ห้องสมุด

การพัฒนาเทคนิคใหม่ของการเก็บรักษาเมล็ดและการหยอดเมล็ด สปีชีส์ต้นไม้พื้นเมืองเพื่อการฟื้นฟูป่าเขตร้อน

Date
2017
Authors
Waiboonya, P.
Publisher
The Graduate School, Chiang Mai University
Serial Number
122
Suggested Citation
Waiboonya, P., Development of New Techniques of Seed Storage and Direct Seeding of Native Tree Species for Tropical Forest Restoration. PhD thesis, Graduate School, Chiang Mai University.
Punya

บทคัดย่อ: การหยอดเมล็ด หรือการนำเมล็ดปลูกลงพื้นที่ปลูกโดยตรง เป็นวิธีการที่ประหยัดในการนำมาใช้ฟื้นฟูป่า สามารถนำไปพัฒนาใช้กับการพื้นฟูป่าโดยวิธีทางอากาศและสามารถใช้เป็นทางเลือกแทนการปลูกป่าแบบดั้งเดิม ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษาเมล็ดและศึกษาประเภทการเก็บรักษาเมล็ด 2) เปรียบเทียบวิธีการหยอดเมล็ดระหว่างสองช่วงเวลาคือหยอดเมล็ดทันที่หลังจากเก็บเมล็ดกับหยอดเมล็ดหลังจากเก็บรักษาในช่วงเวลาที่เหมาะสม 3) เปรียบเทียบวิธีการหยอดเมล็ดกับวิธีการปลูกแบบดั้งเดิม และ 4) พัฒนาวิธีการหยอดเมล็ดให้ได้ผลที่ดีทำการทดลองกับไม้พื้นเมืองในเขตภาคเหนือ โดยการหาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษาจากทดลองการแปรผันสภาวะการเก็บรักษาที่อุณหภูมิและความชื้นของเมล็ดต่างกัน การเปรียบเทียบช่วงเวลาการหยอดโดยนำเมล็ดไปหยอดในแปลงทดลองทันทีที่เก็บเมล็ดได้กับการเก็บรักษาเมล็ดช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนเพื่อรอหยอดในช่วงต้นฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม การเปรียบเทียบต้นกล้าที่มาจากวิธีการหยอดเมล็ดและต้นกล้าจากเรือนเพาะชำ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาวิธีการหยอดเมล็ดโดยกาใช้ไฮโดรเจล ทั้งนี้ได้มีการปรียบเทียบการงอก การอยู่รอด การตั้งตัว และการเจริญเติบโตของต้นกล้า จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ร้อยละการงอก ค่ากลางการพักตัว และการเจริญเติบโต มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างเมล็ดที่หยอดทันทีกับเมล็ดที่รอหยอดในช่วงต้นฤดูฝน ส่วนไฮโดรเจลไม่มีผลต่อการงอก การอยู่รอด และการเจริญเติบโตของต้นกล้าเมล็ดประเภท ออร์โทดอกซ์ สามารถเก็บรักษาเพื่อรอหยอดเมล็ดพร้อมกันในช่วงต้นฤดูฝนได้ ในขณะที่เมล็ดประเภทรีคาลซิแทรนท์ควรหยอดเมล็ดทันทีเพื่อยังคงให้เมล็ดมีชีวิตอยู่ จากผลการทดลองสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการพื้นฟูป่าโดยวิธีทางอากาศต่อไป

 

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

ปลูกป่าโดยการหยอดเมล็ด

การหยอดเมล็ดง่ายกว่าการปลูกต้นกล้า แต่อาจจะไม่ได้ผลดีเสมอไป เรียนรู้วิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสมของการปลูกป่าโดยการหยอดเมล็ด

การเก็บและรักษาเมล็ด และธนาคารเมล็ด

การเก็บเมล็ด และการเก็บรักษาเมล็ด ไปจนถึงวิธีการทำธนาคารเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูป่า

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