โครงการ

การอบรบเชิงปฏิบัติเพื่อสนับสนุน 8 หมู่บ้านในการจัดตั้งเรือนเพาะชำที่ดอยแม่สะลอง

Ban Mae Ter school kids enjoy growing trees
โรงเรียนบ้านแม่เต๋อ - นักเรียนต่างมีความสุขที่ได้ปลูกต้นกล้า
May 12
2007
-
May 13
2010
Doi Mae Salong

หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าจัดทำโครงการฟื้นฟูป่าโดยมีกองบัญชาการทหารสูงสุดและองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรม 1,440 เฮกตาร์ ของดอยแม่สะลอง จังหวัดเชียงราย โครงการนี้ถูกริเริ่มจาก "การดำรงชีวิตและภูมิทัศน์ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ" โดยได้รับการสนับสนุนกล้าไม้จากมูลนิธิ Plant a Tree Today (PATT) พื้นที่ฟื้นฟูเป็นพื้นที่การเกษตรบนเนินสูงชันเสี่ยงต่อการพังทลายของดินและดินถล่ม

วัตถุประสงค์:

  1. เปลี่ยนแปลงพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลายเป็นป่าที่สมบูรณ์
  2. ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
1st workshop for Doi Mae Salong project
การอบรมเชิงปฏิบัติครั้งที่ 1 สำหรับโครงการดอยแม่สาลอง

หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าเป็นผู้สนับสนุนด้านวิธีการและงานวิจัยสำหรับโครงการตั้งแต่ปี 2550-2553 ได้จัดประชุมวางแผนแนวทางที่จัดโดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ประกอบไปด้วย 6 หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ภาครัฐท้องถิ่น คุณครูอาสา และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เพื่อแนะนำวิธีการที่เหมาะสมในการฟื้นฟูป่า

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติได้สนับสนุนจัดตั้งเรือนเพาะชำ 8 แห่ง ตั้งอยู่ในโรงเรียนชุมชน และมีหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าจัดอบรมวิธีการเพาะกล้าไม้ในเรือนเพาะชำทั้งหมด 8 แห่งในปี 2552 มีเนื้อหาประกอบด้วยการเพาะเฟมล็ด การย้ายกล้าไม้ การดูแลกล้าไม้ และการปลูกและรักษาต้นกล้าในแปลงฟื้นฟู

การเก็บเมล็ดเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ให้การสนใจ โดยที่หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าได้จัดกิจกรรมที่มีชื่อว่า "ลูกไม้ป้า" โดยให้นักเรียนได้ทดลองเขียนและติดแท็กให้กับต้นไม้ อีกทั้งยังจัดกิจกรรมเก็บเมล็ดและนำมาเพาะชำต่อไป

Treasure tree club
กิจกรรมสำหรับนักเรียนในการติดแท็กต้นไม้ธรรมชาติในแปลงฟื้นฟูป่าT

นอกจากนี้ยังมีการทดลองในแปลงฟื้นฟูเพื่อหาชนิดพรรณไม้โครงสร้างที่เหมาะสมในการฟื้นฟูป่าร่วมกับชุมชน (FORRU, 2006) ณ บ้านหล่อโย หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าให้การช่วยเหลือในด้านการติดตามผลการเจริญเติบโตของกล้าไม้และทดสอบประสิทธิภาพของกล้าไม้ในแปลงเพื่อรายงานผลให้กับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

 

 

การฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์

ครงการฟื้นฟูป่าควรให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เรียนรู้เรื่องการผสมผสานการศึกษาและการฝึกอบรมในโครงการฟื้นฟูป่าของคุณได้ที่นี่

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

51: ความสำคัญของ Vesicular-Arbuscular Mycorrhizae (VAM) ในป่าผลัดใบเขตร้อน

Publication date1994
Author(s)Manan, A
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University 
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงความชุกของ Vesicular-Arbuscular Mycorrhizae ในพืชตะกูลถั่วในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุยและศึกษาผลของ VAM ต่อการงอกและอัตราการเติบโตของ Albizia...

52: ผลของไมคอร์ไรซาต่อการงอกและอัตราการเจริญเติบโตของกล้าพันธุ์ไม้พื้นเมืองที่ดอยสุเทพปุยอุทยานแห่งชาติและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Publication date1994
Author(s)Incomserb, P.
PublisherForest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
BSc Project

การศึกษานี้เป็นการศึกษาผลของ  อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาในการงอกและอัตราการเจริญเติบโตของต้นไม้ 5 ชนิด Bauhinia purpurrea Linn, Toona ciliata M. Roem, Peltophorum dasyrachis Miq. Kunz, Turpinia...