ห้องสมุด

การสะสมและพลวัตคาร์บอนในดินของระบบนิเวศป่าธรรมชาติและแปลงฟื้นฟูป่า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Date
Dec 2013
Authors
Kavinchan, N.
Publisher
Graduate School, Chiang Mai University, Thailand.
Serial Number
257
Suggested Citation
Kavinchan, N. 2013. Soil carbon sequestration and dynamics of natural forest ecosystems and forest restoration plots in Mae Rim District, Chiang Mai Province. PhD thesis, The Graduate School, Chiang Mai University.  
Nut_thesis

บทคัดย่อ: การศึกษาคาร์บอนใต้ดินในป่าที่ฟื้นฟูด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างโดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ซึ่งตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีอายุการปลูกคือ 11, 7 และ 2 ปี เปรียบเทียบกับแปลงป่าธรรมชาติใกล้เคียง รวมถึงแปลงที่ไม่ได้รับการฟื้นฟู (แปลงควบคุม) การศึกษาการสะสมปริมาณเศษซากพืชโดยการใช้ตาข่ายขนาด 1 x 1 ตารางเมตรรองรับเศษซากพืชที่ร่วงหล่นในแปลงศึกษาเป็นเวลา 32 เดือน (มิถุนายน 2552 – มกราคม 2555) โดยปริมาณเศษซากพืชอยู่ในช่วง 1.54 – 17.61 ตัน/เฮกตาร์ โดยป่าธรรมชาติมีปริมาณเศษซากพืชที่ร่วงหล่นสูงสุด รองลงมาคือ แปลงอายุ 11, 7, แปลงควบคุมและแปลงอายุ 2 ปี ตามลา ดับดังนี้ คือ 17.61, 13.98, 13.18, 6.24 และ 1.54 ตัน/เฮกตาร์ ส่วนปริมาณคาร์บอนในเศษซากพืช เท่ากับ 6.82, 4.96, 4.35, 2.08 และ 0.53 ตันคาร์บอนต่อเฮกตาร์ โดยป่าฟื้นฟูที่อายุมากจะมีแนวโน้มของเศษซากพืชและปริมาณคาร์บอนที่สะสมในเศษซากพืชมากกว่าแปลงที่อายุน้อย การย่อยสลายเศษซากพืชที่เป็นตัวแทนของพรรณไม้โครงสร้าง 3 ชนิดได้แก่ ทองหลางป่า ก่อแป้นและมะเดื่อน้อย โดยพบว่า มะเดื่อน้อยมีการย่อยสลายสูงสุด รองลงมาคือ ทองหลางป่าและก่อแป้น และได้มีการศึกษาการย่อยสลายของเศษซากพืชโดยการใช้ถุงตาข่ายขนาดใหญ่ โดยพบว่าอัตราการย่อยสลายสูงสุดในแปลงอายุ 7 ปีรองลงมาคือ แปลงอายุ 11 ปี แปลงควบคุม แปลงป่าธรรมชาติและแปลงอายุ 2 ปี คือ 2.85, 1.27, 1.20, 1.12 และ 1.08 ตามลำดับ

นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาคาร์บอนที่สะสมในดินจากผิวดินจนถึงระดับความลึก 200 เซนติเมตรโดยพบว่าแปลงอายุ 2 ปีมีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสะสมในดินสูงสุดรองลงมาคือ 254.40, แปลงอายุ 7 ปี แปลงป่าธรรมชาติ แปลงควบคุมและแปลงอายุ 11 ปีเท่ากับ 251.14, 244.96, 205.88 และ 161.82 ตัน คาร์บอนต่อเฮกตาร์

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

มวลชีวภาพ การสะสมของคาร์บอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ประมาณครึ่งหนึ่งของมวลชีวภาพของป่าที่กำลังเติบโตคือคาร์บอน ซึ่งหมายความว่าการฟื้นฟูป่าสามารถช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้ เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