration plantations in northern Thailand Forest Ecology and Management 419-420:91-100
Seed and microsite limitations of large-seeded, zoochorous trees in tropical forest restoration plantations in northern Thailand

บทคัดย่อ: ในพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่าหรือพื้นที่เสื่อมโทรม การฟื้นฟูป่าโดยการปลูกแบบผสมผสานระหว่างพันธุ์ไม้ป่าท้องถิ่นจะทำให้เกิดการเติบโตทางด้านเรือนยอดของป่าอย่างรวดเร็ว ซึ่งเอื้อต่อการตั้งตัวของกล้าไม้ชนิดอื่นๆ ที่กระจายเข้ามาในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม เมล็ดที่มีขนาดใหญ่จะสามารถเข้ามาในพื้นที่ปลูกได้ช้ากว่า ต้นไม้ที่ต้องอาศัยสัตว์เป็นผู้กระจายเมล็ด (LSZ) อาจเป็นชนิดที่ส่งผลต่อองค์ประกอบ โครงสร้าง และหน้าที่ของป่าที่กำลังฟื้นตัว งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาข้อจำกัดของสภาวะ microsite ที่มีต่อการตั้งตัว (การงอกและการรอดของต้นกล้า) ของ LSZ ในพื้นที่ฟื้นฟูป่าเขตร้อนภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีอายุ 13 ปี จำนวน 3 แปลง โดยวางเมล็ด LSZ จำนวน 5 ชนิด ซึ่งเป็นชนิดที่ไม่มีการสำรวจพบในแปลงฟื้นฟูแม้ว่าจะมีต้นไม้แม่ซึ่งเป็นแหล่งเมล็ดพันธุ์ขึ้นอยู่ในป่าธรรมชาติใกล้เคียงก็ตาม ในรูปแบบของ microsite ที่แตกต่างกัน 4 แบบ แต่ละแบบมีโอกาสที่จะพบเมล็ดกระจายเข้ามาตามธรรมชาติ รวมไปถึงการสะสมของเมล็ดบนผิวดินและบนเศษใบไม้ ตลอดจนเมล็ดที่ถูกฝังไว้ใต้ดินและใต้เศษใบไม้ โดยเราได้ทำการล้อมรั้วเพื่อป้องกันการล่าเมล็ดและมุ่งเน้นไปที่ผลของสภาพแวดล้อมใน microsites ต่อการตั้งตัวของต้นกล้าในแต่ละระยะ หลังจากนั้น ทำการบันทึกการงอกและการอยู่รอดของต้นกล้า ความสูงเฉลี่ยและเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น เป็นเวลา 26 เดือน

ผลการศึกษาพบว่า microsite ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการงอกและการตั้งตัวของต้นกล้าอย่างมีนัยสำคัญ เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าการตั้งตัวของพรรณไม้ที่ใช้ทดสอบไม่ได้ถูกจำกัดโดยสภาพแวดล้อมใน microsite แม้ว่าการงอกและการรอดชีวิตระหว่างชนิดจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ค่าเฉลี่ยโดยรวมของการงอก (37%) และอัตราการรอดชีวิต(58.5%) ของต้นกล้าในช่วง 26 เดือนมีค่าสูง โดยไม่คำนึงถึงรูปแบบ microsite ที่ต่างกัน แสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมในพื้นที่ฟื้นฟูอายุ 13 ปี ส่งเสริมการงอกและการตั้งตัวของต้นกล้าในช่วงแรกได้ นอกจากนี้ ณ ช่วง 20 เดือน รูปแบบของ microsite ไม่มีความสัมพันธ์กับความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นของต้นกล้าอย่างมีนัยสำคัญ บ่งชี้ว่า microsite ไม่มีผลต่อการเติบโตและความแข่งแรงของต้นกล้า

ดังนั้น ผลการทดลองนี้สนับสนุนสมมติฐานที่ว่า การกระจายของเมล็ดเข้าสู่พื้นที่ไม่เพียงพอหรือความมีชีวิตของเมล็ดต่ำ เป็นสิ่งที่จำกัดการเกิดใหม่ของต้นกล้า LSZ ในแปลงฟื้นฟูป่า ต้นกล้า LSZ ที่ประสบความสำเร็จในการตั้งตัวจากเมล็ดที่วางไว้ในการทดลองนี้ ชี้ให้เห็นว่าการหยอดเมล็ดภายใต้เรือนยอดแปลงฟื้นฟู อาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการชดเชยข้อจำกัดในการกระจายเมล็ดเข้าสู่พื้นที่ฟื้นฟูป่า นอกจากนี้ หากไม่มีผลจาก microsite มาเกี่ยวข้อง การหยอดเมล็ดด้วยต้นไม้ที่เป็นชนิด LSZ อาจเป็นวิธีการที่ง่ายในการเพิ่มการปิดของเรือนยอดในแปลงฟื้นฟูได้อีกด้วย

Related Advice

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...