โครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ (CDSC)

Melia toosendan
นักเรียนกับต้นเลี่ยน Melia toosendan หนึ่งในพรรณไม้โครงสร้างที่โตเร็ว มีอายุ 6 เดือนหลังปลูก (ภากจากคุณ Alvin Yunkun Ji, CDSC Marketing Manager)
May 01
2020
-
Jan 28
2024
ประเทศไทย, เชียงใหม่, อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

โครงการฟื้นฟูป่าเพื่อชดเชยรอยเท้าคาร์บอนของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่ร่วมกับหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าในการใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูบนพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติให้แก่นักเรียน

โครงการริเริ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีพ.ศ.2562 และเป็นกิจกรรมแรกเริ่มในการประยุกต์ใช้กระบวนการฟื้นฟูตั้งแต่การเก็บเมล็ด การจัดตั้งเรือนเพาะชำ การระดมทุนในการดูแลกล้าไม้ ไปจนถึงการจัดการในเรือนเพาะชำภายในโรงเรียน ซึ่งพื้นที่เป้าหมายคือชุมชนบ้านแม่แมะ ภายใต้การดูแลของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สา

การเตรียมพื้นที่นั้นได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่แรม ชุมชนบ้านแม่แมะ และเจ้าหน้าที่ของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า โดยจัดกิจกรรมเตรียมแปลงฟื้นฟูก่อนการปลูกระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน พ.ศ.2563 และจัดกิจกรรมปลูกกล้าไม้จำนวนทั้งหมด 1,000 กล้าในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2563 นอกจากนั้นมีการดูแลแปลงฟื้นฟูโดยตัดหญ้าและใส่ปลูกจำนวน 3 ครั้ง ในฤดูฝน และติดตามผลการเจริญเติบโตของต้นกล้าในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

"ผลลัพธ์จากการเก็บข้อมูลในแปลงฟื้นฟูพบว่า กล้าไม้ส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดี อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตให้ค่าที่สูงกว่าแปลงข้างเคียงที่เคยสำรวจ พบว่าเส้นรอบวงของคอราก (RCD) เฉลี่ย 13.13 มม. หรือเพิ่มขึ้น 180%ต่อปี (พยากรณ์จากการเพิ่มขึ้นของ RCD อยุ่ที่ 36-37 มม. หลังฤดูฝนครั้งที่สอง) และพยากรณ์ว่าต้นกล้าส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีหลังฤดูฝนครั้งที่สอง โดยเฉพาะชนิดพรรณไม้ดังต่อไปนี้ เลี่ยน (Melia toosendan), มะขามป้อม (Phyllanthus emblica), เสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata) และไทรย้อย (Ficus capillipe) เป็นชนิดที่แนะนำสำหรับการฟื้นฟูในพื้นที่ป่าผลัดใบผสมไผ่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสืบค้นจากรายงานโครงการจากช่องดาวน์โหลด (รวมถึงข้อมูลการเจริญเติบโตของกล้าไม้)

CDSCบทความที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนคริสเตียนเยอรมัน เชียงใหม่  (CDSC)

โครงการได้ดำเนินงานต่อเนื่องในปี พ.ศ.2564 ภายใต้วัตถุประสงค์ในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจก และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการปลูกต้นไม้ ซึ่งแปลงฟื้นฟูที่ถูกเลือกอยู่ใกล้กับแปลงฟื้นฟูเดิม โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็นหลายส่วน ได้แก่ การเตรียมพื้นที่ (ตัดหญ้า) การปักหลักไม้ไผ่ การขุดหลุม และปลูกต้นไม้จำนวนทั้งหมด 300 ต้น จากเรือนเพาะชำของโรงเรียนคริสเตียนเชียงใหม่และหน่วยจัดการต้นน้ำปงไคร้ นอกจากนั้นมีการติดตามการรอดชีวิตและการเจริญเติบโต จำนวน 3 ครั้ง หลังปลูก 2-3 สัปดาห์ และในฤดูฝนอีก 2 ครั้ง และมีการบำรุงรักษาต้นไม้โดยการตัดหญ้าและใส่ปุ๋ยจำนวน 3 ครั้ง ในฤดูฝนเป็นระยะเวลา 2 ปี

 

การฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์

ครงการฟื้นฟูป่าควรให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เรียนรู้เรื่องการผสมผสานการศึกษาและการฝึกอบรมในโครงการฟื้นฟูป่าของคุณได้ที่นี่

มวลชีวภาพ การสะสมของคาร์บอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ประมาณครึ่งหนึ่งของมวลชีวภาพของป่าที่กำลังเติบโตคือคาร์บอน ซึ่งหมายความว่าการฟื้นฟูป่าสามารถช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้ เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

41: การคัดเลือกเมล็ด Prunus cerasoides D. Don เพื่อการฟื้นฟูป่า

Publication date2004
Author(s)Pakkad, G., S. Elliott & D. Blakesley
PublisherNew Forests, Kluwer Academic Publishers, Netherlands
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: Prunus cerasoides D. Don ถูกระบุว่าเป็น "พรรณไม้โครงสร้าง" สำหรับการฟื้นฟูป่าผลัดไม่ผลัดใบในสภาพอากาศที่แห้งตามฤดูกาล...

