ห้องสมุด

การขยายพันธุ์พรรณไม้ท้องถิ่นเพื่อฟื้นฟูป่าดิบแล้งบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย

Date
2002
Authors
Elliott, S., C. Kuarak, P. Navakitbumrung, S. Zangkum, V. Anusarnsunthorn & D. Blakesley
Publisher
New Forests
Serial Number
37
Suggested Citation
Elliott, S., C. Kuarak, P. Navakitbumrung, S. Zangkum, V. Anusarnsunthorn & D. Blakesley, 2002. Propagating framework trees to restore seasonally dry tropical forest in northern Thailand. New Forests 23: 63-70.
Propagating framework trees to restore seasonally dry tropical forest in northern Thailand

ความสนใจในการฟื้นฟูป่าเพื่ออนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นในภาคเหนือของประเทศไทย อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของความต้องการเก็บผลผลิตที่มีคุณภาพสูงจากต้นไม้ที่โตตามธรรมชาติในป่าหลากหลายสายพันธุ์ เนื่องจากต้นไม้ท้องถิ่นส่วนใหญ่ไม่เคยมีการเพาะในเรือนเพาะชำมาก่อน ทำให้ผลผลิตของพวกเขาอาจไม่ได้มากพอ จากการขาดความรู้พื้นฐานในการขยายพันธุ์ โดยมีการเก็บข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการงอก และประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของพรรณไม้ท้องถิ่นในพื้นที่นั้นในระหว่างกระบวนการผลิต (Production process) ซึ่งมีทั้งหมด 10 สายพันธุ์ ดังนี้ Castanopsis acuminatissima, Dalbergia rimosa, Diospyros glandulosa, Eugenia albiflora, Ficus glaberrima var. glaberrima, Lithocarpus craibianus, Melia toosendan, Prunus cerasoides, Quercus semiserrata และ Spondias axillaris 

พบว่า แต่ละสายพันธุ์สร้างเมล็ดในเวลาที่แตกต่างกันในหนึ่งปี และมีอัตราการเจริญต่างกัน อย่างไรก็ตาม ต้นอ่อนจะต้องมีขนาดที่ปลูกได้ภายในเวลาที่เหมาะสม เช่น ต้นฤดูฝน เปอร์เซ็นการงอกเท่ากับ 38 ถึง 89% และเวลาในเรือนเพาะชำ เพื่อให้ถึงขนาดที่สามารถเพาะปลูกได้ ตั้งแต่ 119 วันของพันธุ์ Prunus cerasoides เมื่อมีความสูงถึงค่าเฉลี่ยเท่ากับ 48.6 ซม. (ค่า SD 7.9) จนถึง 609 วันของพันธุ์ Lithocarpus craibianus เมื่อมีความสูงถึงค่าเฉลี่ยเท่ากับ 40.5 ซม. (ค่า SD 10.6) งานวิจัยนี้อภิปรายเกี่ยวกับการกำหนดเวลาในการผลิตผลของพรรณไม้ท้องถิ่นที่คัดเลือกมา

Related Advice

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