ห้องสมุด

การขยายพันธุ์พืชหายากแบบไม่อาศัยเพศเพื่อการฟื้นฟูป่า

Date
2011
Authors
Ratnamhin, A., S. Elliott & P. Wangpakapattanawong
Publisher
Chiang Mai Journal of Science
Serial Number
48
Suggested Citation
Ratnamhin, A., S. Elliott & P. Wangpakapattanawong, 2011. Vegetative propagation of rare tree species for forest restoration. Chiang Mai J. Sci., 38(2): 306-310
Vegetative propagation of rare tree species for forest restoration

เมื่อพืชหายาก และออกผลน้อย การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศอาจเป็นเพียงทางเดียวที่จะสร้างคลังต้นไม้ไว้เพื่อโครงการฟื้นฟูป่า อนันทิกา หนึ่งในนักศึกษาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของพวกเรา ตัดสินใจทดลองขยายพันธุ์พืชหายาก 9 ชนิดด้วยวิธีการปักชำ เพื่อเป็นวิทยานิพนธ์ของเธอ ซึ่งเธอประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์พิชหายากที่เป็นปัญหาในครั้งนี้

บทคัดย่อ พืชหายากที่ถูกเลือกมาเพื่อศึกษาความเหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ มีทั้งหมด 9 ชนิด ดังนี้ Crypteronia paniculata Bl. var. paniculata, Diospyros coaetanea Flet., Gardenia sootepensis Hutch., Haldina cordifolia (Roxb.) Rids., Ilex umbellulata (Wall.) Loesn., Mesua ferrea L., Rothmania sootepensis (Craib) Brem., Schoutenia glomerata King ssp. peregrine (Craib) Roekm. & Hart. and Scleropyrum pentandrum (Dennst.) Mabb.

การทดลองเพื่อศึกษาผลของการใช้ปัจจัยต่างๆ ร่วมกันที่มีต่อประสิทธิภาพในราก มีทั้งหมด 5 การทดลอง ได้แก่ 1. ชนิดและความเข้มข้นที่แตกต่างกันของฮอร์โมนบริเวณราก 2. การปักชำจากตำแหน่งตาที่แตกต่างกัน 3. การใช้สารกำจัดเชื้อรา 4. การจัดการบริเวณใบของการปักชำ และ 5. สูตรผสมของวัสดุปลูกที่หลากหลาย ไม่มีทรีทเม้นต์ใดที่ประสบความสำเร็จในการสร้างคลังพืชที่หลากหลายและปริมาณเพียงพอ อย่างไรก็ตาม การปักชำนี้สามารถใช้ขยายพันธุ์พืชชนิด Shoutenia glomerata ได้ โดยทรีทเม้นต์ที่ดีที่สุด คือ ไม่ใช้ฮอร์โมน (ชุดควบคุม) ซึ่งมีคะแนนการเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.1% เป็นค่าสูงสุด และต้องใช้เวลา 10 เดือนในการเก็บการปักชำไปถึงการนำรากลงปลูก

Related Advice

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