โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ (CDSC)

Melia toosendan
นักเรียนกับต้นเลี่ยน Melia toosendan หนึ่งในพรรณไม้โครงสร้างที่โตเร็ว มีอายุ 6 เดือนหลังปลูก (ภากจากคุณ Alvin Yunkun Ji, CDSC Marketing Manager)
May 01
2020
-
Jan 28
2024
ประเทศไทย, เชียงใหม่, อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

โครงการฟื้นฟูป่าเพื่อชดเชยรอยเท้าคาร์บอนของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ร่วมกับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าในการใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูบนพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติให้แก่นักเรียน

โครงการริเริ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีพ.ศ.2562 และเป็นกิจกรรมแรกเริ่มในการประยุกต์ใช้กระบวนการฟื้นฟูตั้งแต่การเก็บเมล็ด การจัดตั้งเรือนเพาะชำ การระดมทุนในการดูแลกล้าไม้ ไปจนถึงการจัดการในเรือนเพาะชำภายในโรงเรียน ซึ่งพื้นที่เป้าหมายคือชุมชนบ้านแม่แมะ ภายใต้การดูแลของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สา

การเตรียมพื้นที่นั้นได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แรม ชุมชนบ้านแม่แมะ และเจ้าหน้าที่ของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า โดยจัดกิจกรรมเตรียมแปลงฟื้นฟูก่อนการปลูกระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน พ.ศ.2563 และจัดกิจกรรมปลูกกล้าไม้จำนวนทั้งหมด 1,000 กล้าในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2563 นอกจากนั้นมีการดูแลแปลงฟื้นฟูโดยตัดหญ้าและใส่ปลูกจำนวน 3 ครั้ง ในฤดูฝน และติดตามผลการเจริญเติบโตของต้นกล้าในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

"ผลลัพธ์จากการเก็บข้อมูลในแปลงฟื้นฟูพบว่า กล้าไม้ส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดี อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตให้ค่าที่สูงกว่าแปลงข้างเคียงที่เคยสำรวจ พบว่าเส้นรอบวงของคอราก (RCD) เฉลี่ย 13.13 มม. หรือเพิ่มขึ้น 180%ต่อปี (พยากรณ์จากการเพิ่มขึ้นของ RCD อยุ่ที่ 36-37 มม. หลังฤดูฝนครั้งที่สอง) และพยากรณ์ว่าต้นกล้าส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีหลังฤดูฝนครั้งที่สอง โดยเฉพาะชนิดพรรณไม้ดังต่อไปนี้ เลี่ยน (Melia toosendan), มะขามป้อม (Phyllanthus emblica), เสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata) และไทรย้อย (Ficus capillipe) เป็นชนิดที่แนะนำสำหรับการฟื้นฟูในพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสืบค้นจากรายงานโครงการจากช่องดาวน์โหลด (รวมถึงข้อมูลการเจริญเติบโตของกล้าไม้)

CDSCบทความที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมัน เชียงใหม่  (CDSC)

โครงการได้ดำเนินงานต่อเนื่องในปี พ.ศ.2564 ภายใต้วัตถุประสงค์ในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจก และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการปลูกต้นไม้ ซึ่งแปลงฟื้นฟูที่ถูกเลือกอยู่ใกล้กับแปลงฟื้นฟูเดิม โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็นหลายส่วน ได้แก่ การเตรียมพื้นที่ (ตัดหญ้า) การปักหลักไม้ไผ่ การขุดหลุม และปลูกต้นไม้จำนวนทั้งหมด 300 ต้น จากเรือนเพาะชำของโรงเรียนคริสเตียนเชียงใหม่และหน่วยจัดการต้นน้ำปงไคร้ นอกจากนั้นมีการติดตามการรอดชีวิตและการเจริญเติบโต จำนวน 3 ครั้ง หลังปลูก 2-3 สัปดาห์ และในฤดูฝนอีก 2 ครั้ง และมีการบำรุงรักษาต้นไม้โดยการตัดหญ้าและใส่ปุ๋ยจำนวน 3 ครั้ง ในฤดูฝนเป็นระยะเวลา 2 ปี

 

การฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์

ครงการฟื้นฟูป่าควรให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เรียนรู้เรื่องการผสมผสานการศึกษาและการฝึกอบรมในโครงการฟื้นฟูป่าของคุณได้ที่นี่

มวลชีวภาพ การสะสมของคาร์บอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ประมาณครึ่งหนึ่งของมวลชีวภาพของป่าที่กำลังเติบโตคือคาร์บอน ซึ่งหมายความว่าการฟื้นฟูป่าสามารถช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้ เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

11: ความหลากหลายเพื่อการฟื้นฟู (D4R): เป็นแนวทางในการคัดเลือกพันธุ์ไม้และแหล่งเมล็ดพันธุ์เพื่อการฟื้นฟูให้ทนทานต่อสภาพอาการของภูมิประเทศป่าเขตร้อน

Publication date19 Oct 2021
Author(s)Fremout, T., Thomas, E., Taedoumg, H., Briers, S., Gutiérrez-Miranda, C.E., Alcázar-Caicedo, C., Lindau, A.; Kpoumie, H.M., Vinceti, B., Kettle, C., Ekué, M., Atkinson, R., Jalonen, R. Gaisberger, H., Elliott, S., Brechbühler, E., Ceccarelli, V., Krishnan
PublisherJournal of Applied Ecology
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: 1. ในช่วงเริ่มต้นของทศวรรษการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ (พ.ศ. 2564–2573) มีการให้ความสำคัญระดับโลกกับการฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมมากขึ้นกว่าที่เคย...

