ห้องสมุด

การหาปริมาณการสะสมคาร์บอนเหนือพื้นดินในพื้นที่ป่าที่ถูกฟื้นฟูด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง

Date
Nov 2017
Authors
Jantawong, K.
Publisher
The Graduate School, Chiang Mai University.
Serial Number
256
Suggested Citation
Jantawong, K.. 2017. Determination of aboveground carbon sequestration in restored forest by framework species method. PhD thesis, The Graduate School, Chiang Mai University.
Rat thesis

บทคัดย่อ: การทำลายพื้นที่ป่าเขตร้อนเป็นสาเหตุที่ทำให้แหล่งสะสมคาร์บอนบนบกลดลงและส่งผลถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การฟื้นฟูพื้นที่ป่าในเขตร้อนจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว แต่การวัดปริมาณว่าคาร์บอนที่ถูกดูดซับโดยพื้นที่ป่าที่เกิดจากการฟื้นฟูป่ายังมีน้อย ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้ซึ่งได้มีการทดลองใช้วิธี Partial Harvest Method ในการเก็บข้อมูลปริมาตรต้นไม้ และมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน กลุ่มตัวอย่างพันธุ์ไม้ที่ทำการศึกษาประกอบด้วยพันธุ์ไม้โครงสร้าง 11 ชนิดในแปลงฟื้นฟูป่าอายุ 5 10 และ 14 ปี (R5, R10 และ R14 ตามลำดับ) เพื่อหาชนิดที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มปริมาณการสะสมคาร์บอนในการฟื้นฟูป่า ปริมาณคาร์บอนที่สะสมเหนือพื้นดินคำนวณโดยใช้ค่าความหนาแน่นเนื้อไม้ ปริมาตรต้นไม้ และมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณเปอร์เซ็นต์คาร์บอนต่อมวลชีวภาพที่สะสมในเนื้อไม้ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างอายุต้นไม้ และไม่มีความแตกต่างกันระหว่างชนิดต้นไม้ โดยพบว่ามีค่าเฉลี่ยของทุกชนิดที่ 44.67% (±0.54) ของมวลชีวภาพ ในแปลง R14 พบว่า ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans) มีการเจริญเติบโตมากกว่าชนิดอื่นๆและสะสมปริมาณคาร์บอนเหนือพื้นดินมากกว่าชนิดอื่นๆ คือ 135.23 kgC/ต้น เมื่อเฉลี่ยค่าการสะสมคาร์บอนเหนือดินต่อต้นของทุกชนิด พบว่าในแปลง R5 R10 และ R14 มีค่าการสะสม 9.4, 29.0 และ 48.8 kgC/ต้น ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณคาร์บอนเหนือดินที่สะสมในพื้นที่ต่อเฮคแตร์ พบว่า ป่าธรรมชาติที่อยู่ใกล้เคียงกับแปลงฟื้นฟูป่ามีค่าการสะสมคาร์บอนเหนือดินมากที่สุด คือ 181.5 เหนือพื้นดิน 124.1 และ 105.9 tC/ha ตามลําดับ จากผลการศึกษาพบว่าปริมาณคาร์บอนเหนือดินที่ สะสมในพื้นที่ป่าที่ฟื้นฟูด้วยวิธีการพันธุ์ไม้ โครงสร้าง จะมีปริมาณเทียบเท่ากับป่าธรรมชาติภายใน 16-17 ปี

นอกจากนี้การเลือกชนิดพันธุ์ไม้ สำหรับฟื้นฟูป่ายังควรคำนึงถึงความสามารถในการดูดซับคาร์บอนอีกด้วย การศึกษาครั้งนี้ทำ การทดสอบความสามารถในการดูดซับคาร์บอนโดยใช้พันธุ์ ไม้โครงสร้างจำนวน 8 ชนิดเพื่อเปรียบเทียบกันโดยใช้เครื่อง LICOR รุ่น Li-6400 ทดสอบในระดับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เทียบเท่ากับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศปัจจุบันโดยทดสอบในระดับความเข้มแสงที่ต่างกันโดยพบว่า ซ้อ (Gmelina arborea) มีอัตราการสังเคราะห์แสงสูงสุดคือ 56.2 ± 15.2 μmol CO2/m2/s ผลการศึกษาอัตราการสังเคราะห์แสงในระดับใบ จะนำมาคำนวณให้เป็นการสังเคราะห์แสงในระดับเรือนยอดของต้นไม้ และเปรียบเทียบกับผลจากการเก็บข้อมูลในภาคสนาม อย่างไรก็ตาม พบว่าการคำนวณให้ผลการประเมินที่มากเกินความเป็นจริงอันเป็นผลมาจากการขาดข้อมูลบางอย่างที่จำ เป็นในการคำนวณ เช่น การบดบังแสงอันเนื่องมาจากปัจจัยเมฆ

ผลปริมาณคาร์บอนเหนือดินที่สะสมในพื้นที่ป่าฟื้นฟูด้วยวิธีพันธุ์ไม้โครงสร้างจากการศึกษา ในครั้งนี้รวมกับปริมาณคาร์บอนใต้ดินในพื้นที่การศึกษาเดียวกัน(ข้อมูลทุติยภูมิ) ถูกนำ มาประเมิน ในประเด็นของการซื้อขายคาร์บอนในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (voluntary market) พบว่าในปีที่ 14 ของการฟื้นฟู ทั้งคาร์บอนเหนือดินและใต้ดินจะสามารถสร้างรายได้ มากถึง 11,308.4 US$/ha หรือ มีรายได้เฉลี่ยจากปีแรกถึงปีที่ 14 คือ 255.5 US$/ha จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าการฟื้นฟูป่าด้วยวิธีพันธุ์ไม้โครงสร้างสามารถสะสมปริมาณคาร์บอนในพื้นที่ในเวลาที่รวดเร็ว นอกจากส่งเสริมการสะสมคาร์บอนแล้ววิธีพันธุ์ไม้ โครงสร้างยังช่วยฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ชุมชนที่อยู่โดยรอบป่าสามารถพึ่งพิงผลผลิตจากป่าและได้รับประโยชน์จากระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญของโครงการ REDD+ อันจะช่วยให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

มวลชีวภาพ การสะสมของคาร์บอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ประมาณครึ่งหนึ่งของมวลชีวภาพของป่าที่กำลังเติบโตคือคาร์บอน ซึ่งหมายความว่าการฟื้นฟูป่าสามารถช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้ เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...