โครงการ

โป่งแยงเทรล โปรเจค #4: ฟื้นฟูป่า 4 ไร่ ณ โป่งแยงใน

Tree Planting
Aug 01
2021
-
Dec 31
2022
บ้านโป่งแยงใน, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่

โครงการฟื้นฟูป่าร่วมกับกลุ่มนักวิ่งโป่งแยงเทรล และศูนย์ศึกษาธรรมชาติดอยสุเทพฯ โดยเปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนการฟื้นฟู สำหรับหลักการฟื้นฟูในครั้งนี้ใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูพื้นที่ป่าดิบเขาตามแนวคิดพื้นฐานและการออกแบบการทดลองของหน่วยวิจัยฟื้นฟูป่า (FORRU-CMU)

FORRU team and DSNC staff
ถ่ายภาพกลุ่มร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพและหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าในแปลงฟื้นฟูโป่งแยงในในวันที่ 13-14 สิงหาคม พ.ศ.2564

โครงการริเริ่มในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2564 ผ่านการพูดคุยกับภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง และเริ่มกระบวนการลงสำรวจประเมินพื้นที่แบบสังเขป เพื่อทราบศักยภาพเชิงพื้นที่ต่อการฟื้นฟูที่มีอยู่เดิมและอุปสรรคขัดขวางการฟื้นฟู หลังจากประเมินศักยภาพในเบื้องต้นนำไปสู่การคำนวณงบประมาณที่ใช้สำหรับโครงการฟื้นฟู การระดมทุนในการดูแลตลอดโครงการตั้งแต่กิจกรรมเรือนเพาะชำ การเตรียมกล้าไม้ การเตรียมพื้นที่ปลูก งานปลูกจริง การออกแบบการทดลองทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชี้วัดความสำเร็จของโครงการฟื้นฟู ฯลฯ ซึ่งพื้นที่เป้าหมายของการฟื้นฟูครั้งนี้ คือ พื้นที่ 4 ไร่ บริเวณบ้านโป่งแยงใน ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับพื้นที่ฟื้นฟูได้รับความอนุเคราะห์จากอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้านมาก่อน ภายหลังผ่านกระบวนการขอคืนพื้นที่และถูกปล่อยให้ฟื้นตัวตามธรรมชาติมากว่า 10 ปี แต่อัตราการฟื้นตัวกลายเป็นป่าตามธรรมชาติยังค่อนข้างต่ำ โดยการเตรียมพื้นที่ก่อนได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านโป่งแยงใน และเจ้าหน้าที่ของหน่วยวิจัยฟื้นฟูป่า โดยกิจกรรมเตรียมแปลงฟื้นฟูก่อนปลูก และจัดกิจกรรมปลูกกล้าไม้จำนวนทั้งหมด 1,350 ต้น ในวันที่ 13-14 สิงหาคม พ.ศ. 2564 นอกจากนั้นได้มีการติดตามผลการการรอดของต้นกล้าหลังจากปลูก 2 สัปดาห์ และได้ดำเนินการดูแลด้วยการตัดหญ้าและใส่ปุ๋ยอีก 3 ครั้ง ในระหว่างฤดูฝน เป็นระยะเวลา 2 ปี

ชนิดของต้นไม้ที่ปลูกเพื่อฟื้นฟูในโครงการนี้สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 20 ชนิด โดยจำนวนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ เป็นพรรณไม้เบิกนำ 10 ชนิด และพรรณไม้เสถียรอีก 10 ชนิด ซึ่งในโครงการฟื้นฟูครั้งนี้ยังได้ทำการทดลองกับต้นกล้าบางชนิด เปรียบเทียบระหว่างต้นไม้ที่ใช้ไบโอชาร์รองก้นหลุมปลูกและไม่ได้ใช้ โดยตัวอย่างชนิดต้นไม้ที่ทำการทดลอง อาทิ เลี่ยน หมอนหิน มะกัก นางพญาเสือโคร่ง ทังใบช่อ และฝาละมี เป็นต้น และตัวอย่างชนิดต้นไม้ที่ไม่ได้ทำการทดลอง อาทิ สลีนก สะเดาช้าง คำแสด ก่อตาหมูหลวง หมากขี้อ้าย และอบเชย เป็นต้น

สำหรับวิดีโองานปลูกป่าสามารถรับชมได้ที่ "กิจกรรมปลูกป่า" 

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

1: การคัดเลือกพรรณไม้ที่เหมาะสมสำหรับการการหยอดเมล็ดเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date09 Apr 2024
Author(s)Naruangsri, K, W. Pathom-aree, S. Elliott & P. Tiansawat
PublisherForests (MDPI)
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: เพื่อยกระดับการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน การฟื้นฟูป่าโดยการหยอดเมล็ด – การนำเมล็ดไปหยอดในดินโดยตรง – อาจเป็นเทคนิคที่มีต้นทุนต่ำกว่าการปลูกต้นไม้...

2: การพัฒนาเทคนิคสำหรับการหยอดเมล็ดโดยตรงเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication dateNov 2023
Author(s)Naruangsri, K.
PublisherChiangmai University
Format
PhD Thesis

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ดเป็นวิธีการที่มีศักยภาพในด้านต้นทุนเมื่อเทียบกับการปลูกต้นไม้เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนในสเกลที่ใหญ่ขึ้น...

