โครงการ

โป่งแยงเทรล โปรเจค #4: ฟื้นฟูป่า 4 ไร่ ณ โป่งแยงใน

Tree Planting
Aug 01
2021
-
Dec 31
2022
บ้านโป่งแยงใน, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่

โครงการฟื้นฟูป่าร่วมกับกลุ่มนักวิ่งโป่งแยงเทรล และศูนย์ศึกษาธรรมชาติดอยสุเทพฯ โดยเปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนการฟื้นฟู สำหรับหลักการฟื้นฟูในครั้งนี้ใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูพื้นที่ป่าดิบเขาตามแนวคิดพื้นฐานและการออกแบบการทดลองของหน่วยวิจัยฟื้นฟูป่า (FORRU-CMU)

FORRU team and DSNC staff
ถ่ายภาพกลุ่มร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพและหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าในแปลงฟื้นฟูโป่งแยงในในวันที่ 13-14 สิงหาคม พ.ศ.2564

โครงการริเริ่มในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2564 ผ่านการพูดคุยกับภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง และเริ่มกระบวนการลงสำรวจประเมินพื้นที่แบบสังเขป เพื่อทราบศักยภาพเชิงพื้นที่ต่อการฟื้นฟูที่มีอยู่เดิมและอุปสรรคขัดขวางการฟื้นฟู หลังจากประเมินศักยภาพในเบื้องต้นนำไปสู่การคำนวณงบประมาณที่ใช้สำหรับโครงการฟื้นฟู การระดมทุนในการดูแลตลอดโครงการตั้งแต่กิจกรรมเรือนเพาะชำ การเตรียมกล้าไม้ การเตรียมพื้นที่ปลูก งานปลูกจริง การออกแบบการทดลองทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชี้วัดความสำเร็จของโครงการฟื้นฟู ฯลฯ ซึ่งพื้นที่เป้าหมายของการฟื้นฟูครั้งนี้ คือ พื้นที่ 4 ไร่ บริเวณบ้านโป่งแยงใน ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับพื้นที่ฟื้นฟูได้รับความอนุเคราะห์จากอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้านมาก่อน ภายหลังผ่านกระบวนการขอคืนพื้นที่และถูกปล่อยให้ฟื้นตัวตามธรรมชาติมากว่า 10 ปี แต่อัตราการฟื้นตัวกลายเป็นป่าตามธรรมชาติยังค่อนข้างต่ำ โดยการเตรียมพื้นที่ก่อนได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านโป่งแยงใน และเจ้าหน้าที่ของหน่วยวิจัยฟื้นฟูป่า โดยกิจกรรมเตรียมแปลงฟื้นฟูก่อนปลูก และจัดกิจกรรมปลูกกล้าไม้จำนวนทั้งหมด 1,350 ต้น ในวันที่ 13-14 สิงหาคม พ.ศ. 2564 นอกจากนั้นได้มีการติดตามผลการการรอดของต้นกล้าหลังจากปลูก 2 สัปดาห์ และได้ดำเนินการดูแลด้วยการตัดหญ้าและใส่ปุ๋ยอีก 3 ครั้ง ในระหว่างฤดูฝน เป็นระยะเวลา 2 ปี

ชนิดของต้นไม้ที่ปลูกเพื่อฟื้นฟูในโครงการนี้สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 20 ชนิด โดยจำนวนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ เป็นพรรณไม้เบิกนำ 10 ชนิด และพรรณไม้เสถียรอีก 10 ชนิด ซึ่งในโครงการฟื้นฟูครั้งนี้ยังได้ทำการทดลองกับต้นกล้าบางชนิด เปรียบเทียบระหว่างต้นไม้ที่ใช้ไบโอชาร์รองก้นหลุมปลูกและไม่ได้ใช้ โดยตัวอย่างชนิดต้นไม้ที่ทำการทดลอง อาทิ เลี่ยน หมอนหิน มะกัก นางพญาเสือโคร่ง ทังใบช่อ และฝาละมี เป็นต้น และตัวอย่างชนิดต้นไม้ที่ไม่ได้ทำการทดลอง อาทิ สลีนก สะเดาช้าง คำแสด ก่อตาหมูหลวง หมากขี้อ้าย และอบเชย เป็นต้น

สำหรับวิดีโองานปลูกป่าสามารถรับชมได้ที่ "กิจกรรมปลูกป่า" 

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

11: การติดตามตรวจสอบพืชแบบอัตโนมัติสำหรับการฟื้นฟูป่า

Publication date2020
Author(s)Chisholm, R & T. Swinfield
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Book Chapter

บทนำ: การติดตามพรรณพืชโดยอัตโนมัติในการฟื้นฟูป่ามุ่งเน้นเกี่ยวกับการประเมินชีวมวลของป่าและความหลากหลายของพรรณพืชที่เกี่ยวข้องกับการบริการนิเวศวิทยาและการประเมินด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติ...

