โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ (CDSC)

Melia toosendan
นักเรียนกับต้นเลี่ยน Melia toosendan หนึ่งในพรรณไม้โครงสร้างที่โตเร็ว มีอายุ 6 เดือนหลังปลูก (ภากจากคุณ Alvin Yunkun Ji, CDSC Marketing Manager)
May 01
2020
-
Jan 28
2024
ประเทศไทย, เชียงใหม่, อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

โครงการฟื้นฟูป่าเพื่อชดเชยรอยเท้าคาร์บอนของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ร่วมกับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าในการใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูบนพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติให้แก่นักเรียน

โครงการริเริ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีพ.ศ.2562 และเป็นกิจกรรมแรกเริ่มในการประยุกต์ใช้กระบวนการฟื้นฟูตั้งแต่การเก็บเมล็ด การจัดตั้งเรือนเพาะชำ การระดมทุนในการดูแลกล้าไม้ ไปจนถึงการจัดการในเรือนเพาะชำภายในโรงเรียน ซึ่งพื้นที่เป้าหมายคือชุมชนบ้านแม่แมะ ภายใต้การดูแลของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สา

การเตรียมพื้นที่นั้นได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แรม ชุมชนบ้านแม่แมะ และเจ้าหน้าที่ของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า โดยจัดกิจกรรมเตรียมแปลงฟื้นฟูก่อนการปลูกระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน พ.ศ.2563 และจัดกิจกรรมปลูกกล้าไม้จำนวนทั้งหมด 1,000 กล้าในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2563 นอกจากนั้นมีการดูแลแปลงฟื้นฟูโดยตัดหญ้าและใส่ปลูกจำนวน 3 ครั้ง ในฤดูฝน และติดตามผลการเจริญเติบโตของต้นกล้าในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

"ผลลัพธ์จากการเก็บข้อมูลในแปลงฟื้นฟูพบว่า กล้าไม้ส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดี อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตให้ค่าที่สูงกว่าแปลงข้างเคียงที่เคยสำรวจ พบว่าเส้นรอบวงของคอราก (RCD) เฉลี่ย 13.13 มม. หรือเพิ่มขึ้น 180%ต่อปี (พยากรณ์จากการเพิ่มขึ้นของ RCD อยุ่ที่ 36-37 มม. หลังฤดูฝนครั้งที่สอง) และพยากรณ์ว่าต้นกล้าส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีหลังฤดูฝนครั้งที่สอง โดยเฉพาะชนิดพรรณไม้ดังต่อไปนี้ เลี่ยน (Melia toosendan), มะขามป้อม (Phyllanthus emblica), เสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata) และไทรย้อย (Ficus capillipe) เป็นชนิดที่แนะนำสำหรับการฟื้นฟูในพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสืบค้นจากรายงานโครงการจากช่องดาวน์โหลด (รวมถึงข้อมูลการเจริญเติบโตของกล้าไม้)

CDSCบทความที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมัน เชียงใหม่  (CDSC)

โครงการได้ดำเนินงานต่อเนื่องในปี พ.ศ.2564 ภายใต้วัตถุประสงค์ในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจก และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการปลูกต้นไม้ ซึ่งแปลงฟื้นฟูที่ถูกเลือกอยู่ใกล้กับแปลงฟื้นฟูเดิม โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็นหลายส่วน ได้แก่ การเตรียมพื้นที่ (ตัดหญ้า) การปักหลักไม้ไผ่ การขุดหลุม และปลูกต้นไม้จำนวนทั้งหมด 300 ต้น จากเรือนเพาะชำของโรงเรียนคริสเตียนเชียงใหม่และหน่วยจัดการต้นน้ำปงไคร้ นอกจากนั้นมีการติดตามการรอดชีวิตและการเจริญเติบโต จำนวน 3 ครั้ง หลังปลูก 2-3 สัปดาห์ และในฤดูฝนอีก 2 ครั้ง และมีการบำรุงรักษาต้นไม้โดยการตัดหญ้าและใส่ปุ๋ยจำนวน 3 ครั้ง ในฤดูฝนเป็นระยะเวลา 2 ปี

 

การฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์

ครงการฟื้นฟูป่าควรให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เรียนรู้เรื่องการผสมผสานการศึกษาและการฝึกอบรมในโครงการฟื้นฟูป่าของคุณได้ที่นี่

มวลชีวภาพ การสะสมของคาร์บอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ประมาณครึ่งหนึ่งของมวลชีวภาพของป่าที่กำลังเติบโตคือคาร์บอน ซึ่งหมายความว่าการฟื้นฟูป่าสามารถช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้ เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

21: การหาปริมาณการสะสมคาร์บอนเหนือพื้นดินในพื้นที่ป่าที่ถูกฟื้นฟูด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง

Publication dateNov 2017
Author(s)Jantawong, K.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University.
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การทำลายพื้นที่ป่าเขตร้อนเป็นสาเหตุที่ทำให้แหล่งสะสมคาร์บอนบนบกลดลงและส่งผลถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การฟื้นฟูพื้นที่ป่าในเขตร้อนจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว...

