โครงการ

โป่งแยงเทรล โปรเจค #4: ฟื้นฟูป่า 4 ไร่ ณ โป่งแยงใน

Tree Planting
Aug 01
2021
-
Dec 31
2022
บ้านโป่งแยงใน, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่

โครงการฟื้นฟูป่าร่วมกับกลุ่มนักวิ่งโป่งแยงเทรล และศูนย์ศึกษาธรรมชาติดอยสุเทพฯ โดยเปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนการฟื้นฟู สำหรับหลักการฟื้นฟูในครั้งนี้ใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูพื้นที่ป่าดิบเขาตามแนวคิดพื้นฐานและการออกแบบการทดลองของหน่วยวิจัยฟื้นฟูป่า (FORRU-CMU)

FORRU team and DSNC staff
ถ่ายภาพกลุ่มร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพและหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าในแปลงฟื้นฟูโป่งแยงในในวันที่ 13-14 สิงหาคม พ.ศ.2564

โครงการริเริ่มในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2564 ผ่านการพูดคุยกับภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง และเริ่มกระบวนการลงสำรวจประเมินพื้นที่แบบสังเขป เพื่อทราบศักยภาพเชิงพื้นที่ต่อการฟื้นฟูที่มีอยู่เดิมและอุปสรรคขัดขวางการฟื้นฟู หลังจากประเมินศักยภาพในเบื้องต้นนำไปสู่การคำนวณงบประมาณที่ใช้สำหรับโครงการฟื้นฟู การระดมทุนในการดูแลตลอดโครงการตั้งแต่กิจกรรมเรือนเพาะชำ การเตรียมกล้าไม้ การเตรียมพื้นที่ปลูก งานปลูกจริง การออกแบบการทดลองทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชี้วัดความสำเร็จของโครงการฟื้นฟู ฯลฯ ซึ่งพื้นที่เป้าหมายของการฟื้นฟูครั้งนี้ คือ พื้นที่ 4 ไร่ บริเวณบ้านโป่งแยงใน ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับพื้นที่ฟื้นฟูได้รับความอนุเคราะห์จากอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้านมาก่อน ภายหลังผ่านกระบวนการขอคืนพื้นที่และถูกปล่อยให้ฟื้นตัวตามธรรมชาติมากว่า 10 ปี แต่อัตราการฟื้นตัวกลายเป็นป่าตามธรรมชาติยังค่อนข้างต่ำ โดยการเตรียมพื้นที่ก่อนได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านโป่งแยงใน และเจ้าหน้าที่ของหน่วยวิจัยฟื้นฟูป่า โดยกิจกรรมเตรียมแปลงฟื้นฟูก่อนปลูก และจัดกิจกรรมปลูกกล้าไม้จำนวนทั้งหมด 1,350 ต้น ในวันที่ 13-14 สิงหาคม พ.ศ. 2564 นอกจากนั้นได้มีการติดตามผลการการรอดของต้นกล้าหลังจากปลูก 2 สัปดาห์ และได้ดำเนินการดูแลด้วยการตัดหญ้าและใส่ปุ๋ยอีก 3 ครั้ง ในระหว่างฤดูฝน เป็นระยะเวลา 2 ปี

ชนิดของต้นไม้ที่ปลูกเพื่อฟื้นฟูในโครงการนี้สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 20 ชนิด โดยจำนวนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ เป็นพรรณไม้เบิกนำ 10 ชนิด และพรรณไม้เสถียรอีก 10 ชนิด ซึ่งในโครงการฟื้นฟูครั้งนี้ยังได้ทำการทดลองกับต้นกล้าบางชนิด เปรียบเทียบระหว่างต้นไม้ที่ใช้ไบโอชาร์รองก้นหลุมปลูกและไม่ได้ใช้ โดยตัวอย่างชนิดต้นไม้ที่ทำการทดลอง อาทิ เลี่ยน หมอนหิน มะกัก นางพญาเสือโคร่ง ทังใบช่อ และฝาละมี เป็นต้น และตัวอย่างชนิดต้นไม้ที่ไม่ได้ทำการทดลอง อาทิ สลีนก สะเดาช้าง คำแสด ก่อตาหมูหลวง หมากขี้อ้าย และอบเชย เป็นต้น

