โครงการ

FRAME—Forests, Climate Change Mitigation & Adaptation: Mekong Region Higher Education

FRAME Restoration Workshop
Nov 15
2020
-
Jan 31
2024
International
FRAME

คลิกที่นี่ หากสนใจเกี่ยวกับหลักสูตรการฟื้นฟูป่าภายใต้ THE FRAME PROJECT.

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งหมด 6 แห่งจากทวีปยุโรป (University of Helsinki และ Czech University of Life Science Prague) และภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Souphanouvong University และ Savannakhet University ประเทศลาว Kasetsart University และ Chiang Mai University) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโปรแกรมอิราสมุสของสหภาพยุโรป โครงการนี้เป็นการเสริมสร้างความสามารถสำหรับการจัดการป่า และการฟื้นฟูป่าอย่างยั่งยืนในประเทศลาว และประเทศไทยด้วยการสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านป่าไม้ โครงการกำลังพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ด้านการเรียน และการสอน (รวมทั้งการสอนแบบออนไลน์) และการฝึกผู้ให้การศึกษา จุดมุ่งหมายของโครงการเป็นการเพิ่มโอกาสการได้งานทำงานของบัณฑิตด้วยการส่งเสริมการฝึกงาน และการจับคู่เนื้อหาของหลักสูตรให้เข้ากับความต้องการของประเทศ ซึ่งในที่สุด บัณฑิตเหล่านั้นจะสามารถเป็นผู้นำต่าง ๆ ในการมีส่วนร่วมของประเทศในความคิดริเริ่มต่าง ๆ ระดับโลก เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ความตกลงปารีสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ความท้าทายบอนน์ด้านการฟื้นฟูป่า และอื่น ๆ โครงการนี้ยังเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (สหภาพยุโรป และประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) และระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยกันเอง (ประเทศลาว และประเทศไทย)

รายละเอียดของโครงการเพิ่มเติม ดูได้ที่นี่ 

นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรปริญาโทด้านวนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งในประเทศลาว และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในขณะเดียวกันหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะปรับปรุงวิชาระดับปริญญาตรีที่มีอยู่แล้ว และจะสร้างวิชาระดับปริญญาโทขึ้นใหม่ด้านวิทยาศาสตร์การฟื้นฟูป่า ณ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์​ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งวิชาแบบออนไลน์ที่มีประกาศนียบัตรรับรองซึ่งเปิดการสอนให้กับบุคคลทั่วไป และหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่ามีการปรับปรุงหลักสูตรให้กับนักศึกษาเพื่อให้ประสบการณ์ด้านการทำงานเกี่ยวกับการฟื้นฟูป่า มอบประสบการณ์และโอกาสให้คนที่มีความสนใจหรือนักศึกษาที่ต้องการฝึกประสบการณ์ร่วมกับเรา ทั้งคนไทยและคนลาว นอกจากนี้เรายังมีสื่อโซเชียลมีเดีย ในการเผนเเพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโปรเจคของเราอีกด้วย มากไปกว่านั้นหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้การฟื้นฟูป่าให้กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและเปิดหลักสูตรปริญาโท โดยหน่วยวิจัยฯให้การสนับสนุนในเรื่องเรือนเพาะชำและการออกภาคสนาม

 

โครงการสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นการรายงานและประเมินผล

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทของหน่วยวิจัยในโครงการนี้ ติดต่อ ดร. ประสิทธิ์ (ผู้ประสานงานโครงการ)

สำหรับกิจกรรมในโครงการและประกาศอื่นๆโปรดดูบนหน้าเว็บเพจหรือติดต่อเข้าไปที่เฟซบุ๊คเพจ

 

 

ERASMUS

 

 

การฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์

ครงการฟื้นฟูป่าควรให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เรียนรู้เรื่องการผสมผสานการศึกษาและการฝึกอบรมในโครงการฟื้นฟูป่าของคุณได้ที่นี่

มวลชีวภาพ การสะสมของคาร์บอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ประมาณครึ่งหนึ่งของมวลชีวภาพของป่าที่กำลังเติบโตคือคาร์บอน ซึ่งหมายความว่าการฟื้นฟูป่าสามารถช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้ เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

1: สมุดกิจกรรมโครงการยุวชนฟื้นฟูป่า

Publication date11 Nov 2022
Author(s)FORRU-CMU
PublisherChiang Mai University
Format
Book

คู่มือการเรียนรู้ที่ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับนักเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมของการฟื้นฟูป่า โดยเริ่มต้นจากการเก็บเมล็ด การเพาะกล้า ดูแลกล้าในเรือนเพาะชำ รวมถึงการปลูกต้นไม้...