22: ผู้ล่าเมล็ดก่อนการแพร่กระจายและเชื้อราที่ส่งผลกระทบที่แตกต่างกันต่อการพัฒนาแคปซูล การงอก และการพักตัวของเมล็ด Luehea seemannii ในป่าปานามาสองแห่ง  

Publication date2017
Author(s)Tiansawat, P., N.G. Beckman & J.W. Dalling
PublisherBiotropica 49(6):871-880
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: เมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะเกิดการแพร่กระจายสามารถลดขนาดพืชที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดหาได้อย่างมาก นอกจากนี้ความเสียหายที่ไม่ร้ายแรงโดยนักล่าเมล็ดพันธุ์...

23: การกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินระหว่างการฟื้นฟูป่าดิบเขาที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2017
Author(s)Jantawong, K., S. Elliott & P. Wangpakapattanawong
PublisherScientific Research Publishing: Open J. For. 7: 157-171. doi: 10.4236/ ojf.2017.72010.
Format
Journal Paper

บทนำ: การตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนช่วยลดคาร์บอนซิงค์ของโลกและมีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ในทางกลับกันการฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าเขตร้อนสามารถช่วยบรรเทาปัญหาได้...

24: ความสามารถในการฟื้นตัวหลังถูกไฟไหม้ของพรรณไม้โครงสร้างในระบบนิเวศป่าดิบเขา

Publication dateJun 2016
Author(s)Nippanon, P. & D. P. Shannon
Publisher3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: วิธีพรรณไม้โครงสร้างเป็นการปลูกกล้าไม้ท้องถิ่น 20-30 ชนิดในพื้นที่เสื่อมโทรมเพื่อส่งเสริมกระบวนการฟื้นตัวและการ กลับมาของความหลากหลายทางชีวภาพ...

25: Selection of native tree species for restoring forest ecosystems

Publication dateJun 2016
Author(s)Shannon, D.P. & S. Elliott
PublisherProceedings of the 3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: วิธีพรรณไม้โครงสร้างเป็นเทคนิคการฟื้นฟูป่าเขตร้อนที่มีการยอมรับอย่างกว้างขวาง เป็นการปลูกไม้ท้องถิ่น 20-30 ชนิดที่มี อัตราการรอดตายและเจริญเติบโตสูง มีเรือนยอดแผ่กว้าง...

26: คาร์บอนอินทรีย์ในดินในป่าฟื้นฟูและป่าธรรมชาติในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2015
Author(s)Kavinchan, N., P. Wangpakapattanawong, S.  Elliott, S. Chairuangsri and J. Pinthong
PublisherKKU Res. J. 20(3): 294-304.
Format
Journal Paper

บทนำ: การฟื้นฟูป่าเขตร้อนมีบทบาทในการลดผลกระทยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การเก็บข้อมูลคาร์บอนอินทรีย์ในดินได้คัดเลือกจากแปลงฟื้นฟูภาคเหนือของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3...

27: การประยุกต์ใช้วิธีการพรรณไม้โครงสร้างเพื่อฟื้นฟูการไหลเวียนของคาร์บอนต่อการร่วงหลงและการย่อยสลายของซากพืชในระบบนิเวศป่าเขตร้อน ภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2015
Author(s)Kavinchan, N. P. Wangpakapattanawong, S. Elliott, S. Chairuangsri and J. Pinthong
PublisherKasetsart J. (Nat. Sci.) 49 : 639 - 650.
Format
Journal Paper

บทนำ - หากการฟื้นฟูป่ามีบทบาทที่สำคัญในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ยังคงต้องพึ่งพาความรู้เพื่อหากระบวนการฟื้นฟูการไหลเวียนของคาร์บอนในระดับเดียวกันกีบป่าธรรมชาติให้เร็วที่สุด...

28: การสะสมและพลวัตคาร์บอนในดินของระบบนิเวศป่าธรรมชาติและแปลงฟื้นฟูป่า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Publication dateDec 2013
Author(s)Kavinchan, N.
PublisherGraduate School, Chiang Mai University, Thailand.
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การศึกษาคาร์บอนใต้ดินในป่าที่ฟื้นฟูด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างโดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ซึ่งตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีอายุการปลูกคือ 11, 7 และ 2 ปี...

29: การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนในเหมืองหินปูน

Publication date2013
Author(s)Elliott,S., S. Chairuangsri & K. Sinhaseni
PublisherThe Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Book

คู่มือเล่มนี้อธิบายเทคนิคพื้นฐานและการเลือกชนิดพันธุ์สำหรับการฟื้นฟูป่าในพื้นที่เหมืองหินปูนในภาคเหนือของประเทศไทย โดยวิธีการพรรณไม้โครงสร้าง...

30: การงอกของ Ficus microcarpa L. บนหินปูนเพื่อการฟื้นฟูเหมืองแร่

Publication date2013
Author(s)Yabueng, N.,
PublisherDepartment of biology, faculty of science Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ: การทำเหมืองแร่ในประเทศไทยมีข้อกำหนดให้มีการฟื้นฟูพื้นที่หลังจากการทำเหมืองให้กลับสู่สภาพเดิมโดยได้ทำการศึกษาในพื้นที่เหมืองปูนซึ่งสัมปทานโดยบริษัทเครือซิเมนต์ไทย จำกัด จ.ลำปาง...