โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ (CDSC)

Melia toosendan
นักเรียนกับต้นเลี่ยน Melia toosendan หนึ่งในพรรณไม้โครงสร้างที่โตเร็ว มีอายุ 6 เดือนหลังปลูก (ภากจากคุณ Alvin Yunkun Ji, CDSC Marketing Manager)
May 01
2020
-
Jan 28
2024
ประเทศไทย, เชียงใหม่, อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

โครงการฟื้นฟูป่าเพื่อชดเชยรอยเท้าคาร์บอนของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ร่วมกับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าในการใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูบนพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติให้แก่นักเรียน

โครงการริเริ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีพ.ศ.2562 และเป็นกิจกรรมแรกเริ่มในการประยุกต์ใช้กระบวนการฟื้นฟูตั้งแต่การเก็บเมล็ด การจัดตั้งเรือนเพาะชำ การระดมทุนในการดูแลกล้าไม้ ไปจนถึงการจัดการในเรือนเพาะชำภายในโรงเรียน ซึ่งพื้นที่เป้าหมายคือชุมชนบ้านแม่แมะ ภายใต้การดูแลของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สา

การเตรียมพื้นที่นั้นได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แรม ชุมชนบ้านแม่แมะ และเจ้าหน้าที่ของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า โดยจัดกิจกรรมเตรียมแปลงฟื้นฟูก่อนการปลูกระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน พ.ศ.2563 และจัดกิจกรรมปลูกกล้าไม้จำนวนทั้งหมด 1,000 กล้าในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2563 นอกจากนั้นมีการดูแลแปลงฟื้นฟูโดยตัดหญ้าและใส่ปลูกจำนวน 3 ครั้ง ในฤดูฝน และติดตามผลการเจริญเติบโตของต้นกล้าในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

"ผลลัพธ์จากการเก็บข้อมูลในแปลงฟื้นฟูพบว่า กล้าไม้ส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดี อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตให้ค่าที่สูงกว่าแปลงข้างเคียงที่เคยสำรวจ พบว่าเส้นรอบวงของคอราก (RCD) เฉลี่ย 13.13 มม. หรือเพิ่มขึ้น 180%ต่อปี (พยากรณ์จากการเพิ่มขึ้นของ RCD อยุ่ที่ 36-37 มม. หลังฤดูฝนครั้งที่สอง) และพยากรณ์ว่าต้นกล้าส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีหลังฤดูฝนครั้งที่สอง โดยเฉพาะชนิดพรรณไม้ดังต่อไปนี้ เลี่ยน (Melia toosendan), มะขามป้อม (Phyllanthus emblica), เสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata) และไทรย้อย (Ficus capillipe) เป็นชนิดที่แนะนำสำหรับการฟื้นฟูในพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสืบค้นจากรายงานโครงการจากช่องดาวน์โหลด (รวมถึงข้อมูลการเจริญเติบโตของกล้าไม้)

CDSCบทความที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมัน เชียงใหม่  (CDSC)

โครงการได้ดำเนินงานต่อเนื่องในปี พ.ศ.2564 ภายใต้วัตถุประสงค์ในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจก และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการปลูกต้นไม้ ซึ่งแปลงฟื้นฟูที่ถูกเลือกอยู่ใกล้กับแปลงฟื้นฟูเดิม โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็นหลายส่วน ได้แก่ การเตรียมพื้นที่ (ตัดหญ้า) การปักหลักไม้ไผ่ การขุดหลุม และปลูกต้นไม้จำนวนทั้งหมด 300 ต้น จากเรือนเพาะชำของโรงเรียนคริสเตียนเชียงใหม่และหน่วยจัดการต้นน้ำปงไคร้ นอกจากนั้นมีการติดตามการรอดชีวิตและการเจริญเติบโต จำนวน 3 ครั้ง หลังปลูก 2-3 สัปดาห์ และในฤดูฝนอีก 2 ครั้ง และมีการบำรุงรักษาต้นไม้โดยการตัดหญ้าและใส่ปุ๋ยจำนวน 3 ครั้ง ในฤดูฝนเป็นระยะเวลา 2 ปี

 

การฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์

ครงการฟื้นฟูป่าควรให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เรียนรู้เรื่องการผสมผสานการศึกษาและการฝึกอบรมในโครงการฟื้นฟูป่าของคุณได้ที่นี่

มวลชีวภาพ การสะสมของคาร์บอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ประมาณครึ่งหนึ่งของมวลชีวภาพของป่าที่กำลังเติบโตคือคาร์บอน ซึ่งหมายความว่าการฟื้นฟูป่าสามารถช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้ เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

1: การคัดเลือกพรรณไม้ที่เหมาะสมสำหรับการการหยอดเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date09 Apr 2024
Author(s)Naruangsri, K, W. Pathom-aree, S. Elliott & P. Tiansawat
PublisherForests (MDPI)
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: เพื่อยกระดับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน การฟื้นฟูป่าโดยการหยอดเมล็ด – การนำเมล็ดไปหยอดในดินโดยตรง – อาจเป็นเทคนิคที่มีต้นทุนต่ำกว่าการปลูกต้นไม้...

