โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ (CDSC)

Melia toosendan
นักเรียนกับต้นเลี่ยน Melia toosendan หนึ่งในพรรณไม้โครงสร้างที่โตเร็ว มีอายุ 6 เดือนหลังปลูก (ภากจากคุณ Alvin Yunkun Ji, CDSC Marketing Manager)
May 01
2020
-
Jan 28
2024
ประเทศไทย, เชียงใหม่, อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

โครงการฟื้นฟูป่าเพื่อชดเชยรอยเท้าคาร์บอนของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ร่วมกับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าในการใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูบนพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติให้แก่นักเรียน

โครงการริเริ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีพ.ศ.2562 และเป็นกิจกรรมแรกเริ่มในการประยุกต์ใช้กระบวนการฟื้นฟูตั้งแต่การเก็บเมล็ด การจัดตั้งเรือนเพาะชำ การระดมทุนในการดูแลกล้าไม้ ไปจนถึงการจัดการในเรือนเพาะชำภายในโรงเรียน ซึ่งพื้นที่เป้าหมายคือชุมชนบ้านแม่แมะ ภายใต้การดูแลของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สา

การเตรียมพื้นที่นั้นได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แรม ชุมชนบ้านแม่แมะ และเจ้าหน้าที่ของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า โดยจัดกิจกรรมเตรียมแปลงฟื้นฟูก่อนการปลูกระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน พ.ศ.2563 และจัดกิจกรรมปลูกกล้าไม้จำนวนทั้งหมด 1,000 กล้าในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2563 นอกจากนั้นมีการดูแลแปลงฟื้นฟูโดยตัดหญ้าและใส่ปลูกจำนวน 3 ครั้ง ในฤดูฝน และติดตามผลการเจริญเติบโตของต้นกล้าในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

"ผลลัพธ์จากการเก็บข้อมูลในแปลงฟื้นฟูพบว่า กล้าไม้ส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดี อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตให้ค่าที่สูงกว่าแปลงข้างเคียงที่เคยสำรวจ พบว่าเส้นรอบวงของคอราก (RCD) เฉลี่ย 13.13 มม. หรือเพิ่มขึ้น 180%ต่อปี (พยากรณ์จากการเพิ่มขึ้นของ RCD อยุ่ที่ 36-37 มม. หลังฤดูฝนครั้งที่สอง) และพยากรณ์ว่าต้นกล้าส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีหลังฤดูฝนครั้งที่สอง โดยเฉพาะชนิดพรรณไม้ดังต่อไปนี้ เลี่ยน (Melia toosendan), มะขามป้อม (Phyllanthus emblica), เสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata) และไทรย้อย (Ficus capillipe) เป็นชนิดที่แนะนำสำหรับการฟื้นฟูในพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสืบค้นจากรายงานโครงการจากช่องดาวน์โหลด (รวมถึงข้อมูลการเจริญเติบโตของกล้าไม้)

CDSCบทความที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมัน เชียงใหม่  (CDSC)

โครงการได้ดำเนินงานต่อเนื่องในปี พ.ศ.2564 ภายใต้วัตถุประสงค์ในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจก และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการปลูกต้นไม้ ซึ่งแปลงฟื้นฟูที่ถูกเลือกอยู่ใกล้กับแปลงฟื้นฟูเดิม โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็นหลายส่วน ได้แก่ การเตรียมพื้นที่ (ตัดหญ้า) การปักหลักไม้ไผ่ การขุดหลุม และปลูกต้นไม้จำนวนทั้งหมด 300 ต้น จากเรือนเพาะชำของโรงเรียนคริสเตียนเชียงใหม่และหน่วยจัดการต้นน้ำปงไคร้ นอกจากนั้นมีการติดตามการรอดชีวิตและการเจริญเติบโต จำนวน 3 ครั้ง หลังปลูก 2-3 สัปดาห์ และในฤดูฝนอีก 2 ครั้ง และมีการบำรุงรักษาต้นไม้โดยการตัดหญ้าและใส่ปุ๋ยจำนวน 3 ครั้ง ในฤดูฝนเป็นระยะเวลา 2 ปี

 

การฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์

ครงการฟื้นฟูป่าควรให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เรียนรู้เรื่องการผสมผสานการศึกษาและการฝึกอบรมในโครงการฟื้นฟูป่าของคุณได้ที่นี่

มวลชีวภาพ การสะสมของคาร์บอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ประมาณครึ่งหนึ่งของมวลชีวภาพของป่าที่กำลังเติบโตคือคาร์บอน ซึ่งหมายความว่าการฟื้นฟูป่าสามารถช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้ เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

51: ประสิทธิภาพของพรรณไม้ท้องถิ่น 6 ชนิด เพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทยและการตอบสนองของพรรณไม้ต่อการใส่ปุ๋ย

Publication date2000
Author(s)Elliott, S., P. Navakitbumrung, S. Zangkum, C. Kuarak, J. Kerby, D. Blakesley & V. Anusarnsunthorn
Editors(s)Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
PublisherInternational Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Conference Paper

บทนำ: ศึกษาประสิทธิภาพของพรรณไม้ท้องถิ่น 6 ชนิด เพื่อการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำที่เสื่อมโทรมในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ประเทศไทย และการตอบสนองของพรรณไม้ 4 ชนิดต่อการใส่ปุ๋ย...

