
โครงการ

โครงการธนาคารเมล็ดโลก : ปลดล็อค
From: Nov 2020 To: Dec 2026
ประเทศไทย
ทำงานร่วมกับ RBG-Kew และยังคงดำเนินโครงการต่อสำหรับทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในด้านการจัดหาเมล็ดพันธุ์ ความทนทานต่อความร้อนของเมล็ดพันธุ์ สายพันธุ์ที่ขาดข้อมูลและพันธุกรรม ภายใต้โครงการนี้เราได้รับความช่วยเหลือจากนักวิทยาษสตร์ชาวอินโดนีเซียในการจัดตั้งหน่วยวิจัยที่ชวา

จากเมล็ดสู่ต้นไม้
From: 01 Oct 2024 To: 28 Feb 2026
Regional
การรวบรวมชุดข้อมูลของ FORRU-CMU เพื่อพัฒนาแบบจำลองเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการเลือกชนิด

Restoring Bamboo-Deciduous Forest to a burnt site at Pong Yaeng Nork
From: May 2024 To: Jan 2026
Pong Yang Nork, Mae Rim, Chiang Mai, Thailand
Testing species and fertilizer doses to restore bamboo-deciduous forest to a burnt site. 3,500 trees planted, with 93% survival over the first rainy season. The project engages local communities and school pupils. Progress is tracked with field surveys and drone flights.

ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ชุมชนบ้านแม่สา
From: 01 Sep 2015 To: 31 Dec 2025
บ้านแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
การสนับสนุนโครงการศูนย์เพาะชำกล้าไม้ชุมชนบ้านแม่สาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการผลิต การวิจัย และการศึกษาวิจัยต้นไม้จากมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์

โครงการ BKIND กับ The Next Forest
From: 01 Jun 2023 To: 31 Dec 2025
Upper Mae Sa Valley, northern Thailand
โครงการนี้สนับสนุนการดูแลรักษาและการติดตามผลของแปลงป่าฟื้นฟูในพื้นที่หมู่บ้านแม่สาข้างบน ในขณะเดียวกันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการฟื้นที่ที่มีผลต่อคาร์บอนในป่าและการฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพ

ยุวชนฟื้นฟูป่า (Young Forest Restorers)
From: Apr 2022 To: Mar 2025
จังหวัดเชียงใหม่
ครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษามีทักษะ ความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพ สอนการเก็บเมล็ดพันธุ์ การเพาะกล้าและการดูแลต้นกล้า โดยสนับสนุน 4 โรงเรียนต่อปี มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ไม้ระหว่างโรงเรียน รวมถึงให้ความช่วยเหลือและติดตามผล

SIMPLE
From: 2024 To: 2025
ประเทศไทย
โครงการ SIMPLE สร้างป่าเสมือนจริงเพื่อเปิดประสบการณ์การฟื้นฟูป่าภายในห้องเรียนให้กับนักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการฟื้นฟูป่าผ่าน virtual reality (VR) tool

โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน
From: Jan 2017 To: Dec 2024
Nan, Thailand
โครงการฟื้นฟูป่าจังหวัดน่าน โดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดีย พนิตนาถ แชนนอน ซึ้งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย 3 โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ได้แก่

Restoring Upland Evergreen Forest at Mon Cham with the Rajapruek Institute Foundation (RIF)
From: 01 Apr 2022 To: 31 Jan 2024
Chiang Mai, Thailand
This project tested various candidate framework species for restoring upland evergreen forest at Mon Cham, with plantings in 2012 and 2022, enabling assessment of long term recovery of both biodiversity and carbon storage, compared with an adjacent remnant of reference forest.

FRAME - ป่าไม้, การบรรเทาและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
From: 15 Nov 2020 To: 31 Jan 2024
ประเทศลาว
โครงการนี้จะสร้างความเข้มแข็งให้กับการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านป่าไม้ในประเทศลาว และประเทศไทยโดยการพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ด้านการเรียน และการสอน (รวมทั้งการสอนแบบออนไลน์) เพื่อที่จะสร้างความสามารถสำหรับการจัดการป่าอย่างยั่งยืน การฟื้นฟูป่า และความเป็นอยู่ในชนบท ทั้งนี้ ...

หลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดการและฟื้นฟูป่าสำหรับชุมชนกะเหรี่ยงในเขตเกาะทูเลทางตะวันออกของเมียนมาร์
From: 01 Aug 2021 To: 31 Jan 2024
Kawthoolei, Myanmar
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่เกาะทูเลในการดำเนินการฟื้นฟูป่าที่ดีขึ้นและการจัดการป่าอย่างยั่งยืน

โครงการฟื้นฟูป่าชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ (CDSC)
From: May 2020 To: Jan 2024
ประเทศไทย, เชียงใหม่, อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
ดำเนินงานกิจกรรมให้กับโรงเรียนในการฟื้นฟูป่าเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงติดตามผลการเจริญเติบโตของกล้าไม้โดยใช้วิธีการพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่

