คำแนะนำ

มวลชีวภาพ การสะสมของคาร์บอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

Wood density
การเก็บตัวอย่างความหนาแน่นของเนื้อไม้ (wood density) – รวมทั้งข้อมูลความหนาแน่นของเนื้อไม้ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณการจัดเก็บคาร์บอนได้เป็นอย่างมาก

ป่าเขตร้อนสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงมากกว่าที่ปล่อยออกมาจากการหายใจ งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ระบุปริมาณ 'แหล่งกักเก็บคาร์บอน' ที่ประมาณ 1.3 กิกะตันคาร์บอน (GtC) ต่อปี เทียบเท่ากับ 16.6% ของการปล่อยคาร์บอนจากอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และเชื้อเพลิงฟอสซิลรวมกัน คิดเป็น 60% ของแหล่งกักเก็บที่พืชพรรณบนบกทั้งหมดสามารถรองรับได้ แม้ว่าการฟื้นฟูป่าไม่ได้ช่วยให้ภาวะโลกร้อนลดลง แต่ก็อาจช่วยชะลอความเร็วได้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ควรมีการปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนมาเป็นมาเป็นแบบที่มีการปล่อยเป็นศูนย์มากขึ้น

ประมาณ 47% ของมวลชีวภาพของต้นไม้มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เนื่องจากการกักเก็บคาร์บอนในป่าเป็นบริการทางระบบนิเวศที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ในแง่ของการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก จึงคุ้มค่ากับเงินจำนวนมากที่จ่ายในรูปแบบของ "คาร์บอนเครดิต" ตัวอย่างเช่นการศึกษาของ กัลยารัตน์ จันทวงศ์ ที่แสดงให้เห็นว่ากำไรจากคาร์บอนเครดิต ซึ่งเกิดจากการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการพรรณไม้โครงสร้าง อาจมีค่ามากกว่าผลกำไรจากการเพาะปลูกข้าวโพดถึง 16 เท่า ... หากเกษตรกรสามารถเข้าถึงตลาดคาร์บอนเครดิตได้โดยตรง ดังนั้น คาร์บอนเครดิตจึงไม่เพียงแต่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูเท่านั้น แต่ยังสร้างแรงจูงใจในส่วนของค่าตอบแทนแก่คนในท้องถิ่น ให้เปลี่ยนจากรูปแบบการทำการเกษตรกรรมที่สร้างความเสียหายเป็นการทำป่าไม้ที่ยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การปกป้องพื้นที่ต้นน้ำและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การจ่ายคาร์บอนเครดิตขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอนที่ถูกเก็บสะสมไว้ ดังนั้น การวัดปริมาณกักเก็บคาร์บอนในช่วงที่มีการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

เป็นที่ทราบกันดีถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของต้นไม้กับปริมาณคาร์บอนที่พวกมันเก็บไว้ ซึ่งถูกแสดงออกมาในรูปแบบของ "allometric equations" ดังนั้น การหาปริมาณคาร์บอนในต้นไม้ จึงต้องมีการวัดเส้นรอบวงและความสูงของต้นไม้ แล้วป้อนข้อมูลเข้าไปในสมการ allometric equations การเพิ่มข้อมูลความหนาแน่นของเนื้อไม้จะเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณเป็นอย่างมาก สำหรับภาคเหนือของประเทศไทย ฐิตินันท์ โพธิ์ทอง ได้พัฒนาสมการ allometric ใหม่ เฉพาะสำหรับชนิดต้นไม้และสภาพภูมิอากาศของภาคเหนือ แต่สำหรับพื้นที่อื่นๆ คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแนะนำให้ใช้สมการทั่วไปได้เช่นกัน

คาร์บอนยังถูกสะสมอยู่ในดิน เมื่อต้นไม้เติบโต ทิ้งใบ และตายไป ณัฏฐิรา ก๋าวินจันทร์ นักศึกษาปริญญาเอก ได้พัฒนาวิธีการที่แม่นยำในการวัดสิ่งเหล่านี้ รวมถึงสมการในการทำนายคาร์บอนลงไป 2 เมตรจากผิวดิน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างดินใกล้พื้นผิว

Carbon Monitoring Intructions

รายละเอียดทั้งหมดของวิธีการวัดการสะสมคาร์บอนในช่วงที่มีการฟื้นฟูป่าอย่างละเอียด ที่นี่.

