โครงการ

FRAME—Forests, Climate Change Mitigation & Adaptation: Mekong Region Higher Education

FRAME Restoration Workshop
Nov 15
2020
-
Jan 31
2024
International
FRAME

คลิกที่นี่ หากสนใจเกี่ยวกับหลักสูตรการฟื้นฟูป่าภายใต้ THE FRAME PROJECT.

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งหมด 6 แห่งจากทวีปยุโรป (University of Helsinki และ Czech University of Life Science Prague) และภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Souphanouvong University และ Savannakhet University ประเทศลาว Kasetsart University และ Chiang Mai University) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโปรแกรมอิราสมุสของสหภาพยุโรป โครงการนี้เป็นการเสริมสร้างความสามารถสำหรับการจัดการป่า และการฟื้นฟูป่าอย่างยั่งยืนในประเทศลาว และประเทศไทยด้วยการสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านป่าไม้ โครงการกำลังพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ด้านการเรียน และการสอน (รวมทั้งการสอนแบบออนไลน์) และการฝึกผู้ให้การศึกษา จุดมุ่งหมายของโครงการเป็นการเพิ่มโอกาสการได้งานทำงานของบัณฑิตด้วยการส่งเสริมการฝึกงาน และการจับคู่เนื้อหาของหลักสูตรให้เข้ากับความต้องการของประเทศ ซึ่งในที่สุด บัณฑิตเหล่านั้นจะสามารถเป็นผู้นำต่าง ๆ ในการมีส่วนร่วมของประเทศในความคิดริเริ่มต่าง ๆ ระดับโลก เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ความตกลงปารีสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ความท้าทายบอนน์ด้านการฟื้นฟูป่า และอื่น ๆ โครงการนี้ยังเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (สหภาพยุโรป และประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) และระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยกันเอง (ประเทศลาว และประเทศไทย)

รายละเอียดของโครงการเพิ่มเติม ดูได้ที่นี่ 

นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรปริญาโทด้านวนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งในประเทศลาว และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในขณะเดียวกันหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะปรับปรุงวิชาระดับปริญญาตรีที่มีอยู่แล้ว และจะสร้างวิชาระดับปริญญาโทขึ้นใหม่ด้านวิทยาศาสตร์การฟื้นฟูป่า ณ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์​ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งวิชาแบบออนไลน์ที่มีประกาศนียบัตรรับรองซึ่งเปิดการสอนให้กับบุคคลทั่วไป และหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่ามีการปรับปรุงหลักสูตรให้กับนักศึกษาเพื่อให้ประสบการณ์ด้านการทำงานเกี่ยวกับการฟื้นฟูป่า มอบประสบการณ์และโอกาสให้คนที่มีความสนใจหรือนักศึกษาที่ต้องการฝึกประสบการณ์ร่วมกับเรา ทั้งคนไทยและคนลาว นอกจากนี้เรายังมีสื่อโซเชียลมีเดีย ในการเผนเเพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโปรเจคของเราอีกด้วย มากไปกว่านั้นหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้การฟื้นฟูป่าให้กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและเปิดหลักสูตรปริญาโท โดยหน่วยวิจัยฯให้การสนับสนุนในเรื่องเรือนเพาะชำและการออกภาคสนาม

 

โครงการสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นการรายงานและประเมินผล

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทของหน่วยวิจัยในโครงการนี้ ติดต่อ ดร. ประสิทธิ์ (ผู้ประสานงานโครงการ)

สำหรับกิจกรรมในโครงการและประกาศอื่นๆโปรดดูบนหน้าเว็บเพจหรือติดต่อเข้าไปที่เฟซบุ๊คเพจ

 

 

ERASMUS

 

 

การฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์

ครงการฟื้นฟูป่าควรให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เรียนรู้เรื่องการผสมผสานการศึกษาและการฝึกอบรมในโครงการฟื้นฟูป่าของคุณได้ที่นี่

มวลชีวภาพ การสะสมของคาร์บอนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ประมาณครึ่งหนึ่งของมวลชีวภาพของป่าที่กำลังเติบโตคือคาร์บอน ซึ่งหมายความว่าการฟื้นฟูป่าสามารถช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้ เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

11: Restoring Tropical Forests: a Practical Guide 

Publication date2013
Author(s)Elliott, S.D., D. Blakesley & K. Hardwick
PublisherFirst published in 2013 by Royal Botanic Gardens, Kew, Richmond, Surrey, TW9 3AB, UK www.kew.org Distributed on behalf of the Royal Botanic Gardens, Kew in North America by the University of Chicago Press, 1427 East 60th Street, Chicago, IL 60637, USA
Format
Book

มีให้บริการในภาษาอังกฤษสเปนและฝรั่งเศส      ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ในงานประชุม ณ สวนพฤกษศาสตร์หลวง เมืองคิว ประเทศอังกฤษ...