โป่งแยงเทรล โปรเจค #4: ฟื้นฟูป่า 4 ไร่ ณ โป่งแยงใน
From: Aug 2021 To: Dec 2022
บ้านโป่งแยงใน, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่
โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าโดยใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างและติดตามผลการเจริญเติบโตของกล้าไม้ด้วยความร่วมมือจากศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพฯ และกลุ่มนักวิ่งเทรลโป่งแยง

โครงการผืนป่าบนกระดานดำ
From: Jan 2012 To: Mar 2022
กาญจนบุรี, เชียงใหม่, กระบี่
โครงการผืนป่าบนกระดานดำพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน มีเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้ที่มากขึ้น

ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูป่าดิบที่ราบต่ำของจังหวัดกระบี่
From: 25 Jan 2005 To: 30 Aug 2013
จังหวัดกระบี่ ประเทศไทย
ป่าดิบเขาที่ราบต่ำ บ้านของนกแต้วแล้วที่ใกล้สูญพันธุ์งานนี้ประกอบด้วยการศึกษาชีพลักษณ์ในป่าที่เหลืออยู่ การทดลองในเรือนเพาะชำเพื่อเตรียมพันธุ์ไม้มากกว่า 160 ชนิด และการทดลองภาคสนามเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสายพันธุ์ต่างๆ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดการฟื้นฟูระบบนิเวศที่หายากและนกที่ใกล้สูญพันธุ์

การฟื้นฟูถิ่นที่อยู่ของช้างในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าสลักพระ ภาคตะวันตกของประเทศไทย
From: 01 Oct 2008 To: 31 Oct 2010
จังหวัดกาญจนบุรี
โครงการนี้สร้างความรู้ในการฟื้นฟูป่าไผ่ผลัดใบในภาคตะวันตกของประเทศไทยเพื่ออนุรักษ์ช้างและลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างในพื้นที่อนุรักษ์สลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับทุนจากกองทุนอนุรักษ์ธรรมชาติ Keidanren ร่วมกับ ZSL ดำเนินการโดย ECN ซึ่ง FORRU-CMU ให้ความช่วยเหลือในเรื่องทางเทคนิค

การอบรบเชิงปฏิบัติเพื่อสนับสนุน 8 หมู่บ้านในการจัดตั้งเรือนเพาะชำที่ดอยแม่สะลอง
From: 12 May 2007 To: 13 May 2010
ดอยแม่สะลอง
กองบัญชาการทหารสูงสุด ร่วมกับ IUCN และ FORRU-CMU มุ่งหวังที่จะฟื้นฟูป่าบนพื้นที่เสื่อมโทรมขนาด 1,440 เฮคเตอร์ ที่ดอยแม่สลอง (DMSL) จังหวัดเชียงราย โครงการนี้เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2550 FORRU มีส่วนร่วมกับโครงการโดยเริ่มจากการจัดทำแปลงทดลองภาคสนาม และสร้างเรือนเพาะชำใน 8 ชุมชน

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูป่า: บำรุงรักษาและฝึกอบรมในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
From: 01 Jun 2006 To: 31 May 2009
ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
ในความร่วมมือกับโครงการ WWF ประเทศไทย และการสนับสนุนทางการเงินจากคิง เพาเวอร์ FORRUได้ดำเนินโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ตัวอย่างสำหรับการฟื้นฟูป่าไม้แบบบูรณาการ (FLR) เพื่อส่งเสริมแนวคิดนี้ให้กับกลุ่มผู้สนใจ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาและดูแลรักษาเรือนเพาะชำเพื่อผลิตพันธุ์ไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า

การฟื้นฟูป่าผลัดใบโดยปรับใช้หลักการของพันธุ์ไม้โครงสร้าง
From: 01 Sep 2006 To: 31 Mar 2008
จังหวัดเชียงใหม่ ห้วยตึงเฒ่า และจังหวัดแพร่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การทดลองภาคสนามเพื่อพิจารณาว่าวิธีพันธุ์ไม้โครงสร้างสามารถใช้ในการฟื้นฟูป่าเบญจพรรณที่ราบลุ่มได้หรือไม่ โครงการนี้สนับสนุนเรือนเพาะชำต้นไม้เพื่อการวิจัยและการทดลองภาคสนาม ผลลัพธ์คือสามารถจัดอันดับชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการฟื้นฟู วิธีการจัดการป่าไม้ที่เหมาะสม และวิธีการขยายพันธุ์พืช

การฟื้นฟูสนคิวเพรสซัส ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่
From: 01 Jun 1999 To: 31 Jan 2008
ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าร่วมกับอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยทำงานร่วมกันในการอนุรักษ์สนสกุลคิวเพรสซัสและคัดเลือกพรรณไม้ท้องถิ่นปลูกในพื้นที่ พบว่าต้นไม้ที่ปลูกมีอัตราการเจริญเติบโตที่ในแปลงที่มีการตัดแต่งกิ่งดีกว่าแปลงที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่ง