ห้องสมุด

ผลกระทบของการฟื้นฟูป่าที่มีต่อความหลากหลายของพันธุ์ไม้ตามธรรมชาติและพืชพื้นล่าง

Date
2003
Authors
Khopai, O. & S. Elliott, 2003.
Publisher
Bringing Back the Forests: Policies and Practices for Degraded Lands and Forests.
Serial Number
59
Suggested Citation
Khopai, O. & S. Elliott, 2003. The effects of forest restoration activities on the species diversity of naturally establishing trees and ground flora. Chapter 27 (pp295-315) in, Sim, H. C., S. Appanah & P. B. Durst, Bringing Back the Forests: Policies and Practices for Degraded Lands and Forests. Food & Agriculture Organization of the United Nations, Bangkok, Thailand.
The effects of forest restoration activities on the species diversity of naturally establishing trees and ground flora

การฟื้นฟูป่าโดยวิธีพรรณไม้โครงสร้างมีเป้าหมายเพื่อสร้างโครงสร้างและหน้าที่ของระบบนิเวศป่าขึ้นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการดึงดูดสัตว์ป่าไปยังแปลงปลูกและเร่งการฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพผ่านการกระจายเมล็ด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบว่าการฟื้นฟูป่าสามารถส่งเสริมการเพิ่มความหลากหลายของต้นไม้หรือเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของพันธุ์ไม้พื้นล่างได้หรือไม่ การศึกษาดำเนินการในพื้นที่ป่าไม่ผลัดใบที่เสื่อมโทรม  ในอุทยานแห่งชาติสุเทพ - ปุย ภาคเหนือของประเทศไทย โดยพื้นที่ได้รับการปลูกต้นไม้ 30 ชนิด ในปี 1997 และ 1988 เปรียบเทียบความสามารถของพรรณไม้โครงสร้างและพัฒนาวิธีการบำรุงรักษาที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเติบโตของต้นไม้  วิธีดังกล่าวคือ การป้องกันไฟป่า การเพิ่มธาตุอาหารและการกำจัดวัชพืช นอกจากนี้กำหนดให้มีแปลงฟื้นตัวตามธรรมชาติหรือแปลงควบคุม จำนวน 2 แปลง ซึ่งดูแลโดยการป้องกันไฟป่า  การสำรวจพันธุ์ไม้ได้ดำเนินการในแปลงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ม. โดยบันทึกไม้พื้นล่างและต้นไม้ธรรมชาติ (สูง> 1 ม.) ดำเนินการ 3 ครั้งในปี 2542 ได้แก่ ฤดูแล้ง กลางฤดูฝนและปลายฤดูฝน

จากการสำรวจพบว่า ปีแรกของแปลงปลูกปี 2541 มีความมากชนิด (species richness) และความสม่ำเสมอของชนิด (species eveness) ของพืชพื้นล่างมากกว่าแปลงปลูกปี 2540 อาจเป็นเพราะแปลงปลูกปี 2541 มีการกำจัดวัชพืช  ซึ่งไม้พุ่มได้ถูกกำจัดออกแต่กลับถูกรุกรานโดยพืชล้มลุก  โดยเฉพาะพืชตระกูล Compositae  อย่างไรก็ตาม 2 ปีหลังการปลูกต้นไม้  แปลงปลูกปี 2540 มีความหลากหลายของพืชพื้นล่างลดลง  อาจเป็นเพราะร่มเงาที่เกิดจากเรือนยอดส่งผลต่อการกระจายของพืชพื้นล่าง  นอกจากนี้แปลงปลูกปี 2540 มีความสม่ำเสมอของชนิด (species eveness) น้อยกว่าแปลงควบคุมปี 2540  เนื่องจากเกิดไฟป่าขึ้นในแปลง  การกำจัดวัชพืชและเพิ่มธาตุอาหารสามารถเร่งการกลับเข้ามาของกล้าธรรมชาติและเพิ่มความหนาแน่นของไม้ธรรมชาติได้  พันธุ์ไม้โครงสร้างที่ปลูกส่วนใหญ่มีสุขภาพดี เจริญเติบโตเร็ว และเหมาะสำหรับการฟื้นฟูป่า ยกเว้น Nyssa javanica และ Garcinia meckeaniana

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่