12: Allelopathy สำหรับการจัดการวัชพืชในการฟื้นฟูป่า

Publication date2020
Author(s)Intanon, S. & H. Sangsupan
Editors(s)Elliott S., G, Gale & M. Robertson
PublisherFORRU-CMU
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: ในการฟื้นฟูป่า พบว่าวัชพืชจะมีการแข่งขันกับต้นกล้าเพื่อหาน้ำสารอาหารแสงแดดและพื้นที่ตลอดจนเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืชและโรค Allelopathy...

13: อิทธิพลของวัชพืชต่อการรอดชีวิตและการเติบโตของต้นกล้าพรรณไม้ท้องถิ่นในระหว่างการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date24 Aug 2018
Author(s)Tiansawat, P., P. Nippanon, P. Tunjai & S. Elliott
PublisherForest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: วัชพืชมักเป็นอุปสรรคต่อโครงการฟื้นฟูป่า โดยลดการตั้งตัวของต้นกล้าที่ปลูกในพื้นที่...

14: เมล็ดและข้อจำกัดของ microsite ของต้นไม้ที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ ที่มีผลกระจายโดยสัตว์พื้นที่ฟื้นฟูป่าเขตร้อนในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2018
Author(s)Sangsupan, H., D. Hibbs, B. Withrow-Robinson & S. Elliott
PublisherElsevier: Forest Ecology and Management 419-420:91-100
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ในพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่าหรือพื้นที่เสื่อมโทรม การฟื้นฟูป่าโดยการปลูกแบบผสมผสานระหว่างพันธุ์ไม้ป่าท้องถิ่นจะทำให้เกิดการเติบโตทางด้านเรือนยอดของป่าอย่างรวดเร็ว...

15: เมื่อวิทยาศาสตร์กับชุมชนพบกัน: การพัฒนาแนวทางการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย  

Publication date2018
Author(s)Elliott S., S. Chairuengsri, D. Shannon, P. Nippanon & A. Ratthaphon
PublisherThe Siam Society, Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 63(1):11-26.
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้เปรียบเทียบการศึกษาด้านการฟื้นฟูป่าจากสองโครงการในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยซึ่งเป็นการร่วมงานระหว่างนักวิจัยและชุมชน   ความร่วมมือของชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง บ้านแม่สาใหม่...

16: ผู้ล่าเมล็ดก่อนการแพร่กระจายและเชื้อราที่ส่งผลกระทบที่แตกต่างกันต่อการพัฒนาแคปซูล การงอก และการพักตัวของเมล็ด Luehea seemannii ในป่าปานามาสองแห่ง  

Publication date2017
Author(s)Tiansawat, P., N.G. Beckman & J.W. Dalling
PublisherBiotropica 49(6):871-880
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: เมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะเกิดการแพร่กระจายสามารถลดขนาดพืชที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดหาได้อย่างมาก นอกจากนี้ความเสียหายที่ไม่ร้ายแรงโดยนักล่าเมล็ดพันธุ์...

17: ความสามารถในการฟื้นตัวหลังถูกไฟไหม้ของพรรณไม้โครงสร้างในระบบนิเวศป่าดิบเขา

Publication dateJun 2016
Author(s)Nippanon, P. & D. P. Shannon
Publisher3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: วิธีพรรณไม้โครงสร้างเป็นการปลูกกล้าไม้ท้องถิ่น 20-30 ชนิดในพื้นที่เสื่อมโทรมเพื่อส่งเสริมกระบวนการฟื้นตัวและการ กลับมาของความหลากหลายทางชีวภาพ...

18: Selection of native tree species for restoring forest ecosystems

Publication dateJun 2016
Author(s)Shannon, D.P. & S. Elliott
PublisherProceedings of the 3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: วิธีพรรณไม้โครงสร้างเป็นเทคนิคการฟื้นฟูป่าเขตร้อนที่มีการยอมรับอย่างกว้างขวาง เป็นการปลูกไม้ท้องถิ่น 20-30 ชนิดที่มี อัตราการรอดตายและเจริญเติบโตสูง มีเรือนยอดแผ่กว้าง...

19: การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อนในเหมืองหินปูน

Publication date2013
Author(s)Elliott,S., S. Chairuangsri & K. Sinhaseni
PublisherThe Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Book

คู่มือเล่มนี้อธิบายเทคนิคพื้นฐานและการเลือกชนิดพันธุ์สำหรับการฟื้นฟูป่าในพื้นที่เหมืองหินปูนในภาคเหนือของประเทศไทย โดยวิธีการพรรณไม้โครงสร้าง...

20: การงอกของ Ficus microcarpa L. บนหินปูนเพื่อการฟื้นฟูเหมืองแร่

Publication date2013
Author(s)Yabueng, N.,
PublisherDepartment of biology, faculty of science Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

บทคัดย่อ: การทำเหมืองแร่ในประเทศไทยมีข้อกำหนดให้มีการฟื้นฟูพื้นที่หลังจากการทำเหมืองให้กลับสู่สภาพเดิมโดยได้ทำการศึกษาในพื้นที่เหมืองปูนซึ่งสัมปทานโดยบริษัทเครือซิเมนต์ไทย จำกัด จ.ลำปาง...