ห้องสมุด

การแพร่กระจายและงอกของเมล็ดพันธุ์พืชท้องถิ่น 2 ชนิด: Gmelina arborea (Roxb.) และ Terminalia chebula Retz. var. chebula

Date
2005
Authors
Sinhaseni, K.
Publisher
Biology Department, Chiang Mai University
Serial Number
110
Suggested Citation
Sinhaseni, K., 2005. Seed Dispersal and Germination of 2 Native Tree Species: Gmelina arborea (Roxb.) and Terminalia chebula Retz. var. chebula. BSc. Special Project, Chiang Mai University.
Kimmim

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยการใช้พรรณไม้ท้องถิ่น หรือการฟื้นฟูป่าด้วยพรรณไม้โครงสร้าง ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับการแพร่กระจายของพรรณไม้ในระบบนิเวศ ซึ่งพื้นที่ทดลองตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนแรก เป็นการศึกษาว่า เมล็ด Gmelina arborea Roxb. และ Terminalia chebula Retz. Var. chebula มีความน่าดึงดูดต่อสัตว์ป่ามากน้อยเพียงใด รวมถึงกลไกการแพร่กระจายของเมล็ด โดยการสังเกตโดยตรงด้วยกล้องส่องทางไกลในแหล่งที่อยู่ธรรมชาติ เมล็ดที่ดูดดึงสัตว์ป่า และแพร่กระจายด้วยสัตว์ ถือเป็นลักษณะที่มีความจำเป็นในการฟื้นฟูป่าด้วยพรรณไม้โครงสร้าง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพได้ โดยกระรอก 2 ชนิด ได้แก่ Callosciurus finlaysoni และ Tamiops mcclellandi ช่วยแพร่กระจายเมล็ดพืชทั้งสองชนิด และกระรอก Callosciurus erythaeus สามารถช่วยแพร่กระจายเมล็ดของ T. chebula. ได้

ส่วนที่สอง เป็นการสำรวจการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อเมล็ดก่อนนำไปเพาะเลี้ยง เพื่อให้เมล็ดของ Terminalia chebula เกิดการงอกได้มากที่สุด โดยมีการทดลอง 4 วิธี คือ i) แช่เมล็กในน้ำอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 2 วัน ii) จุ่มเมล็ดใน 0.01 M กรดซัลฟิวริกเป็นเวลา 10 วินาที iii) อุ่นในน้ำอุณหภูมิ 70 º C และ iv) กรีดเมล็ดเป็นรอยขนาดเล็กที่เปลือกเมล็ด (testa). ผลวัดเป็นเปอร์เซ็นการงอก คือ การจุ่มในกรดซัลฟิวริก และแช่ในน้ำร้อน มีเปอรเซ็นการงอกต่ำกว่าชุดควบคุม ส่วนการกรีดเมล็ดด้วยมือ และแช่ในน้ำเป็นเวลาสองวัน เปอร์เซ็นการงอกทั้งสองวิธีไม่แตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ระยะพักตัว (MLD) ของวิธีการกรีดเมล็ดมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

Terminalia chebula
Terminalia chebula

 

Related Advice

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า