ห้องสมุด

การฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย: 2. ผล เมล็ด และต้นกล้าของ รักใหญ่ Gluta usitata (Wall.) Hou (Anacardiaceae)

Date
1997
Authors
Elliott, S., S. Kopachon, K. Suriya, S. Plukum, G. Pakaad, P. Navakitbumrung, J. F. Maxwell, V. Anusarnsunthorn, N. C. Garwood & D. Blakesley
Artwork
Surat Plukum
Publisher
Natural History Bulletin of the Siam Society, 45(2): 205-215
Serial Number
21
Suggested Citation
Elliott, S. S. Kopachon, K. Suriya, S. Plukum, G. Pakaad, P. Navakitbumrung, J. F. Maxwell, V. Anusarnsunthorn, N. C. Garwood and D. Blakesley, 1997. Forest restoration research in northern Thailand: 2. The fruits, seeds and seedlings of Gluta usitata (Wall.) Hou (Anacardiaceae). Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 45:205-215.
Gluta usitata crown

รักใหญ่ (Gluta usitata) เป็นชนิดพรรณแรกๆที่เรานำมาศึกษาเพื่อการฟื้นฟูป่าผลัดใบ ในฤดูแล้งจะพบความสวยงามของปีกสีแดงของผลที่อยู่บนต้น รักใหญ่พบบริเวณเชิงดอยสุเทพใกล้ๆกับอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย  แต่ระวังให้ดีหากคุณต้องทำงานกับพรรณไม้ในวงศ์ Anacardiaceae (ตัวอย่างอื่นๆเช่น มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ )ยางของมันอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้  

บทคัดย่อ: รักใหญ่ Gluta usitata (Wall.) Hou (Anacardiaceae) เป็นพรรณไม้ท้องถิ่นที่พบได้ทั่วไปในป่าผลัดใบ พบได้มากในป่าผลัดใบผสมก่อและป่าผลัดใบผสมไผ่ ที่ระดับความสูง 350-1,240 เมตรจากระดับน้ำทะเล  ใบร่วงในเดือนมีนา-เมษายน ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม และติดผลช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม เมื่อนำเมล็ดมาเพาะ เมล็ดจะเริ่มงอกในวันที่ 16-23 นับจากวันแรกที่เพาะ และสิ้นสุดการงอกในเวลา 2 เดือน ด้านการใช้ประโยชน์สามารถนำ G. usitata มาใช้ในการปลูกเพื่อการฟื้นฟูป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงน้อยกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถเก็บเมล็ดในเดือนมกราคม-มีนาคม และสามารถนำเมล็ดมาเพาะในถุงพลาสติกที่มีขนาด 6.5 ซม. x 23 ซม. ใช้วัสดุปลูกเป็นดินป่าหรือดินผสม ใส่ปุ๋ยละลายช้า ต้นกล้าสามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ที่มีแสงแดดเต็มที่ ทั้งนี้กล้าไม้ที่มีอายุ 18 เดือนจะพร้อมปลูกในแปลงฟื้นฟู คือ ช่วงฝนแรกหลังจากเก็บเมล็ดหนึ่งปี

Gluta usitata
รักใหญ่ Gluta usitata - สามารถกระจายเมล็ดโดยใช้ลม เนื่องจากผลมีปีก

 

Related Advice

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

การเก็บและรักษาเมล็ด และธนาคารเมล็ด

การเก็บเมล็ด และการเก็บรักษาเมล็ด ไปจนถึงวิธีการทำธนาคารเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูป่า

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า