ห้องสมุด

ความเข้าใจกระบวนการเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติในป่าดิบเสื่อมโทรมในภาคเหนือของประเทศไทย

Date
1997
Authors
Hardwick, K., J. Healey, S. Elliott, N. C. Garwood & V. Anusarnsunthorn
Publisher
Elsevier, Forest Ecology and Management 99:203-214.
Serial Number
101
Suggested Citation
Hardwick, K., J. Healey, S. Elliott, N. C. Garwood and V. Anusarnsunthorn, 1997. Understanding and assisting natural regeneration processes in degraded seasonal evergreen forests in northern Thailand. Forest Ecology and Management 99:203-214.
Kate Hardwick

บทนำ: ภาครัฐของประเทศไทยได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม หนึ่งในเป้าหมายคือการเร่งกระบวนการฟื้นตัวตามธรรมชาติโดยปัจจัยที่จำกัด ได้แก่ ปริมาณสัตว์กระจายเมล็ดไม่เพียงพอ ปริมาณร่มเงาไม่เพียงพอ และปริมาณวัชพืชหนาแน่นจนเกินไป งานวิจัยนี้ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 2 ปี ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยวิเคราะห์การเจริญเติบโตของเมล็ดในแต่ละช่วงอายุในพื้นที่แปลงเกษตรกรรมที่ถูกปล่อยทิ้งร้างเพื่อหาปัจจัยที่จำกัดและพัฒนาปรับใช้เทคนิคการเร่งกระบวนการฟื้นตัวตามธรรมชาติในพื้นที่ ข้อมูลเมล็ดผล กากระจายของเมล็ด การเพาะเมล็ด และการรอดชีวิตของกล้าไม้ถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลภาคสนามเพื่อตรวจสอบผลกระทบของปริมาณแสงและความชื้นต่อการงอกของเมล็ดพืชและผลของการรบกวนของวัชพืชที่อยู่เหนือพื้นดินต่อประสิทธิภาพของต้นกล้าในปีแรก ชนิดพรรณเหล่านี้ถูกนำมาเปรียบเทียบเพื่อศึกษากระบวนการฟื้นตัวในพื้นที่เสื่อมโทรม

อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตของเมล็ด Beilschmiedia sp. อยู่ในระดับสูงแต่มีการกระจายเม็ดที่ต่ำและอัตราการเพาะลดลงในช่วงฤดูกาลที่มีปริมาณน้ำฝนน้อย ต้นกล้ามีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่มีแสงแดดในปริมาณมาก การเพาะชำในเรือนเพาะชำและปลูกในพื้นที่เสื่อมโทรมภายใต้ร่มเงาอาจเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติของชนิดนี้

เมล็ด Prunus cerasoides ถูกปลูกในสองปีของการศึกษา แต่การเข้ามาของต้นกล้าในพื้นที่รกร้างมีจำนวนจำกัด ส่วนใหญ่เกิดจากการกระจายเมล็ดไม่เพียงพอ ภายใต้เงื่อนไขการทดลอง พบว่าเมล็ดและต้นกล้าเจริญเติบโตรวดเร็ว ดังนั้นการหว่านเมล็ดโดยตรงในพื้นที่เสื่อมโทรมอาจเหมาะสม อีกวิธีหนึ่งอาจสนับสนุนการกระจายเมล็ดพันธุ์ตามธรรมชาติโดยการปรับปรุงที่อยู่อาศัยของนก

เมล็ด Engelhardia spicata ถูกกระจายโดยลมและกระบวนฟื้นตัวตามธรรมชาติถูกจำกัดในช่วงแรก พบว่ามีอุปสรรคทางกายภาพ ได้แก่ ลำต้นหนาและเศษใบไม้ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยจำกัด อุปสรรคนี้สามารถเอาชนะได้โดยการกำจัดวัชพืช (โดยเฉพาะหญ้าและเฟิร์น) หรือสร้างร่มเงาด้วยต้นไม้อื่น

บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ในการดำเนินการของการประชุมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้นในวอชิงตัน ดี.ซี. ในปี 2541 "ผลการเร่งปฏิกิริยาของการปลูกต้นไม้ต่อการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ: การวิเคราะห์เชิงสำรวจ"

หากต้องศึกษางานวิจัยของเคท ฮาร์ดวิค เพิ่มเติมสามารถคลิ๊กที่นี่

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...