3: ความแตกต่างของการล่าเมล็ด การงอก และการเจริญเติบโตของต้นกล้าซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดชนิดที่มีความเหมาะสมในการฟื้นฟูป่าโดยวิธีการหยอดเมล็ด – กรณีศึกษาจากภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date16 Aug 2023
Author(s)Naruangsri, K., P. Tiansawat, S. Elliott
PublisherForest Ecosystems
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ฟื้นฟูป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนโดยวิธีการหยอดเมล็ดอาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่าการปลูกต้นไม้แบบเดิม  อย่างไรก็ตาม...

4: ความเข้าใจเกี่ยวกับการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้: เสริมรากฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ

Publication date14 Nov 2022
Editors(s)Marshall AR, Banin LF, Pfeifer M, Waite CE, Rakotonarivo S, Chomba S, Chazdon RL.
PublisherThe Royal Society Publishing
Format
Journal Paper

ภายใต้ทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ พ.ศ. 2564-2573 ไม่มีเวลาที่สำคัญหรือเหมาะสมอีกต่อไปในการฟื้นฟูป่า ซึ่งมีความสำคัญต่อสายพันธุ์ ผู้คน และสภาพอากาศของโลก อย่างไรก็ตาม...

5: เส้นทางสู่การฟื้นคืน: การสังเคราะห์ผลลัพธ์จากการฟื้นฟูระบบนิเวศในป่าเอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

Publication date14 Nov 2022
Author(s)Banin Lindsay F., Raine Elizabeth H., Rowland Lucy M., Chazdon Robin L., et al. including Elliott, S and Manohan, B.
Editors(s)Andrew R. Marshall, Lindsay F. Banin, Marion Pfeifer, Catherine E. Waite, Sarobidy Rakotonarivo, Susan Chomba and Robin L. Chazdon
PublisherPhil. Trans. R. Soc. B3782021009020210090
Format
Journal Paper

  ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร. สตีเฟ่น เอลเลียต หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ภาควิชาชีววิทยา และ น.ส. เบญจพรรณ มโนหาญ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาชีววิทยา...

6: การใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าระยะเริ่มต้นในพื้นที่เหมืองเปิด

Publication dateSep 2022
Author(s)Changsalak, P.
PublisherGraduate School, Chiang Mai University, Thailand.
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ: การติดตามตรวจสอบการฟื้นฟูป่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความก้าวหน้าของเทคนิคการฟื้นฟู แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของค่าจ้างแรงงาน...

7: การเปรียบเทียบการตรวจจับต้นกล้าและการวัดความสูงโดยใช้แบบจำลอง 3 มิติ จากซอฟต์แวร์สามชุด: ประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูป่า

Publication dateMar 2022
Author(s)Changsalak, P. & P. Tiansawat
PublisherEnvironmentAsia Journal, 15, 100-105. DOI 10.14456/ea.2022.26
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ความท้าทายหนึ่งสำหรับการฟื้นฟูป่าคือการเฝ้าติดตามผลลัพธ์จากการฟื้นฟู โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามการรอดตายของกล้าไม้ แบบจำลอง 3...

8: ความหลากหลายเพื่อการฟื้นฟู (D4R): เป็นแนวทางในการคัดเลือกพันธุ์ไม้และแหล่งเมล็ดพันธุ์เพื่อการฟื้นฟูให้ทนทานต่อสภาพอาการของภูมิประเทศป่าเขตร้อน

Publication date19 Oct 2021
Author(s)Fremout, T., Thomas, E., Taedoumg, H., Briers, S., Gutiérrez-Miranda, C.E., Alcázar-Caicedo, C., Lindau, A.; Kpoumie, H.M., Vinceti, B., Kettle, C., Ekué, M., Atkinson, R., Jalonen, R. Gaisberger, H., Elliott, S., Brechbühler, E., Ceccarelli, V., Krishnan
PublisherJournal of Applied Ecology
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: 1. ในช่วงเริ่มต้นของทศวรรษการฟื้นฟูระบบนิเวศของสหประชาชาติ (พ.ศ. 2564–2573) มีการให้ความสำคัญระดับโลกกับการฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมมากขึ้นกว่าที่เคย...

9: ผลจากอัลลีโลพาธีของใบ Prunus cerasoides Buch.-Ham ex. D. Don ต่อวัชพืชที่พบได้บ่อยภายในแปลงฟื้นฟู  

Publication date31 Mar 2020
Author(s)Punnat Changsalak
PublisherDepartment of Biology, Faculty of Science Chiang Mai University
Format
BSc Project

บทคัดย่อ: การกำจัดวัชพืชโดยการตัดด้วยเครื่องมือกำจัดวัชพืชแบบทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญในโครงการฟื้นฟูสารกำจัดวัชพืชจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ...

10: นวัตกรรมและวิทยาการหุ่นยนต์ในการการจัดการวัชพืชในป่า

Publication date2020
Author(s)Auld, B. A.
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ วิธีการจัดการวัชพืชแบบดั้งเดิมเป็นที่ยอมรับ เริ่มตั้งแต่การถอนด้วยมือ, การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช และการควบคุมด้วยวิธีทางชีวภาพ ในปัจจุบัน มีการพัฒนาวิธีการตรวจจับและควบคุมใหม่ล่าสุด...