52: การดำเนินการตามวาระการประชุม

Publication date2000
Author(s)Elliott, S., J. Kerby, V. Baimai & A. Kaosa-ard
Editors(s)Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
PublisherInternational Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Conference Paper

สาระสำคัญจากการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศครั้งแรกของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ม.เชียงใหม่ (Forru-CMU) ได้แก่...

53: การฟื้นฟูป่าเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า (2543)

Publication date2000
Editors(s)Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
PublisherInternational Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Book

เอกสารการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ จัดโดย ITTO และหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เอกสารการประชุม การฟื้นฟูป่าเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพรรณพืช ซึ่งจัดในช่วงเดือน มกราคม -...

54: การตั้งรกรากของต้นไม้ในพื้นที่แผ้วถางทางการเกษตรที่ถูกทิ้งร้างในป่าดิบเขตร้อนตามฤดูกาลในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication dateOct 1999
Author(s)Hardwick, K.
PublisherPhD Thesis University of Wales, Bangor. Please note, downloads of all chapters are scanned (non-searchable) PDF's.
Format
PhD Thesis

บทนำ: ในปี พ.ศ. 2537 รัฐบาลไทยได้ดำเนินโครงการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศ แนวทางหนึ่งในความพยายามดังกล่าวคือการเร่งกระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติ (ANR)...

55: เมล็ดและกล้าไม้ยืนต้นเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย 

Publication date26 Mar 1998
Author(s)FORRU-CMU
Editors(s)Kerby, J., S. Elliott, J. F. Maxwell, D. Blakesley & V. Anusarnsunthorn
PublisherThe Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Book

พื้นที่ป่าในภาคเหนือของประเทศไทยกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว พร้อมกับสัตว์ป่า ผลิตภัณฑ์จากป่า และการบริการทางนิเวศวิทยาที่มีประโยชน์ต่อชุมชนและเศรษฐกิจ...

56: ป่าไม้เพื่ออนาคต: การขยายพันธุ์และการปลูกพรรณไม้ท้องถิ่นเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้

Publication date21 Jan 1998
Author(s)Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Stephen Elliott, David Blakesley & Vilaiwan Anusarnsunthorn
PublisherBiology Department, Chiang Mai University
Format
Book

ทั่วทั้งประเทศไทย ประชาชนผู้ที่กังวลเกี่ยวกับการถูกทำลายอย่างรวดเร็วของป่าไม้อันวิจิตรงดงามของราชอาณาจักรได้รวมตัวกันเพื่อปลูกต้นไม้...

57: ความเข้าใจกระบวนการเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติในป่าดิบเสื่อมโทรมในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date1997
Author(s)Hardwick, K., J. Healey, S. Elliott, N. C. Garwood & V. Anusarnsunthorn
PublisherElsevier, Forest Ecology and Management 99:203-214.
Format
Journal Paper

บทนำ: ภาครัฐของประเทศไทยได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม หนึ่งในเป้าหมายคือการเร่งกระบวนการฟื้นตัวตามธรรมชาติโดยปัจจัยที่จำกัด ได้แก่ ปริมาณสัตว์กระจายเมล็ดไม่เพียงพอ...

58: การวิจัยฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย: 1. ผล เมล็ดและต้นกล้าของ Hovenia dulcis Thunb. (Rhamnaceae)

Publication date1996
Author(s)Kopachon, S., K. Suriya, K. Hardwick, G. Pakaad, J.F. Maxwell, V. Anusarnsunthorn, D. Blakesley, N.C. Garwood & S. Elliott
PublisherNatural History Bulletin of The Siam Society. 44(1): 41-52. The Siam Society.
Format
Journal Paper

Hovenia dulcis Thunb. (Rhamnaceae) เป็นพรรณไม้พื้นเมืองหายากที่เพิ่งเพิ่มเข้ามาในพันธุ์ไม้ของประเทศไทยพบในหุบเขาลำธารในป่าดิบเขาขั้นต้นตอนล่างสูง 1,075-1250 เมตรจากระดับน้ำทะเล...