1: การวิเคราะห์ทางการเงินของมูลค่าคาร์บอนจากการฟื้นฟูป่าโดยพรรณไม้โครงสร้าง

Publication dateJan 2022
Author(s)Jantawong, K., N. Kavinchan, P. Wangpakapattanawong & S. Elliott
PublisherForests 2022, 13, 144. https://doi.org/10.3390/f13020144
Format
Journal Paper

บทนำ: มูลค่าของการกักเก็บคาร์บอนจากการฟื้นฟูป่าโดยพรรณไม้โครงสร้างถูกนำมาใช้คำนวณ โดยวิเคราะห์จากแปลงฟื้นฟูที่มีอายุ 14 ปี สะสมเท่ากับ 43.08 tC /ha ในต้นไม้และ 8.56 tC / ha ในดิน โดยมีมูลค่ารวม...

2: การคำนวณเชิงสมการสำหรับหาปริมาณชีวมวลของต้นไม้และการกักเก็บคาร์บอนในป่าแล้งฟื้นฟูในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2021
Author(s)Pothong, T., S. Elliott, S. Chairuangsri, W. Chanthorn, D. Shannon & P. Wangpakapattanawong
PublisherNew Forests (2021). https://doi.org/10.1007/s11056-021-09844-3
Format
Journal Paper

บทนำ: ในขณะที่การตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนและความเสื่อมโทรมของป่าไม้ทวีความรุนแรงขึ้น การซื้อขายคาร์บอนเครดิตสามารถเป็นแรงจูงใจทางการเงินแก่การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า...

3: สมการอัลโลเมตริกชุดใหม่สำหรับการคำนวณมวลชีวภาพและคาร์บอน ของต้นไม้ในป่าดิบเขาทุติยภูมิในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2019
Author(s)Pothong, T.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
PhD Thesis

การบุกรุกทำลายป่าและการเสื่อมสภาพของป่าไม้อย่างรวดเร็วในปัจจุบัน มีส่วนทำให้กลไกทางเศรษฐศาสตร์ได้เกิดขึ้น เช่นกลไกการซื้อขายคาร์บอน ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่มีความสำคัญ...

4: การหาปริมาณการสะสมคาร์บอนเหนือพื้นดินในพื้นที่ป่าที่ถูกฟื้นฟูด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง

Publication dateNov 2017
Author(s)Jantawong, K.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University.
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การทำลายพื้นที่ป่าเขตร้อนเป็นสาเหตุที่ทำให้แหล่งสะสมคาร์บอนบนบกลดลงและส่งผลถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การฟื้นฟูพื้นที่ป่าในเขตร้อนจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว...

5: การกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินระหว่างการฟื้นฟูป่าดิบเขาที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2017
Author(s)Jantawong, K., S. Elliott & P. Wangpakapattanawong
PublisherScientific Research Publishing: Open J. For. 7: 157-171. doi: 10.4236/ ojf.2017.72010.
Format
Journal Paper

บทนำ: การตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนช่วยลดคาร์บอนซิงค์ของโลกและมีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ในทางกลับกันการฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าเขตร้อนสามารถช่วยบรรเทาปัญหาได้...

6: คาร์บอนอินทรีย์ในดินในป่าฟื้นฟูและป่าธรรมชาติในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2015
Author(s)Kavinchan, N., P. Wangpakapattanawong, S.  Elliott, S. Chairuangsri and J. Pinthong
PublisherKKU Res. J. 20(3): 294-304.
Format
Journal Paper

บทนำ: การฟื้นฟูป่าเขตร้อนมีบทบาทในการลดผลกระทยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การเก็บข้อมูลคาร์บอนอินทรีย์ในดินได้คัดเลือกจากแปลงฟื้นฟูภาคเหนือของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3...

7: การประยุกต์ใช้วิธีการพรรณไม้โครงสร้างเพื่อฟื้นฟูการไหลเวียนของคาร์บอนต่อการร่วงหลงและการย่อยสลายของซากพืชในระบบนิเวศป่าเขตร้อน ภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2015
Author(s)Kavinchan, N. P. Wangpakapattanawong, S. Elliott, S. Chairuangsri and J. Pinthong
PublisherKasetsart J. (Nat. Sci.) 49 : 639 - 650.
Format
Journal Paper

บทนำ - หากการฟื้นฟูป่ามีบทบาทที่สำคัญในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ยังคงต้องพึ่งพาความรู้เพื่อหากระบวนการฟื้นฟูการไหลเวียนของคาร์บอนในระดับเดียวกันกีบป่าธรรมชาติให้เร็วที่สุด...

8: การสะสมและพลวัตคาร์บอนในดินของระบบนิเวศป่าธรรมชาติและแปลงฟื้นฟูป่า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Publication dateDec 2013
Author(s)Kavinchan, N.
PublisherGraduate School, Chiang Mai University, Thailand.
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การศึกษาคาร์บอนใต้ดินในป่าที่ฟื้นฟูด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างโดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ซึ่งตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีอายุการปลูกคือ 11, 7 และ 2 ปี...