42: การคัดเลือกพรรณไม้ท้องถิ่น เพื่อการฟื้นฟูป่าดิบแล้งบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โดยยึดประสิทธิภาพการเจริญในพื้นที่จริง

Publication date23 Mar 2003
Author(s)Elliott, S., P. Navakitbumrung, C. Kuarak, S. Zangkum, V. Anusarnsunthorn & D. Blakesley
PublisherForest Ecology & Management 184: 177-191
Format
Journal Paper

พรรณไม้ท้องถิ่น (Framework tree species) คือ พรรณไม้เฉพาะถิ่นที่เจริญเติบโตได้ในป่า ซึ่งถูกเพาะปลูกในบริเวณที่เสื่อมโทรม เพื่อทำให้ระบบนิเวศของป่าสมบูรณ์...

43: การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ไม้สำหรับโครงการฟื้นฟูป่า: กรณีศึกษาโดยใช้มะกอกห้ารู (Spondias axillaris Roxb. Anacardiaceae)

Publication date03 Feb 2003
Author(s)Pakkad, G., F. Torre, S. Elliott & D. Blakesley.
PublisherForest Ecology & Management 182: 363-370
Format
Journal Paper

มะกอกห้ารู (Spondias axillaris Roxb. วงศ์ Anacardiaceae) (ชื่อพ้อง: Choerospondias axillaris (Roxb.) Burtt and Hill)...

44: อีเดนช่วยฟื้นฟูป่าเขตร้อนของประเทศไทย

Publication date2003
Author(s)Elliott, S. and D. Blakesley
PublisherEden Project Friends 10: 33-35.
Format
Magazine Article

โครงการความร่วมมือในต่างประเทศแห่งใหม่ของ Eden ทำงานร่วมกับชุมชนชาวเขาในภาคเหนือของประเทศไทยเพื่อตระหนักถึงความคิดที่ว่าการทำลายป่าเขตร้อนของโลกจะกลับคืนมาได้...

45: การดูแลรักษาป่าไม้ของประเทศไทย : การยื่นมือช่วยเหลือจาก Britain's Darwin Initiative

Publication date2003
Author(s)Kirby Doak
PublisherGuidelines Magazine
Format
Magazine Article

เคอบี้ โดกค์ เป็นทูตเยาวชนออสเตรเลียที่มีทักษะและกระตือรือร้นที่คอยช่วยเหลือด้านการศึกษาของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าตั้งแต่ปีค.ศ.2001-2010...

46: การทดสอบพรรณไม้โครงสร้างเพื่อการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2002
Author(s)Elliott, S., P. Navakitbumrung, C. Kuarak, S. Zangkum, D. Blakesley and V. Anusarnsunthorn,
PublisherThe Art and Practice of Conservation Planting. Taiwan Forestry Research Institute, Taipei.
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีการพรรณไม้โครงสร้างได้รับการออกแบบมาเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ที่หลากหลายบนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการปกป้องสิ่งแวดล้อม...

47: รางวัลจากการฟื้นฟูป่า

Publication date2002
Author(s)Elliott, S. & D. Blakesley
PublisherGuidelines Magazine
Format
Magazine Article

การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วทำให้ป่าเขตร้อนถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้การสูญเสียทางหลากหลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...

48: การทดสอบพรรณไม้โครงสร้างเพื่อการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2001
Author(s)Elliott, S., P. Navakitbumrung, C. Kuarak, S. Zangkum, D. Blakesley & V. Anusarnsunthorn
PublisherThe Biodiversity Research and Training Program, Bangkok
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีการพรรณไม้โครงสร้างได้รับการออกแบบมาเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ที่หลากหลายบนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการปกป้องสิ่งแวดล้อม...

49: ผลของกิจกรรมต่างๆ ในการฟื้นฟูสภาพป่าต่อความหลากหลายของไม้พื้นล่างและกล้าไม้

Publication date2000
Author(s)Khopai, O.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบว่า การปลูกพรรณไม้ท้องถิ่นและการกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยใน การฟื้นฟูสภาพป่ามีผลต่อการเพิ่มขึ้นของไม้พื้นล่างและกล้าไม้หรือไม...

50: วาระการวิจัยเชียงใหม่เพื่อฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Publication date2000
Author(s)Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
Editors(s)Elliott, S.
PublisherInternational Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Conference Paper

ย้อนกลับไปในปี 2000 การวิจัยฟื้นฟูป่ายังห่างไกลจากทางหลัก...