ห้องสมุด

การงอกของ Ficus microcarpa L. บนหินปูนเพื่อการฟื้นฟูเหมืองแร่

Date
2013
Authors
Yabueng, N.,
Publisher
Department of biology, faculty of science Chiang Mai University
Serial Number
203
Suggested Citation
Yabueng, N., 2013. Germination of Ficus microcarpa on limestone for restoring mines.
Germination of Ficus mocrocarpa L. on limestone for restoring mines

บทคัดย่อ: การทำเหมืองแร่ในประเทศไทยมีข้อกำหนดให้มีการฟื้นฟูพื้นที่หลังจากการทำเหมืองให้กลับสู่สภาพเดิมโดยได้ทำการศึกษาในพื้นที่เหมืองปูนซึ่งสัมปทานโดยบริษัทเครือซิเมนต์ไทย จำกัด จ.ลำปาง แต่การฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าวมีข้อจำกัด คือ หน้าดินถูกทำลาย และดินมีการอัดตัวกันอย่างหนาแน่น ซึ่งในการศึกษานี้คาดว่า F. microcarpa น่าจะมีความเหมาะสม ในการฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากในธรรมชาติ F. microcarpa สามารถเจริญได้บนหินปูน ซึ่งพืชชนิดนี้มีระบบรากที่แข็งแรง สามารถแทรกและทำลายชั้นหินได้ ทั้งยังเป็นพืชที่มีความสำคัญ ทางนิเวศวิทยา (keystone speciecs) ในป่าเขตร้อนทางตอนเหนือของไทย ซึ่งจะดึงดูดสัตว์ ที่ช่วยแพร่กระจายเมล็ดเข้ามาในพื้นที่ฟื้นฟู การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอนการงอกของ F. microcarpa ร่วมกับการใช้ Hydrogel โดยวิธีหยอดเมล็ด ในเรือนเพาะชำ โดยใช้ดินจากพื้นที่ศึกษา แบ่งออกเป็น 5 ชุดการทดลอง คือ ชุดควบคุม (ดินจากเหมือง), Hydrogel (H), Hydrogel ร่วมกับปุ๋ยเม็ดละลายช้า สูตร 14-14-14 (HFe), Hydrgel ร่วมกับยาฆ่าเชื้อรา (HFu) และ Hydogel ร่วมกับปุ๋ยและยาฆ่าเชื้อรา(HFefu) พบว่าเมล็ดที่ปลูกบน HFeFu มีอัตราการงอกสูงสุดที่ 34.5% ขณะที่ชุดควบคุมมีอัตราการงอกต่ำที่สุดคือ 19% ส่วนอัตราการงอกของเมล็ดบน H, HFe, และ HFu เท่ากับ 25%, 28.5% และ 27% ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (ANOVA. p<0.05) ดังนั้น F. microcarpa สามารถปลูกโดยการหยอดเมล็ด ในการตั้งต้นบนพื้นที่เหมืองปูนและ Hydrogel อาจจะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ของการฟื้นฟูพื้นที่ได้

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