ห้องสมุด

การทดสอบพรรณไม้โครงสร้างเพื่อการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในภาคเหนือของประเทศไทย

Date
2002
Authors
Elliott, S., P. Navakitbumrung, C. Kuarak, S. Zangkum, D. Blakesley and V. Anusarnsunthorn,
Publisher
The Art and Practice of Conservation Planting. Taiwan Forestry Research Institute, Taipei.
Serial Number
247
Suggested Citation
Elliott, S., P. Navakitbumrung, C. Kuarak, S. Zangkum, D. Blakesley and V. Anusarnsunthorn, 2002. Testing framework tree species for restoring biodiversity on degraded forestland in Northern Thailand. Pp 215-222 in Chien, C. and R. Rose (Eds.). The Art and Practice of Conservation Planting. Taiwan Forestry Research Institute, Taipei.

บทคัดย่อการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการพรรณไม้โครงสร้างได้รับการออกแบบมาเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ที่หลากหลายบนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยการปลูกต้นไม้ 20-30 ชนิด เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการกลับคืนของโครงสร้างพื้นฐานของป่าและหน้าที่ทางนิเวศวิทยา ขณะเดียวกันก็เร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติของป่า พรรณไม้โครงสร้าง คือ ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตและการอยู่รอดสูงเมื่อปลูกในพื้นที่เสื่อมโทรม ควรมีเรือนยอดที่หนาทึบเพื่อบดบังแสงต่อวัชพืชที่เป็นไม้ล้มลุก และให้ทรัพยากรที่ดึงดูดสัตว์ที่กระจายเมล็ด การปลูกต้นไม้ช่วยฟื้นฟูโครงสร้างและการทำงานของระบบนิเวศขั้นพื้นฐาน ในขณะที่สัตว์ผู้กระจายเมล็ดจะสร้างความหลากหลายทางชีวภาพและองค์ประกอบของพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของป่าขึ้นมาใหม่

บทความนี้นำเสนอผลงานจากแปลงทดลองที่สร้างขึ้น เพื่อทดสอบเทคนิคนี้บนพื้นที่ต้นน้ำที่ระดับความสูง 1,207-1,310 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ภาคเหนือของประเทศไทย บริเวณนี้เคยเป็นพื้นที่ป่าดิบชื้น ซึ่งถูกถางและทำการเกษตรโดยชาวเขาเผ่าม้ง ในปี 2541 และ 2542 ได้ทำการปลูกกล้าไม้ 39 ชนิด ที่มีความสูง 50-60 ซม. ปลูกห่างกัน 1.6-1.8 เมตร บนพื้นที่กว่า 6 ไร่ เพื่อทดสอบศักยภาพในการทำหน้าที่เป็นพรรณไม้โครงสร้าง มีการติดตามการรอด การเติบโต ความกว้างทรงพุ่ม การออกดอกและผล และการเข้ามาใช้ของนก

ในแปลงปลูก ปี 2541ต้นไม้ 5 ชนิด มีอัตราการรอดตาย 75% จนถึงสิ้นสุดฤดูปลูกที่สาม: เติม (Bischofia javanica) ก่อหมูดอย (Castanopsis calathiformis) กร่าง (Ficus altissima) เลี่ยน (Melia toosendan) และมะกัก (Spondias axillaris) ในปี 2542 เป็นระยะเวลาช่วงหนึ่งที่ไม่มีฝนทันทีหลังจากปลูกทำให้สามารถจำแนกชนิดพันธุ์ทนแล้งได้ (พรรณไม้ที่มีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่า 75% หลังฤดูปลูกครั้งแรก) ได้แก่ ไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina) เดื่อไทร (Ficus glaberrima) มะเดื่อปล้อง (Ficus hispida) มะเดื่ออุทุมพร (Ficus racemose) ตาเสือทุ่ง (Heynea trijuga) หมอนหิน (Hovenia dulcis) และกอกกัน (Rhus rhetsoides) ต้นไม้จำนวน 14 ชนิด มีความสูงเฉลี่ยกว่า 1.5 เมตรเมื่อสิ้นสุดฤดูปลูกที่สอง: สะเดาช้าง (Acrocarpus fraxinifolius) สลีนก (Balakata baccata) ก่อหมูดอย (Castanopsis calathiformis) ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans) มะเดื่อปล้อง (Ficus hispida) ซ้อ (Gmelina arborea) หมอนหิน (Hovenia dulcis) ตองแตบ (Macaranga denticulate) เลี่ยน (Melia toosendan) จำปีป่า (Michelia baillonii) คางคาก (Nyssa javanica) นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) กอกกัน (Rhus rhetsoides) และมะกัก (Spondias axillaris) ต้นไม้ 9 ชนิดที่มีเรือนยอดกว้าง 1.8 เมตรขึ้นไปเมื่อสิ้นสุดฤดูปลูกที่สอง ทำให้สามารถปิดชิดเรือนยอดกับต้นไม้ข้างเคียงได้: สะเดาช้าง (Acrocarpus fraxinifolius) สลีนก (Balakata baccata) ก่อหมูดอย (Castanopsis calathiformis) ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans) เดื่อ (Ficus subulate) ตองแตบ (Macaranga denticulate) เลี่ยน (Melia toosendan) นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) และมะกัก (Spondias axillaris) 4 ชนิด (นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) ก่อกระดุม (Quercus semiserrata) ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans) และเดื่อ (Ficus subulata)) สามารถผลิตดอกหรือผลไม้ที่น่าจะดึงดูดสัตว์ที่กระจายเมล็ดได้ภายใน 3 ปี พรรณไม้ที่นกมักใช้เกาะคอน ได้แก่ เลี่ยน (Melia toosendan) มะกัก (Spondias axillaris) นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) สลีนก (Balakata baccata) ซ้อ (Gmelina arborea) และกอกกัน (Rhus rhetsoides)

เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์ทั้งหมดรวมกันแล้ว พบว่าพันธุ์ไม้ 16 ชนิด ถูกจัดว่าเป็นพรรณไม้โครงสร้างที่เหมาะสมที่สุด ได้แก่ สลีนก (Balakata baccata) ก่อหมูดอย (Castanopsis calathiformis) ทองหลางป่า (Erythrina subumbrans) มะห้า (Eugenia albiflora)  มะเดื่อปล้อง (Ficus hispida) มะเดื่ออุทุมพร (Ficus racemose) ซ้อ (Gmelina arborea) หมอนหิน (Hovenia dulcis) ตองแตบ (Macaranga denticulate) เลี่ยน (Melia toosendan) จำปีป่า (Michelia baillonii) คางคาก (Nyssa javanica) นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) กอกกัน (Rhus rhetsoides) มะยาง (Sarcosperma arboreum) และมะกัก (Spondias axillaris)

Related Advice

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า