12: ปลูกให้เป็นป่ากับหลินและทราย - เรื่องราวสำหรับเด็ก

Publication date2013
Author(s)FORRU-CMU
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

หนังสือการ์ตูน "ปลูกให้เป็นป่ากับหลินและทราย" เผยแพร่ให้ดาวน์โหลดหลายภาษา สามารถเลือกภาษาที่ต้องการในช่องสี่เหลี่ยมทางขวามือ ถ้าหากไม่พบภาษาที่คุณต้องการ ทางเรายินดีที่จะเสนอไฟล์ PDF...

13: บทบาทของสวนพฤกษศาสตร์ในด้านวิทยาศาสตร์และการปฏิบัติในการฟื้นฟูระบบนิเวศ

Publication date2011
Author(s)Hardwick K. A., P. Fiedler, L. C Lee, B. Pavlik, R. J Hobbs, J. Aronson, M. Bidartondo, E. Black, D. Coates, M. I Daws, K. Dixon, S. Elliott, et. al.
PublisherWiley, Conservation Biology 25(2):265-275
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ทักษะและทรัพยากรหลายอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับสวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติ รวมถึงอนุกรมวิธานพืช พืชสวน และการจัดการธนาคารเมล็ด ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความพยายามในการฟื้นฟูระบบนิเวศ...

14: ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูป่าดิบที่ต่ำของจังหวัดกระบี่

Publication date2008
Author(s)The Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Elliott, S., C. Kuaraksa, P. Tunjai, T. Polchoo, T. Kongho, J. Thongtao & J. F. Maxwell
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “การวิจัยและอนุรักษ์นกแต้วแร้วทองดำในประเทศไทยและประเทศพม่า” ซึ่งดำเนินการโดยองค์กรอนุรักษ์นกแห่งสหราชอาณาจักร (RSPB) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก Darwin...

15: ปลูกให้เป็นป่า แนวคิดและแนวปฏิบัติ สำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อน

Publication date2005
Author(s)The Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Elliott, S., D. Blakesley, J.F. Maxwell, S,, Doust & S. Suwannaratana
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ได้ตีพิมพ์หนังสือคู่มือเล่มนี้เมื่อปีพ.ศ. 2548  ในคู่มือเล่มนี้ประกอบด้วยหลักการทั่วไปทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติในการฟื้นฟูป่า  ซึ่งสามารถใช้ทั่วไปในการฟื้นฟูป่าเขตร้อน ...

16: การดูแลรักษาป่าไม้ของประเทศไทย : การยื่นมือช่วยเหลือจาก Britain's Darwin Initiative

Publication date2003
Author(s)Kirby Doak
PublisherGuidelines Magazine
Format
Magazine Article

เคอบี้ โดกค์ เป็นทูตเยาวชนออสเตรเลียที่มีทักษะและกระตือรือร้นที่คอยช่วยเหลือด้านการศึกษาของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าตั้งแต่ปีค.ศ.2001-2010...

17: รางวัลจากการฟื้นฟูป่า

Publication date2002
Author(s)Elliott, S. & D. Blakesley
PublisherGuidelines Magazine
Format
Magazine Article

การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วทำให้ป่าเขตร้อนถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้การสูญเสียทางหลากหลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...

18: การดำเนินการตามวาระการประชุม

Publication date2000
Author(s)Elliott, S., J. Kerby, V. Baimai & A. Kaosa-ard
Editors(s)Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
PublisherInternational Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Conference Paper

สาระสำคัญจากการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศครั้งแรกของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ม.เชียงใหม่ (Forru-CMU) ได้แก่...

19: ป่าไม้เพื่ออนาคต: การขยายพันธุ์และการปลูกพรรณไม้ท้องถิ่นเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้

Publication date21 Jan 1998
Author(s)Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Stephen Elliott, David Blakesley & Vilaiwan Anusarnsunthorn
PublisherBiology Department, Chiang Mai University
Format
Book

ทั่วทั้งประเทศไทย ประชาชนผู้ที่กังวลเกี่ยวกับการถูกทำลายอย่างรวดเร็วของป่าไม้อันวิจิตรงดงามของราชอาณาจักรได้รวมตัวกันเพื่อปลูกต้นไม้...