ห้องสมุด

งานวิจัยด้านการฟื้นฟูป่าในพื้นที่อนุรักษ์ภาคเหนือของประเทศไทย

Date
1998
Authors
Blakesley, D., J. A. McGregor and S. Elliott
Publisher
Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University, Thailand
Serial Number
53
Suggested Citation
Blakesley, D., J. A. McGregor and S. Elliott, 2000. Forest restoration research in conservation areas in northern Thailand. Pp 262-275, chapter 12 in: Warhurst, A. (Ed.) Towards a Collaborative Environmental Research Agenda: Challenges for Business and Society. Macmillan Press Ltd., London, 300 pp.

การสูญเสียพื้นที่ป่าและและความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นปัญหาที่ร้ายแรงสำหรับหลายประเทศในป่าเขตร้อน ตัวอย่างเช่นในประเทศไทย พื้นที่ป่าลดลงจากประมาณ 53% ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 (Bhumibamon, 1986) เหลือประมาณ 22.8% หรือ 111,010 ตร.กม. (FAO 1997) จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเข้ากับเศรษฐกิจโลกเป็นสาเหตุสำคัญของการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 1980 การทำลายพื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการตัดไม้และการขยายพื้นที่ทางการเกษตร ส่งผลให้ปัจจุบันนี้ ป่าทุติยภูมิและที่ดินรกร้างว่างเปล่ากินพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีระบบอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ครอบคลุมบริเวณพื้นที่ประมาณ 13% ของพื้นที่ทั้งหมด แต่ก็ยังคงมีพื้นที่เสื่อมโทรมขนาดใหญ่อยู่ภายในพื้นที่คุ้มครองเหล่านั้นด้วย เพื่อเป็นการแก้ไขสถานการณ์การทำลายป่าที่มีอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับมาเป็นพื้นที่ป่าจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะปกป้องพื้นที่ต้นน้ำและรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ในวงกว้าง จะต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชนในท้องถิ่น การพัฒนาเทคนิคและวิธีการแบบใหม่เพื่อการผลิตกล้าไม้และการปลูกป่า รวมทั้งการจัดหาทรัพยากรและความเชี่ยวชาญสำหรับผู้ที่อยู่ในองค์กรนั้น ๆ ป่าชุมชนทำให้คนในชุมชนสามารถจัดการควบคุมทรัพยากรป่าไม้ในท้องถิ่นได้มากขึ้น แต่แผนงานดังกล่าวต้องใช้กลยุทธ์ในการฟื้นฟูทางเทคนิคที่ดีด้วย ในกรณีที่คนในชุมชนต้องการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ที่หลากหลายและบริการด้านนิเวศวิทยา ในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการริเริ่มโครงการปลูกป่าครั้งใหญ่ในประเทศไทย เพื่อเฉลิมฉลองวาระโอกาสทองของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร โดยมีเป้าหมายระยะยาวของโครงการ คือการปลูกไม้ท้องถิ่นบนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมขนาด 8,000 ตร.กม. ซึ่งเป็นแนวทางที่แตกต่างจากโครงการปลูกป่าครั้งก่อน ๆ ในประเทศไทยที่ใช้พืชเชิงเดี่ยวอย่างต้นสนหรือยูคาลิปตัสในการปลูกป่า ในขณะที่โครงการกาญจนาภิเษกมีการฟื้นฟูป่าโดยใช้พรรณไม้ท้องถิ่นที่หลากหลายสายพันธุ์ มีหลาย ๆ องค์กรที่ดำเนินกิจกรรมการปลูกต้นไม้ รวมไปถึงหมู่บ้าน โรงเรียน มูลนิธิด้านการกุศล กลุ่มศาสนา องค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆ และองค์กรขนาดใหญ่ เช่น บริษัทน้ำมันและไฟฟ้าของรัฐ โครงการดำเนินต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2545 แนวการปฏิบัติในเรือนเพาะชำเพื่อการผลิตกล้าไม้ในประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างมาก แต่เทคนิควิธีการต่าง ๆ มุ่งเน้นไปที่ชนิดพันธุ์กล้าไม้ในเชิงพาณิชย์เกือบทั้งหมด ความรู้เกี่ยวกับสภาพที่อยู่และวิธีการขยายพันธุ์และวิธีการปลูกต้นไม้ท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ประมาณ 3,600 สายพันธุ์จึงหาได้ยาก ด้วยความตระหนักถึงความจำเป็นในการริเริ่มการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิคของการฟื้นฟูป่าไม้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และกรมป่าไม้ได้ร่วมกันก่อตั้งหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (FORRU) ในปี 2537 โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบาธและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ลอนดอน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการศึกษาการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าธรรมชาติ; เพื่อหาวิธีการเร่งกระบวนการการส่งเสริมการฟื้นตัวของระบบนิเวศเหล่านั้น เพื่อพัฒนาวิธีการผลิตกล้าไม้ที่เหมาะสมสำหรับต้นไม้แต่ละชนิดสำหรับการทดลองปลูก และเพื่อให้ข้อมูลแก่องค์กรและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการปลูกป่า เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ FORRU กำลังสร้างความสัมพันธ์กับชาวบ้านในท้องถิ่นและองค์กรการศึกษาเพื่อให้แน่ใจว่าทรัพยากรทางวิทยาศาสตร์มีให้สำหรับผู้ที่ดำเนินโครงการปลูกต้นไม้ ความสัมพันธ์ดังกล่าวช่วยให้แน่ใจว่ามีการวิจัยที่เหมาะสมและงานนั้นได้ถูกนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมด้วย ผลสำเร็จของโครงการนี้คือการนำวิธีการปฏิบัติในเรือนเพาะชำที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมมาประยุกต์ใช้ และการเพาะปลูกต้นไม้ท้องถิ่นหลากหลายชนิดโดยองค์กรอื่น ๆ ที่ดำเนินโครงการปลูกป่า

Related Advice

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

ความเสื่อมโทรมของป่า

มีการใช้วิธีการต่างๆ ในการฟื้นฟูป่าไม้ระดับต่างๆของความเสื่อมโทรม เรียนรู้วิธีการจำแนกความเสื่อมโทรมเหล่านั้นได้ที่นี่

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...