ห้องสมุด

การใช้ชนิดของมะเดื่อเอเชียในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน

Date
2013
Authors
Kuaraksa, C. and S. Elliott
Publisher
Restoration Ecology
Serial Number
78
Suggested Citation
Kuaraksa, C. and S. Elliott, 2013. The use of Asian Ficus species for restoring tropical forest ecosystems. Restoration Ecology: DOI 10.1111/j.1526-100X.2011.00853.
Cherdsak

บทคัดย่อ: ต้นมะเดื่อ (Ficus spp.) ได้รับการส่งเสริมให้เป็นพรรณไม้โครงสร้างสำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อนทั่วภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นชนิดที่ถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหลัก (keystone species) ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอเทคนิคการขยายพันธุ์และการปลูกที่เหมาะสมสำหรับมะเดื่อ 6 ชนิด ได้แก่ มะเดื่อหว้า (Ficus auriculata) ไทรใบขน (F. fulva) มะเดื่อปล้อง (F. hispida) มะเดื่อหลวง (F. oligodon) เดื่อปล้องหิน (F. semicordata) และเดื่อผูก (F. variegate) ซึ่งจะช่วยให้สามารถปลูกในพื้นที่ฟื้นฟูป่าทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ โดยการทดลองในเรือนเพาะชำเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของต้นกล้าที่ได้จากเมล็ดและจากการปักชำใบ ในขณะที่การทดลองภาคสนามมีการประเมินความคุ้มค่าและประสิทธิภาพสัมพัทธ์ของวิธีการต่างกัน 3 แบบ ได้แก่ (1) การหยอดเมล็ด (2) การปลูกต้นกล้าซึ่งได้จาดเมล็ด และ (3) การปลูกต้นกล้าที่ได้จากการปักชำ

วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการผลิตต้นกล้ามะเดื่อคือการใช้เมล็ด การขยายพันธุ์โดยการปักชำประสบความสำเร็จน้อยกว่ามาก ต้นกล้าที่ผลิตจากเมล็ดมีอัตราการเจริญเติบโตและการรอดสูงสุดทั้งในเรือนเพาะชำและในการทดลองภาคสนาม ในการทดลองภาคสนาม การใช้ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดในเรือนเพาะชำยังคุ้มค่ากว่าการนำเมล็ดไปหยอดโดยตรงหรือการขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนอื่นๆ ต้นทุนในการตั้งตัวของต้นกล้าคำนวณจากราคา "ต่อต้นที่ปลูก" คือ 1.14 ดอลลาร์สำหรับเมล็ด 6.95 ดอลลาร์สำหรับการตัดชำ และ 25.88 ดอลลาร์สำหรับการหยอดเมล็ดโดยตรง

Related Advice

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