ห้องสมุด

การเปรียบเทียบชุมชีพของจุลินทรีย์ดินในพื้นที่เหมืองหินปูนแบบเปิดและแปลงฟื้นฟูภายในเหมือง

Date
2021
Authors
Chakriya Sansupa
Publisher
The Graduate School, Chiang Mai University
Serial Number
239
Suggested Citation
Sansupa, C., 2021. Comparison of Soil Microbial Communities in Opencast Limestone Mine and Mine Rehabilitation Sites. PhD thesis, The Graduate School, Chiang Mai University.
Comparison of soil microbial Communities in opencast Limestone mine and mine Rehabilitation sites

พื้นที่เหมืองหินปูนแบบเปิดจัดเป็นพื้นที่ที่มีความเสื่อมโทรมขั้นรุนแรงที่ต้องการกระบวนการฟื้นฟูระบบนิเวศแบบเข้มข้น ทั้งนี้การฟื้นฟูระบบนิเวศภายในเหมืองทางภาคเหนือของไทยดำเนินการโดยการคลุมพื้นเหมืองด้วยดินและปลูกพันธุ์ไม้โครงสร้าง วิธีการดังกล่าวนี้ส่งผลเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของพืชและสัตว์เหนือดิน อย่างไรก็ตามข้อมูลทางจุลินทรีย์ดินซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศยังคงมีน้อย ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงทำการศึกษามุมมองทางด้านจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูเหมืองหินปูน

โดยที่วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของดิน มวลชีวภพ กิจกรรมและองค์ประกอบของชุมชีพจุลินทรีย์ดินภายในพื้นที่เหมืองหินปูนกึ่งเปิดและแปลงฟื้นฟูเหมืองเปรียบเทียบกับพื้นที่ป่าใกล้เคียง การศึกษาครั้งนี้เก็บตัวอย่างดินในสองช่วงเวลาคือ 1) ก่อนปลูกต้นไม้ในแปลงฟื้นฟูเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างขององค์ประกอบของดินและจุลินทรีย์ในดินเหมืองกับดินที่ใช้ในพื้นที่แปลงฟื้นฟู และ 2) หลังการปลูกต้นไม้ 9 เดือนเพื่อตรวจสอบการตอบสนองของจุลินทรีย์ต่อการฟื้นฟูภายในเหมือง การศึกษามวลชีวภาพและกิจกรรมของจุลินทรีย์ทำโดยการวิเคราะห์ปริมาณกรดไขมันฟอสโฟลิปิด และกิจกรรมของเอนไซม์ในดิน ผลการศึกษาจากการเปรียบเทียบคุณสมบัติของดินและจุลินทรีย์ภายในเหมืองและแปลงฟื้นฟูแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของดินที่นำมาใช้เพื่อสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูภายในเหมือง โดยที่ดินในแปลงฟื้นฟูมีธาตุอาหารบางชนิดสูงกว่าดินในพื้นที่เหมืองอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ดินแปลงฟื้นฟูพบปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด และโพแทสเซียมจำนวน 0.05 % และ 67.40 mg/kg ดินเหมืองตรวจพบคุณสมบัติดังกล่าวจำนวน 0.02% และ 26.44 mg/kg ตามลำดับ หลังจากการฟื้นฟู 9 เดือนพบว่าประมาณ 9 % ของแปลงฟื้นฟูถูกปกคลุมด้วยพืชพื้นดินที่เข้ามาเองโดยธรรมชาติ ในเดียวกันไม่พบการปกคลุมของพืชภายในเหมือง ทั้งนี้ยังพบว่าความชื้นและอินทรียวัตถุในดินแปลงฟื้นฟูมีปริมาณมากกว่าดินเหมืองอย่างมีนัยสำคัญ ดินแปลงฟื้นฟูมีความชื้นและอินทรีย์วัตถุโดยเฉลี่ยประมาณ 5% และ 1% ในขณะที่ดินเหมืองมีคุณสมบัติดังกล่าวโดยเฉลี่ยประมาณ 2% และ 0.4% ตามลำดับ จากนั้นผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญระหว่างมวลชีวภาพจุลินทรีย์และกิจกรรมของเอนไซม์ดินระหว่างดินเหมืองและดินแปลงฟื้นฟูทั้งก่อนและหลังการปลูกต้นไม้ ในขณะเดียวกันพบว่าปริมาณความชื้นอินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหาร มวลชีวภาพจุลินทรีย์และกิจกรรมของเอนไซม์ในดินป่ามีมากกว่าดินเหมืองและแปลงฟื้นฟูอย่างมาก โดยที่คุณสมบัติบางชนิดเช่นปริมาณความชื้น มวลชีวภาพจุลินทรีย์รวม และเอนไซมเบต้ากลูโคซิเดสมีปริมาณสูงมากกว่าสิบเท่าของปริมาณที่พบในดินจากอีกสองพื้นที่ที่เหลือ

เนื่องจากในการศึกษาครั้งนี้ไม่สามารถสกัดดีเอ็นเอสิ่งแวดล้อมจากดินของเหมืองและแปลงฟื้นฟูได้ ดังนั้นจึงนำเสนอวิธีการใหม่ที่ใช้ในการศึกษาชุมชีพของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตในดิน โดยวิธีการที่นำเสนอสามารถตรวจพบจุลินทรีย์ได้ประมาณ 17 % จากปริมาณจุลินทรียทั้งหมด และยังสามารถตรวจจับจุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่ปรากฏในผลที่ได้จากดีเอนเอสิ่งแวดล้อม แม้ว่าวิธีการที่นำเสนอจะมีข้อจำกัดในบางประการ การใช้วิธีการนี้เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถก้าวข้ามปัญหาที่พบในการใช้ดีเอ็นเอจากสิ่งแวดล้อมบางแหล่งที่ดีเอ็นเอคุณภาพและปริมาณต่ำได้ จากการศึกษาโดยใช้วิธีการที่นำเสนอพบว่าองค์ประกอบชุมชีพของแบคทีเรียและฟังใจที่มีชีวิตในเหมืองและแปลงฟื้นฟูไม่มีความแตกต่างกัน แต่มีความแตกต่างจากองค์ประกอบชุมชีพของแบคทีเรียและฟังใจที่พบในป่าอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษานี้นำเสนอข้อมูลชนิดของจุลินทรีย์ดินที่สามารถอยู่รอดได้ในพื้นที่เหมืองหินปูน ซึ่งเป็นพืนที่ที่มีความเสื่อมโทรมอย่างรุนแรง การศึกษานี้พบว่ากลุ่มจุลินทรีย์เช่น Bacillus, Streptomyces และ Aspergillus อาจจะสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมการฟื้นตัวของระบบนิเวศภายในเหมืองได้ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งหมดในวิทยานิพนธ์นี้จะนำไปสู่ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับชุมชีพและกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูเหมือง ผลการศึกษาครั้งนี้อาจเป็นประโยชน์ในการพัฒนาแผนฟื้นฟูเหมืองและติดตามข้อมูลทางด้านจุลินทรีย์ในโครงการฟื้นฟูเหมืองในอนาคต

Related Advice

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...