ห้องสมุด

เมล็ดและกล้าไม้ยืนต้นเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย 

Date
26 Mar 1998
Authors
FORRU-CMU
Editors
Kerby, J., S. Elliott, J. F. Maxwell, D. Blakesley & V. Anusarnsunthorn
Artwork
Drawings by Surat Plukam
Publisher
The Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Serial Number
5
ISBN
974-85306-6-3
Suggested Citation
Forest Restoration Research Unit, 2000. Tree Seeds and Seedlings for Restoring Forests in Northern Thailand. Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University, Thailand. Edited by Kerby, J., S. Elliott, J. F. Maxwell, D. Blakesley and V. Anusarnsunthorn. The Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University, Thailand. 151 pp.
Tree Seeds and Seedlings - front cover

พื้นที่ป่าในภาคเหนือของประเทศไทยกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว พร้อมกับสัตว์ป่า ผลิตภัณฑ์จากป่า และการบริการทางนิเวศวิทยาที่มีประโยชน์ต่อชุมชนและเศรษฐกิจ ไม่นานมานี้การตระหนักถึงปัญหาของการทำลายป่าเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนในการฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรมโดยการปลูกพรรณไม้ท้องถิ่นนานาชนิด ซึ่งสิ่งสำคัญของการฟื้นฟูป่าโดยการปลูกไม้ท้องถิ่นคือการรู้จักชนิดพรรณไม้ อย่างไรก็ตามการระบุต้นกล้าเป็นเรื่องยากเนื่องจากมีลักษณะที่แตกต่างกับต้นไม้ที่เป็นไม้หนุ่มและไม้แก่ จากฐานข้อมูลงานวิจัยของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (โครงการร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย) ได้รวบรวมความรู้และจัดทำหนังสือเล่มนี้เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานของพรรณไม้ท้องถิ่น 45 ชนิดที่ใช้ในการฟื้นฟูป่า เนื้อหาประกอบด้วยคำอธิบายเกี่ยวกับผลและเมล็ด รูปต้นกล้าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยระบุชนิด และวิธีการขยายพันธุ์กล้าไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีภาพประกอบทั้งภาพวาดลายเส้น ภาพถ่าย และคำอธิบายศัพท์โดยละเอียด

Related Advice

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

การเก็บและรักษาเมล็ด และธนาคารเมล็ด

การเก็บเมล็ด และการเก็บรักษาเมล็ด ไปจนถึงวิธีการทำธนาคารเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูป่า

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า