โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ (CDSC)

Melia toosendan
นักเรียนกับต้นเลี่ยน Melia toosendan หนึ่งในพรรณไม้โครงสร้างที่โตเร็ว มีอายุ 6 เดือนหลังปลูก (ภากจากคุณ Alvin Yunkun Ji, CDSC Marketing Manager)
May 01
2020
-
Jan 28
2024
ประเทศไทย, เชียงใหม่, อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

โครงการฟื้นฟูป่าเพื่อชดเชยรอยเท้าคาร์บอนของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ร่วมกับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าในการใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูบนพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติให้แก่นักเรียน

โครงการริเริ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีพ.ศ.2562 และเป็นกิจกรรมแรกเริ่มในการประยุกต์ใช้กระบวนการฟื้นฟูตั้งแต่การเก็บเมล็ด การจัดตั้งเรือนเพาะชำ การระดมทุนในการดูแลกล้าไม้ ไปจนถึงการจัดการในเรือนเพาะชำภายในโรงเรียน ซึ่งพื้นที่เป้าหมายคือชุมชนบ้านแม่แมะ ภายใต้การดูแลของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สา

การเตรียมพื้นที่นั้นได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แรม ชุมชนบ้านแม่แมะ และเจ้าหน้าที่ของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า โดยจัดกิจกรรมเตรียมแปลงฟื้นฟูก่อนการปลูกระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน พ.ศ.2563 และจัดกิจกรรมปลูกกล้าไม้จำนวนทั้งหมด 1,000 กล้าในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2563 นอกจากนั้นมีการดูแลแปลงฟื้นฟูโดยตัดหญ้าและใส่ปลูกจำนวน 3 ครั้ง ในฤดูฝน และติดตามผลการเจริญเติบโตของต้นกล้าในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

"ผลลัพธ์จากการเก็บข้อมูลในแปลงฟื้นฟูพบว่า กล้าไม้ส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดี อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตให้ค่าที่สูงกว่าแปลงข้างเคียงที่เคยสำรวจ พบว่าเส้นรอบวงของคอราก (RCD) เฉลี่ย 13.13 มม. หรือเพิ่มขึ้น 180%ต่อปี (พยากรณ์จากการเพิ่มขึ้นของ RCD อยุ่ที่ 36-37 มม. หลังฤดูฝนครั้งที่สอง) และพยากรณ์ว่าต้นกล้าส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีหลังฤดูฝนครั้งที่สอง โดยเฉพาะชนิดพรรณไม้ดังต่อไปนี้ เลี่ยน (Melia toosendan), มะขามป้อม (Phyllanthus emblica), เสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata) และไทรย้อย (Ficus capillipe) เป็นชนิดที่แนะนำสำหรับการฟื้นฟูในพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสืบค้นจากรายงานโครงการจากช่องดาวน์โหลด (รวมถึงข้อมูลการเจริญเติบโตของกล้าไม้)

CDSCบทความที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมัน เชียงใหม่  (CDSC)

โครงการได้ดำเนินงานต่อเนื่องในปี พ.ศ.2564 ภายใต้วัตถุประสงค์ในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจก และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการปลูกต้นไม้ ซึ่งแปลงฟื้นฟูที่ถูกเลือกอยู่ใกล้กับแปลงฟื้นฟูเดิม โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็นหลายส่วน ได้แก่ การเตรียมพื้นที่ (ตัดหญ้า) การปักหลักไม้ไผ่ การขุดหลุม และปลูกต้นไม้จำนวนทั้งหมด 300 ต้น จากเรือนเพาะชำของโรงเรียนคริสเตียนเชียงใหม่และหน่วยจัดการต้นน้ำปงไคร้ นอกจากนั้นมีการติดตามการรอดชีวิตและการเจริญเติบโต จำนวน 3 ครั้ง หลังปลูก 2-3 สัปดาห์ และในฤดูฝนอีก 2 ครั้ง และมีการบำรุงรักษาต้นไม้โดยการตัดหญ้าและใส่ปุ๋ยจำนวน 3 ครั้ง ในฤดูฝนเป็นระยะเวลา 2 ปี

 

การฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์

ครงการฟื้นฟูป่าควรให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เรียนรู้เรื่องการผสมผสานการศึกษาและการฝึกอบรมในโครงการฟื้นฟูป่าของคุณได้ที่นี่

มวลชีวภาพ การสะสมของคาร์บอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ประมาณครึ่งหนึ่งของมวลชีวภาพของป่าที่กำลังเติบโตคือคาร์บอน ซึ่งหมายความว่าการฟื้นฟูป่าสามารถช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้ เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

31: Restoring Tropical Forests: a Practical Guide 

Publication date2013
Author(s)Elliott, S.D., D. Blakesley & K. Hardwick
PublisherFirst published in 2013 by Royal Botanic Gardens, Kew, Richmond, Surrey, TW9 3AB, UK www.kew.org Distributed on behalf of the Royal Botanic Gardens, Kew in North America by the University of Chicago Press, 1427 East 60th Street, Chicago, IL 60637, USA
Format
Book

มีให้บริการในภาษาอังกฤษสเปนและฝรั่งเศส      ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ในงานประชุม ณ สวนพฤกษศาสตร์หลวง เมืองคิว ประเทศอังกฤษ...

