ห้องสมุด

การขยายพันธุ์ต้นไม้ที่ใช้เทคโนโลยีอย่างง่ายและการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ตามธรรมชาติ

Date
1998
Authors
Blakesley, D., S. Elliott & V. Anusarnsunthorn
Publisher
Nottingham University Press
Serial Number
61
ISBN
ISBN 10: 1897676689 / ISBN 13: 9781897676684
Suggested Citation
Blakesley, D., S. Elliott & V. Anusarnsunthorn, 1998. Low technology tree propagation and the restoration of natural forest ecosystems. Pp 4-44 in: Davey, M. R., P. G. Anderson, K. C. Lowe & J. B. Power (Eds.). Tree Biotechnology: towards the millennium. Nottingham University Press. 350 pp.

การสูญเสียป่าและความหลากหลายทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกันนั้น ถือเป็นประเด็นสำคัญในหลายประเทศกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วแถบเขตร้อน อย่างเช่นภาคเหนือของประเทศไทย พื้นที่ขนาดใหญ่ภายในอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีการตัดไม้ทำลาย และต้องการการฟื้นฟู โดยการฟื้นฟูสภาพป่าในบริเวณที่ป้องกันไว้ด้วยจุดประสงค์เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและปกป้องบริเวณลุ่มน้ำ ต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้างระบบนิเวศดั่งเดิมใหม่อีกครั้ง เมื่อเร็วๆ นี้ มีกลุ่มชุมชนหลายกลุ่มมีการจัดกิจกรรมการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติขึ้น อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการปลูกป่าดังกล่าว ถูกจัดขึ้นโดยขาดความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์และสร้างต้นไม้ท้องถิ่นมากมายหลายร้อยชนิด นอกจากนี้ ยังไม่มีคู่มือในการระบุผล เมล็ด และต้นอ่อนของต้นไม้ หน่วยงาน Forest Restoration Research Unit (FORRU) ร่วมกับกรมไม้ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีการสนับสนุนจาก Riche Monde (Bangkok) Ltd. เริ่มต้นโครงการในพฤศจิกายน ปี 1994 เพื่อศึกษาหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการฟื้นฟูป่าให้สมบูรณ์และรวดเร็วในบริเวณที่ถูกทำลาย รวมถึงเพิ่มความหลายหลากทางชีวภาพ และปกป้องบริเวณลุ่มน้ำ ซึ่งงานหลักของ FORRU ประกอบไปด้วยสองงานหลัก ได้แก่ การแสดงตัวอย่าง และอธิบายเกี่ยวกับต้นกล้าในทุกระยะการเจริญ เพื่อใช้เป็นคู่มือในการระบุ และพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงกล้าและขยายพันธุ์ที่เหมาะสมในต้นไม้แต่ละชนิด

 

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...