ห้องสมุด

ผลของการใช้อากาศกำจัดรากต่อการผลิตกล้าพรรณไม้โครงสร้างสำหรับฟื้นฟูป่าในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย

Date
2020
Authors
Chaiklang, P.
Publisher
Environmental Science, Chiang Mai University
Serial Number
238
Suggested Citation
Chaiklang, P., 2020. Effects of Root Air-Pruning on Framework Tree Species Seedlings Production for Forest Restoration in Northern and Southern Thailand. MSc Special Project Thesis.
Effects of Root Air-Pruning on Framework Tree Species Seedlings Production for Forest Restoration in Northern and Southern Thailand

บทนำ: การฟื้นฟูป่าด้วยพันธุ์ไม้โครงสร้างถือเครื่องมือสำคัญในการช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ วิธีการนี้ต้องอาศัยกล้าไม้ที่มีคุณภาพหลากหลายชนิด  ซึ่งถือเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายหลักในการฟื้นฟูป่า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการผลิตกล้าไม้ 3 แบบ ได้แก่ การเพาะกล้า ในภาชนะพร้อมขนย้าย, การกำจัดรากโดยใช้อากาศในภาชนะพร้อมขนย้าย  และการผลิตกล้าแบบปกติกับกล้าไม้พรรณไม้โครงสร้างจำนวน 10 ชนิด ในพื้นที่ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) และภาคใต้ (จังหวัดกระบี่) ของประเทศไทย การทดลองได้ทำการบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นกล้า ทุกเดือน และหลังจาก 6 เดือนเก็บตัวอย่างเพื่อหาน้ำหนักแห้ง ลักษณะและข้อมูลของราก รวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดของแต่ละวิธี จากผลการศึกษาพบว่ากล้าไม้ทั้ง 10 ชนิดมีอัตราการเจริญเติบโตในส่วนของความสูง, เส้นรอบวงคอราก ของพืชแต่ละชุดการทดลองและแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<.05) นอกจากนี้ยังพบว่าสุขภาพและลักษณะของรากมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<.05) ในบางสายพันธุ์พืช อีกทั้งการผลิตกล้าไม้ในภาชนะพร้อมขนย้าย และการกำจัดรากโดยใช้อากาศในภาชนะพร้อมขนย้าย ให้ผลการศึกษาของระบบรากที่มีการพัฒนาดี โดยการกำจัดรากโดยใช้อากาศสามารถเพิ่มการแตกแขนงของระบบราก และลดปริมาณการขดงอของราก ลดอัตราการตายของต้นกล้า และปริมาณของรากที่งอกทะลุถุงปลูก ซึ่งเป็นสาเหตุที่อันตรายต่อต้นกล้าที่จะขนย้ายไปยังแปลงฟื้นฟู รวมถึงมีชีวมวลที่มากกว่าเมื่อเทียบกับการผลิตกล้าไม้แบบปกติ  อีกทั้งยังพบว่าการผลิตกล้าไม้ด้วยกำจัดรากโดยใช้อากาศ สามารถช่วยลดต้นทุนโดยเฉพาะในส่วนของแรงงานในการผลิตกล้าไม้ได้ ดังนั้นวิธีการผลิตต้นกล้าแบบการใช้อากาศกำจัดรากสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพของการผลิตต้นกล้าในจำนวนมากต่อไป

Related Advice

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...