32: การใช้ชนิดของมะเดื่อเอเชียในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน

Publication date2013
Author(s)Kuaraksa, C. and S. Elliott
PublisherRestoration Ecology
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ต้นมะเดื่อ (Ficus spp.) ได้รับการส่งเสริมให้เป็นพรรณไม้โครงสร้างสำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อนทั่วภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นชนิดที่ถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหลัก (keystone species) ดังนั้น...

33: ปลูกให้เป็นป่ากับหลินและทราย - เรื่องราวสำหรับเด็ก

Publication date2013
Author(s)FORRU-CMU
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

หนังสือการ์ตูน "ปลูกให้เป็นป่ากับหลินและทราย" เผยแพร่ให้ดาวน์โหลดหลายภาษา สามารถเลือกภาษาที่ต้องการในช่องสี่เหลี่ยมทางขวามือ ถ้าหากไม่พบภาษาที่คุณต้องการ ทางเรายินดีที่จะเสนอไฟล์ PDF...

34: นิเวศวิทยาการสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์ไม้ยืนต้นในสกุล มะเดื่อ ไทร (Ficus spp.) เพื่อเป็นพรรณไม้ โครงสร้างสำหรับการฟื้นฟูป่า

Publication dateFeb 2012
Author(s)Kuaraksa, C.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
PhD Thesis

     ไม้ในกลุ่มมะเดื่อ ไทร ได้รับการส่งเสริมเป็นพรรณไม้โครงสร้างสำหรับปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าในเขตร้อน เนื่องด้วยมีความสำคัญในระบบนิเวศโดยเฉพาะในแง่ของการเป็นแหล่งอาหารสำหรับสัตว์ป่า...

35: การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมในพื้นที่แห้งแล้ง : แนวคิดและแนวทางปฎิบัติเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคตะวันตก

Publication date2011
Author(s)A. Sapanthuphong, S. Thampituk, and A. SukIn
PublisherElephant Conservation Network, Kanchanaburi
Format
Book

รายงานการรวบรวมองค์ความรู้จากโครงการ "การวิจัยเพื่อการฟื้นฟูป่า" ในชุมชนหมู่บ้านแก่งปลากด ที่มีพื้นที่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ มีการดำงานร่วมกันระหว่าง เครือข่ายอนุรักษ์ช้าง (ECN)...

36: บทบาทของสวนพฤกษศาสตร์ในด้านวิทยาศาสตร์และการปฏิบัติในการฟื้นฟูระบบนิเวศ

Publication date2011
Author(s)Hardwick K. A., P. Fiedler, L. C Lee, B. Pavlik, R. J Hobbs, J. Aronson, M. Bidartondo, E. Black, D. Coates, M. I Daws, K. Dixon, S. Elliott, et. al.
PublisherWiley, Conservation Biology 25(2):265-275
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ทักษะและทรัพยากรหลายอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับสวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติ รวมถึงอนุกรมวิธานพืช พืชสวน และการจัดการธนาคารเมล็ด ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความพยายามในการฟื้นฟูระบบนิเวศ...

37: ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูป่าดิบที่ต่ำของจังหวัดกระบี่

Publication date2008
Author(s)The Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Elliott, S., C. Kuaraksa, P. Tunjai, T. Polchoo, T. Kongho, J. Thongtao & J. F. Maxwell
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “การวิจัยและอนุรักษ์นกแต้วแร้วทองดำในประเทศไทยและประเทศพม่า” ซึ่งดำเนินการโดยองค์กรอนุรักษ์นกแห่งสหราชอาณาจักร (RSPB) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก Darwin...

38: งานวิจัยเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน คู่มือดำเนินการ

Publication date2008
Author(s)Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Elliott, S.D., D. Blakesley & S. Chairuangsri
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

          คู่มือทางเทคนิคนี้มุ่งเป้าไปที่นักวิจัยและหัวหน้างาน คู่มือทางเทคนิคนี้อธิบายถึงวิธีการจัดตั้งหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าอธิบายวิธีการจัดตั้งหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าไม้(FORRU)...

39: การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่เจริญขึ้นเองตามธรรมชาติ และต้นไม้ที่ปลูกในป่าเต็งรังที่เสื่อมโทรม เพื่อประเมินโอกาสในการฟื้นฟู

Publication date2007
Author(s)Kasemsuk, M
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

การตัดไม้ทำลายป่าถือเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในประเทศเขตร้อน ซึ่งส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง และเกิดการเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การพังทลายของดิน ดังนั้น...

40: ปลูกให้เป็นป่า แนวคิดและแนวปฏิบัติ สำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อน

Publication date2005
Author(s)The Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Elliott, S., D. Blakesley, J.F. Maxwell, S,, Doust & S. Suwannaratana
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ได้ตีพิมพ์หนังสือคู่มือเล่มนี้เมื่อปีพ.ศ. 2548  ในคู่มือเล่มนี้ประกอบด้วยหลักการทั่วไปทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติในการฟื้นฟูป่า  ซึ่งสามารถใช้ทั่วไปในการฟื้นฟูป่าเขตร้อน ...