2: การพัฒนาเทคนิคสำหรับการหยอดเมล็ดโดยตรงเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication dateNov 2023
Author(s)Naruangsri, K.
PublisherChiangmai University
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ดเป็นวิธีการที่มีศักยภาพในด้านต้นทุนเมื่อเทียบกับการปลูกต้นไม้เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนในสเกลที่ใหญ่ขึ้น...

3: ความแตกต่างของการล่าเมล็ด การงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดชนิดที่มีความเหมาะสมในการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ด – กรณีศึกษาจากภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date16 Aug 2023
Author(s)Naruangsri, K., P. Tiansawat, S. Elliott
PublisherForest Ecosystems
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ฟื้นฟูป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนโดยวิธีการหยอดเมล็ดอาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่าการปลูกต้นไม้แบบเดิม  อย่างไรก็ตาม...

4: ความเข้าใจเกี่ยวกับการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้: เสริมรากฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ

Publication date14 Nov 2022
Editors(s)Marshall AR, Banin LF, Pfeifer M, Waite CE, Rakotonarivo S, Chomba S, Chazdon RL.
PublisherThe Royal Society Publishing
Format
Journal Paper

ภายใต้ทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ พ.ศ. 2564-2573 ไม่มีเวลาที่สำคัญหรือเหมาะสมอีกต่อไปในการฟื้นฟูป่า ซึ่งมีความสำคัญต่อสายพันธุ์ ผู้คน และสภาพอากาศของโลก อย่างไรก็ตาม...

5: เส้นทางสู่การฟื้นคืน: การสังเคราะห์ผลลัพธ์จากการฟื้นฟูระบบนิเวศในป่าเอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

Publication date14 Nov 2022
Author(s)Banin Lindsay F., Raine Elizabeth H., Rowland Lucy M., Chazdon Robin L., et al. including Elliott, S and Manohan, B.
Editors(s)Andrew R. Marshall, Lindsay F. Banin, Marion Pfeifer, Catherine E. Waite, Sarobidy Rakotonarivo, Susan Chomba and Robin L. Chazdon
PublisherPhil. Trans. R. Soc. B3782021009020210090
Format
Journal Paper

  ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร. สตีเฟ่น เอลเลียต หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา และ น.ส. เบญจพรรณ มโนหาญ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาชีววิทยา...

6: สมุดกิจกรรมโครงการยุวชนฟื้นฟูป่า

Publication date11 Nov 2022
Author(s)FORRU-CMU
PublisherChiang Mai University
Format
Book

คู่มือการเรียนรู้ที่ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับนักเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมของการฟื้นฟูป่า โดยเริ่มต้นจากการเก็บเมล็ด การเพาะกล้า ดูแลกล้าในเรือนเพาะชำ รวมถึงการปลูกต้นไม้...

7: การใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าระยะเริ่มต้นในพื้นที่เหมืองเปิด

Publication dateSep 2022
Author(s)Changsalak, P.
PublisherGraduate School, Chiang Mai University, Thailand.
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ: การติดตามตรวจสอบการฟื้นฟูป่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความก้าวหน้าของเทคนิคการฟื้นฟู แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของค่าจ้างแรงงาน...

8: คู่มือครูสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่

Publication date20 Mar 2022
Author(s)FOREST RESTORATION RESEARCH UNIT
PublisherChiang Mai University
Format
Book

            โครงการผืนป่าบนกระดานดำ คู่มือฉบับภาษาไทยได้รับรางวัลที่ 3 ประเภทการเขียนรางวัลลูกโลกสีเขียว หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนและออกแบบโดยไผ่และส้ม (เจ้าหน้าที่ทางการศึกษาของเรา)...

9: การเปรียบเทียบการตรวจจับต้นกล้าและการวัดความสูงโดยใช้แบบจำลอง 3 มิติ จากซอฟต์แวร์สามชุด: ประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูป่า

Publication dateMar 2022
Author(s)Changsalak, P. & P. Tiansawat
PublisherEnvironmentAsia Journal, 15, 100-105. DOI 10.14456/ea.2022.26
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ความท้าทายหนึ่งสำหรับการฟื้นฟูป่าคือการเฝ้าติดตามผลลัพธ์จากการฟื้นฟู โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามการรอดตายของกล้าไม้ แบบจำลอง 3...

10: การวิเคราะห์ทางการเงินของมูลค่าคาร์บอนจากการฟื้นฟูป่าโดยพรรณไม้โครงสร้าง

Publication dateJan 2022
Author(s)Jantawong, K., N. Kavinchan, P. Wangpakapattanawong & S. Elliott
PublisherForests 2022, 13, 144. https://doi.org/10.3390/f13020144
Format
Journal Paper

บทนำ: มูลค่าของการกักเก็บคาร์บอนจากการฟื้นฟูป่าโดยพรรณไม้โครงสร้างถูกนำมาใช้คำนวณ โดยวิเคราะห์จากแปลงฟื้นฟูที่มีอายุ 14 ปี สะสมเท่ากับ 43.08 tC /ha ในต้นไม้และ 8.56 tC / ha ในดิน โดยมีมูลค่ารวม...