ห้องสมุด

ผลของวัสดุปลูก และสารกำจัดเชื้อราที่มีต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นกล้าในช่วงต้น

Date
1999
Authors
Chaiyasirinrod, S
Publisher
Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Serial Number
115
Suggested Citation
Chaiyasirinrod, S. 1999. Effects of Media and Fungicide on Seed Germination and Early Seedling Growth
FORRU Publication

งานวิจัยนี้ ทดสอบผลของสูตรผสมของวัสดุปลูก และการใช้สารกำจัดเชื้อราที่มีต่อการขยายพันธุ์พืชท้องถิ่น 3 ชนิด เพื่อใช้ในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าบนผืนป่าที่เสื่อมโทรม โดยทำการทดสอบวัสดุปลูก 3 สูตร (ทราย+ดิน, ทราย+กาบมะพร้าว และดิน+กาบมะพร้าว) และสารกำจัดเชื้อรา 2 แบบ (ที่มี Captan และไม่มี Captan) ร่วมกับพืชท้องถิ่นทั้งหมด 3 ชนิดที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย (ไทรย้อย หรือ Ficus benjamina, ทะโล้ หรือ Schima wallichii และ มะกอกห้ารู หรือ Spondias axillaris) เพื่อดูเปอร์เซ็นการงอกของเมล็ด อัตราการงอก การเจริญและตายของต้นกล้าของพืชเหล่านี้ โดยเพาะเมล็ดให้งอกอยู่บนถาดพลาสติก และเมื่อเจริญจนเป็นต้นกล้า จะถูกย้ายลงไปปลูกในถุงพลาสติกสีดำขนาด 9x2.5 นิ้ว ซึ่งประกอบไปด้วยวัสดุปลูก สูตร ดิน:กาบมะพร้าว:เปลือกถั่ว เท่ากับ 2:1:1 เมื่อครบสองสัปดาห์หลังลงปลูก ทำการวัดความสูงของต้นกล้าสองครั้ง และสามเดือนหลังจากนั้น คำนวณอัตราการเจริญสัมพันธ์

สูตรผสมของวัสดุปลูก และยากำจัดเชื้อราไม่ส่งผลต่อการงอกของเมล็ดอย่างมีนัยสำคัญ สูตรผสมระหว่างทราย และดิน เป็นวัสดุปลูกที่ดีที่สุดในการลดการตายของต้นกล้าช่วงต้น และเพิ่มการเจริญของต้นกล้า ส่วนยากำจัดเชื้อรามีส่วนในการลดการตายช่วงต้นในต้นกล้าหลายชนิด และวัสดุปลูกส่วนใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ กาบมะพร้าวทำให้เพิ่มการตายของต้นกล้าหลายชนิด และวัสดุปลูกส่วนใหญ่ (อาจเนื่องมาจากการกักเก็บความชื้นที่มากเกินไปของเชื้อรา) ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้งานกาบมะพร้าว จากผลการทดลองของงานวิจัยนี้  วิธีการเพาะเมล็ดเพื่อให้เกิดการงอกที่แนะนำให้ใช้มากที่สุด คือ การใช้วัสดุปลูกสูตรผสมทรายและดิน ร่วมกับสารกำจัดเชื้อราที่มี Captan อยู่บนผิวดิน โดยที่หว่านเมล็ด และรอเป็นเวลาหนึ่งเดือน จะส่งผลดีต่อการงอกเมล็ดของพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเหล่านี้ 

Related Advice

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