ห้องสมุด

ผลของการทดน้ำต่อชีพลักษณ์และประชากรต้นกล้าในป่าเต็งรังที่ห้วยฮ่องไคร้

Date
1994
Authors
Phonesavanh, B.
Publisher
The Graduate School, Chiang Mai University
Serial Number
138
Suggested Citation
Phonesavanh, B., 1994. Effects of Irrigation on The Phenology and Seedling Community of a Deciduous Dipterocarp Forest at Huai Hong Khrai. MSc Thesis, the Graduate Schol Chiang Mai University.
Boonmee

การตรวจสอบผลของการทดน้ำต่อชีพลักษณ์ และประชากรต้นกล้าในป่าเต็งรังที่ห้วยฮ่องไคร้ ตำบลดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง ธันวาคม ปีค.ศ.1993 โดยมีการเลือกศึกษาสองพื้นที่ คือ พื้นที่ที่มีการทดน้ำ และไม่มีการทดน้ำ ซึ่งกำหนดพื้นที่ตัดขวางในทั้งสองพื้นที่ขนาบไปกับสันเขาด้านบน และห้วยน้ำด้านล่าง เพื่อเปรียบเทียบประชากรต้นกล้า ฤดูช่วงเวลาออกดอกและผล การสร้างใบ และความเสียหายที่เกิดจากแมลงของต้นโตเต็มวัย รวมถึงมีการศึกษาอัตราการเจริญเติบโตสัมพันธ์ และอัตราการตายในประชากรต้นกล้าระหว่างสองพื้นที่ด้วย จำนวนของสปีชีสฺได้จากคำนวณ  Modified Hill's index และ Hill's diversity index เพื่อใช้เปรียบเทียบความอุดมสมบูรณ์ของสปีชีส์ ความหลากหลาย และความสม่ำเสมอระหว่างในประชากร

พื้นที่สันเขาที่มีการทดน้ำ (IR)  และห้วยที่ไม่มีการทดน้ำ (NG) มีความหลากหลายของสปีชีส์ในประชากรต้นกล้าน้อยกว่าพื้นที่สันที่เขาไม่มีการทดน้ำ (NR)  และห้วยที่มีการทดน้ำ (IG) ในพื้นที่ NR มีสัดส่วนของใบไม้ร่วงมากกว่า และการแตกใบน้อยกว่าในพื้นที่ IR อย่างมีนัยสำคัญ การออกดอก และผลไม่ได้รับผลกระทบจากการทดน้ำ แต่มีความแตกต่างกันในแต่ละชนิด จากชีพลักษณ์การหล่นของเมล็ดตามธรรมชาติมีความสัมพันธ์กับความชื้นของดิน ความเสียหายจากแมลงในพื้นที่ NR มากกว่า IR ในขณะที่มีความคล้ายกันระหว่างพื้นที่ห้วยทดน้ำ และไม่ทดน้ำ การทดน้ำไม่ได้มีส่วนช่วยในการเพิ่มอัตราการเจริญของต้นกล้า และในแต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีการตอบสนองที่สอดคล้องกับการทดน้ำ อย่างไรก็ตาม การทดน้ำลดเปอร์เซ็นของทราย และเพิ่มความชื้นในดินอย่างมีนัยสำคัญในพื้นที่ห้วยที่มีการทดน้ำเท่านั้น

ระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ชลประทานฉีดฝอย หรืออื่นๆ อาจทำให้ผลกระทบของการทดน้ำเพิ่มขึ้น อีกทางเลือกหนึ่ง การปลูกไม้ผลัดใบที่มีความเกี่ยวข้องกับ mycorrhizae ร่วมกับการทดน้ำอาจช่วยฟื้นฟูป่าเต็งรังที่เสื่อมโทรมได้

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...