ห้องสมุด

การคัดเลือกพรรณไม้ที่เหมาะสมสำหรับการการหยอดเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Date
09 Apr 2024
Authors
Naruangsri, K, W. Pathom-aree, S. Elliott & P. Tiansawat
Publisher
Forests (MDPI)
Serial Number
282
Suggested Citation
Naruangsri, K, W. Pathom-aree, S. Elliott & P. Tiansawat. 2024. Selecting suitable tree species for direct seeding to restore forest ecosystems in northern Thailand. Forests, 15(4), 674. https://doi.org/10.3390/f15040674.  
DIrect seeded-seedling

บทคัดย่อ: เพื่อยกระดับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน การฟื้นฟูป่าโดยการหยอดเมล็ด – การนำเมล็ดไปหยอดในดินโดยตรง อาจเป็นเทคนิคที่มีต้นทุนต่ำกว่าการปลูกต้นไม้ อย่างไรก็ตามความสำเร็จของวิธีการนี้มักถูกจำกัดโดยการล่าเมล็ด สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในพื้นที่ฟื้นฟู อีกทั้งยังขาดของข้อมูลเกี่ยวกับชนิดต้นไม้ที่เหมาะสมสำหรับการหยอดเมล็ด ดังนั้น การศึกษานี้จึงได้ทดสอบความเหมาะสมของต้นไม้ป่าซึ่งเป็นพรรณไม้ท้องถิ่น จำนวน 23 ชนิด ที่นำมาใช้ในการหยอดเมล็ดเพื่อฟื้นฟูความหลากหลายในพื้นที่ป่าดิบที่สูงภาคเหนือของประเทศไทย เมล็ดของพรรณไม้แต่ละชนิดถูกแบ่งออกเป็น 3 ซ้ำ แล้วนำไปหยอดโดยการสุ่มภายในพื้นที่เสื่อมโทรม 2 แห่ง เปรียบเทียบกับสภาพควบคุมในเรือนเพาะชำ มีการติดตามการล่าเมล็ด (seed removal)และการงอกทุกสัปดาห์จนกระทั่งไม่มีการงอกเพิ่มขึ้นแล้วเป็นเวลามากกว่าหนึ่งเดือน จากนั้นจึงติดตามผลผลิตต้นกล้า (seedling yield) การเจริญเติบโต (growth) และคะแนนประสิทธิภาพ (performance score) ของแต่ละชนิดในช่วงเวลาที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าหลังจากหยอดเมล็ดเป็นเวลา 9 เดือน การล่าเมล็ดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างชนิด แต่โดยรวมมีน้อย ค่าเฉลี่ยระหว่างชนิดอยู่ที่ 3.4% (±0.5 SE) โดยขนาดเมล็ดมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการล่าเมล็ด ทั้งนี้ข้อมูลการงอกพบว่า เมล็ด 8 ชนิดไม่สามารถงอกในพื้นที่ทดลองได้ เมล็ดแต่ละชนิดมีเปอร์เซ็นการงอกที่แตกต่างกันอย่างมาก ค่าเฉลี่ยของการงอกระหว่างชนิดที่งอกได้ทั้ง 15 ชนิด คือ 25% (±6.2 SE) ชนิดที่มีการงอกสูงที่สุด 2 ชนิด ได้แก่ มะกล่ำต้น (Adenanthera microsperma) และฝาละมี (Alangium kurzii) เป็นชนิดที่มีการงอกมากกว่า 50% ชนิดที่มีการงอกปานกลาง (20-50%) จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ มะกอกห้ารู้ (Choerospondias axillaris) มะกอกป่า (Spondias pinnata) กล้วยฤษี (Diospyros glandulosa) เลี่ยน (Melia azedarach) และมะขามป้อม (Phyllanthus emblica) และมีเมล็ด 8 ชนิดที่มีการงอกต่ำ (<20%) หลังจากผ่านฤดูแล้งครั้งแรก ต้นกล้า 2 ใน 15 ชนิดที่งอกได้ ไม่สามารถรอดและตั้งตัวได้ การศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นว่า การงอกและการตั้งตัวของต้นกล้าได้รับอิทธิพลมาจากลักษณะของพรรณไม้แต่ละชนิด ได้แก่ ขนาดของเมล็ด พฤติกรรมการจัดเก็บ (seed storage behavior) และและสถานะของชนิด (successional status) ที่มีผลต่อความสำเร็จของการหยอดเมล็ด ผลการศึกษานี้แนะนำชนิดที่เหมาะกับการหยอดเมล็ด ได้แก่ มะกล่ำต้น มะกอกป่า และมะกอกห้ารู ซึ่งเป็นชนิดที่มีคะแนนประสิทธิภาพสูงสุด การเลือกชนิดที่เหมาะสมสำหรับการหยอดเมล็ดพิจารณาได้จากลักษณะของเมล็ดแต่ละชนิดโดยเลือกเมล็ดที่ทนต่อสภาพแห้ง (orthodox seed) โดยฌพาะเมล็ดกลุ่มที่มีเมล็ดที่มีขนาดกลางถึงใหญ่ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการตั้งตัวของต้นกล้าได้มากขึ้น

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

ปลูกป่าโดยการหยอดเมล็ด

การหยอดเมล็ดง่ายกว่าการปลูกต้นกล้า แต่อาจจะไม่ได้ผลดีเสมอไป เรียนรู้วิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสมของการปลูกป่าโดยการหยอดเมล็ด

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