12: การคำนวณเชิงสมการสำหรับหาปริมาณชีวมวลของต้นไม้และการกักเก็บคาร์บอนในป่าแล้งฟื้นฟูในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2021
Author(s)Pothong, T., S. Elliott, S. Chairuangsri, W. Chanthorn, D. Shannon & P. Wangpakapattanawong
PublisherNew Forests (2021). https://doi.org/10.1007/s11056-021-09844-3
Format
Journal Paper

บทนำ: ในขณะที่การตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนและความเสื่อมโทรมของป่าไม้ทวีความรุนแรงขึ้น การซื้อขายคาร์บอนเครดิตสามารถเป็นแรงจูงใจทางการเงินแก่การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า...

13: ผลจากอัลลีโลพาธีของใบ Prunus cerasoides Buch.-Ham ex. D. Don ต่อวัชพืชที่พบได้บ่อยภายในแปลงฟื้นฟู  

Publication date31 Mar 2020
Author(s)Punnat Changsalak
PublisherDepartment of Biology, Faculty of Science Chiang Mai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: การกำจัดวัชพืชโดยการตัดด้วยเครื่องมือกำจัดวัชพืชแบบทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญในโครงการฟื้นฟูสารกำจัดวัชพืชจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ...

14: นวัตกรรมและวิทยาการหุ่นยนต์ในการการจัดการวัชพืชในป่า

Publication date2020
Author(s)Auld, B. A.
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ วิธีการจัดการวัชพืชแบบดั้งเดิมเป็นที่ยอมรับ เริ่มตั้งแต่การถอนด้วยมือ, การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช และการควบคุมด้วยวิธีทางชีวภาพ ในปัจจุบัน มีการพัฒนาวิธีการตรวจจับและควบคุมใหม่ล่าสุด...

15: การติดตามตรวจสอบพืชแบบอัตโนมัติสำหรับการฟื้นฟูป่า

Publication date2020
Author(s)Chisholm, R & T. Swinfield
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Book Chapter

บทนำ: การติดตามพรรณพืชโดยอัตโนมัติในการฟื้นฟูป่ามุ่งเน้นเกี่ยวกับการประเมินชีวมวลของป่าและความหลากหลายของพรรณพืชที่เกี่ยวข้องกับการบริการนิเวศวิทยาและการประเมินด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติ...

16: Allelopathy สำหรับการจัดการวัชพืชในการฟื้นฟูป่า

Publication date2020
Author(s)Intanon, S. & H. Sangsupan
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: ในการฟื้นฟูป่า พบว่าวัชพืชจะมีการแข่งขันกับต้นกล้าเพื่อหาน้ำสารอาหารแสงแดดและพื้นที่ตลอดจนเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืชและโรค Allelopathy...

17: สมการอัลโลเมตริกชุดใหม่สำหรับการคำนวณมวลชีวภาพและคาร์บอน ของต้นไม้ในป่าดิบเขาทุติยภูมิในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2019
Author(s)Pothong, T.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
PhD Thesis

การบุกรุกทำลายป่าและการเสื่อมสภาพของป่าไม้อย่างรวดเร็วในปัจจุบัน มีส่วนทำให้กลไกทางเศรษฐศาสตร์ได้เกิดขึ้น เช่นกลไกการซื้อขายคาร์บอน ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่มีความสำคัญ...

18: อิทธิพลของวัชพืชต่อการรอดชีวิตและการเติบโตของต้นกล้าพรรณไม้ท้องถิ่นในระหว่างการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date24 Aug 2018
Author(s)Tiansawat, P., P. Nippanon, P. Tunjai & S. Elliott
PublisherForest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: วัชพืชมักเป็นอุปสรรคต่อโครงการฟื้นฟูป่า โดยลดการตั้งตัวของต้นกล้าที่ปลูกในพื้นที่...

19: เมล็ดและข้อจำกัดของ microsite ของต้นไม้ที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ ที่มีผลกระจายโดยสัตว์พื้นที่ฟื้นฟูป่าเขตร้อนในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2018
Author(s)Sangsupan, H., D. Hibbs, B. Withrow-Robinson & S. Elliott
PublisherElsevier: Forest Ecology and Management 419-420:91-100
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ในพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่าหรือพื้นที่เสื่อมโทรม การฟื้นฟูป่าโดยการปลูกแบบผสมผสานระหว่างพันธุ์ไม้ป่าท้องถิ่นจะทำให้เกิดการเติบโตทางด้านเรือนยอดของป่าอย่างรวดเร็ว...

20: เมื่อวิทยาศาสตร์กับชุมชนพบกัน: การพัฒนาแนวทางการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย  

Publication date2018
Author(s)Elliott S., S. Chairuengsri, D. Shannon, P. Nippanon & A. Ratthaphon
PublisherThe Siam Society, Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 63(1):11-26.
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้เปรียบเทียบการศึกษาด้านการฟื้นฟูป่าจากสองโครงการในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยซึ่งเป็นการร่วมงานระหว่างนักวิจัยและชุมชน   ความร่วมมือของชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านแม่สาใหม่...