2: คู่มือครูสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่

Publication date20 Mar 2022
Author(s)FOREST RESTORATION RESEARCH UNIT
PublisherChiang Mai University
Format
Book

3: การวิเคราะห์ทางการเงินของมูลค่าคาร์บอนจากการฟื้นฟูป่าโดยพรรณไม้โครงสร้าง

Publication dateJan 2022
Author(s)Jantawong, K., N. Kavinchan, P. Wangpakapattanawong & S. Elliott
PublisherForests 2022, 13, 144. https://doi.org/10.3390/f13020144
Format
Journal Paper

บทนำ: มูลค่าของการกักเก็บคาร์บอนจากการฟื้นฟูป่าโดยพรรณไม้โครงสร้างถูกนำมาใช้คำนวณ โดยวิเคราะห์จากแปลงฟื้นฟูที่มีอายุ 14 ปี สะสมเท่ากับ 43.08 tC /ha ในต้นไม้และ 8.56 tC / ha ในดิน โดยมีมูลค่ารวม...

4: การคำนวณเชิงสมการสำหรับหาปริมาณชีวมวลของต้นไม้และการกักเก็บคาร์บอนในป่าแล้งฟื้นฟูในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2021
Author(s)Pothong, T., S. Elliott, S. Chairuangsri, W. Chanthorn, D. Shannon & P. Wangpakapattanawong
PublisherNew Forests (2021). https://doi.org/10.1007/s11056-021-09844-3
Format
Journal Paper

บทนำ: ในขณะที่การตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนและความเสื่อมโทรมของป่าไม้ทวีความรุนแรงขึ้น การซื้อขายคาร์บอนเครดิตสามารถเป็นแรงจูงใจทางการเงินแก่การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า...

5: สมการอัลโลเมตริกชุดใหม่สำหรับการคำนวณมวลชีวภาพและคาร์บอน ของต้นไม้ในป่าดิบเขาทุติยภูมิในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2019
Author(s)Pothong, T.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
PhD Thesis

การบุกรุกทำลายป่าและการเสื่อมสภาพของป่าไม้อย่างรวดเร็วในปัจจุบัน มีส่วนทำให้กลไกทางเศรษฐศาสตร์ได้เกิดขึ้น เช่นกลไกการซื้อขายคาร์บอน ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่มีความสำคัญ...

6: การหาปริมาณการสะสมคาร์บอนเหนือพื้นดินในพื้นที่ป่าที่ถูกฟื้นฟูด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง

Publication dateNov 2017
Author(s)Jantawong, K.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University.
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การทำลายพื้นที่ป่าเขตร้อนเป็นสาเหตุที่ทำให้แหล่งสะสมคาร์บอนบนบกลดลงและส่งผลถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การฟื้นฟูพื้นที่ป่าในเขตร้อนจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว...

7: การกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินระหว่างการฟื้นฟูป่าดิบเขาที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2017
Author(s)Jantawong, K., S. Elliott & P. Wangpakapattanawong
PublisherScientific Research Publishing: Open J. For. 7: 157-171. doi: 10.4236/ ojf.2017.72010.
Format
Journal Paper

บทนำ: การตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนช่วยลดคาร์บอนซิงค์ของโลกและมีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ในทางกลับกันการฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าเขตร้อนสามารถช่วยบรรเทาปัญหาได้...

8: คาร์บอนอินทรีย์ในดินในป่าฟื้นฟูและป่าธรรมชาติในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2015
Author(s)Kavinchan, N., P. Wangpakapattanawong, S.  Elliott, S. Chairuangsri and J. Pinthong
PublisherKKU Res. J. 20(3): 294-304.
Format
Journal Paper

บทนำ: การฟื้นฟูป่าเขตร้อนมีบทบาทในการลดผลกระทยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การเก็บข้อมูลคาร์บอนอินทรีย์ในดินได้คัดเลือกจากแปลงฟื้นฟูภาคเหนือของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3...

9: การประยุกต์ใช้วิธีการพรรณไม้โครงสร้างเพื่อฟื้นฟูการไหลเวียนของคาร์บอนต่อการร่วงหลงและการย่อยสลายของซากพืชในระบบนิเวศป่าเขตร้อน ภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2015
Author(s)Kavinchan, N. P. Wangpakapattanawong, S. Elliott, S. Chairuangsri and J. Pinthong
PublisherKasetsart J. (Nat. Sci.) 49 : 639 - 650.
Format
Journal Paper

บทนำ - หากการฟื้นฟูป่ามีบทบาทที่สำคัญในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ยังคงต้องพึ่งพาความรู้เพื่อหากระบวนการฟื้นฟูการไหลเวียนของคาร์บอนในระดับเดียวกันกีบป่าธรรมชาติให้เร็วที่สุด...

10: การสะสมและพลวัตคาร์บอนในดินของระบบนิเวศป่าธรรมชาติและแปลงฟื้นฟูป่า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Publication dateDec 2013
Author(s)Kavinchan, N.
PublisherGraduate School, Chiang Mai University, Thailand.
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การศึกษาคาร์บอนใต้ดินในป่าที่ฟื้นฟูด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างโดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ซึ่งตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีอายุการปลูกคือ 11, 7 และ 2 ปี...