สำหรับวิดีโองานปลูกป่าสามารถรับชมได้ที่ "กิจกรรมปลูกป่า" 

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

21: Restoring Tropical Forests: a Practical Guide 

Publication date2013
Author(s)Elliott, S.D., D. Blakesley & K. Hardwick
PublisherFirst published in 2013 by Royal Botanic Gardens, Kew, Richmond, Surrey, TW9 3AB, UK www.kew.org Distributed on behalf of the Royal Botanic Gardens, Kew in North America by the University of Chicago Press, 1427 East 60th Street, Chicago, IL 60637, USA
Format
Book

มีให้บริการในภาษาอังกฤษสเปนและฝรั่งเศส      ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ในงานประชุม ณ สวนพฤกษศาสตร์หลวง เมืองคิว ประเทศอังกฤษ...

22: การใช้ชนิดของมะเดื่อเอเชียในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน

Publication date2013
Author(s)Kuaraksa, C. and S. Elliott
PublisherRestoration Ecology
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: ต้นมะเดื่อ (Ficus spp.) ได้รับการส่งเสริมให้เป็นพรรณไม้โครงสร้างสำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อนทั่วภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นชนิดที่ถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหลัก (keystone species) ดังนั้น...

23: นิเวศวิทยาการสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์ไม้ยืนต้นในสกุล มะเดื่อ ไทร (Ficus spp.) เพื่อเป็นพรรณไม้ โครงสร้างสำหรับการฟื้นฟูป่า

Publication dateFeb 2012
Author(s)Kuaraksa, C.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
PhD Thesis

     ไม้ในกลุ่มมะเดื่อ ไทร ได้รับการส่งเสริมเป็นพรรณไม้โครงสร้างสำหรับปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าในเขตร้อน เนื่องด้วยมีความสำคัญในระบบนิเวศโดยเฉพาะในแง่ของการเป็นแหล่งอาหารสำหรับสัตว์ป่า...

24: การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมในพื้นที่แห้งแล้ง : แนวคิดและแนวทางปฎิบัติเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคตะวันตก

Publication date2011
Author(s)A. Sapanthuphong, S. Thampituk, and A. SukIn
PublisherElephant Conservation Network, Kanchanaburi
Format
Book

รายงานการรวบรวมองค์ความรู้จากโครงการ "การวิจัยเพื่อการฟื้นฟูป่า" ในชุมชนหมู่บ้านแก่งปลากด ที่มีพื้นที่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ มีการดำงานร่วมกันระหว่าง เครือข่ายอนุรักษ์ช้าง (ECN)...

25: ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูป่าดิบที่ต่ำของจังหวัดกระบี่

Publication date2008
Author(s)The Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Elliott, S., C. Kuaraksa, P. Tunjai, T. Polchoo, T. Kongho, J. Thongtao & J. F. Maxwell
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “การวิจัยและอนุรักษ์นกแต้วแร้วทองดำในประเทศไทยและประเทศพม่า” ซึ่งดำเนินการโดยองค์กรอนุรักษ์นกแห่งสหราชอาณาจักร (RSPB) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก Darwin...

26: งานวิจัยเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน คู่มือดำเนินการ

Publication date2008
Author(s)Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Elliott, S.D., D. Blakesley & S. Chairuangsri
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

          คู่มือทางเทคนิคนี้มุ่งเป้าไปที่นักวิจัยและหัวหน้างาน คู่มือทางเทคนิคนี้อธิบายถึงวิธีการจัดตั้งหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าอธิบายวิธีการจัดตั้งหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าไม้(FORRU)...

27: การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่เจริญขึ้นเองตามธรรมชาติ และต้นไม้ที่ปลูกในป่าเต็งรังที่เสื่อมโทรม เพื่อประเมินโอกาสในการฟื้นฟู

Publication date2007
Author(s)Kasemsuk, M
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

การตัดไม้ทำลายป่าถือเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในประเทศเขตร้อน ซึ่งส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง และเกิดการเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การพังทลายของดิน ดังนั้น...

28: ปลูกให้เป็นป่า แนวคิดและแนวปฏิบัติ สำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อน

Publication date2005
Author(s)The Forest Restoration Research Unit
Editors(s)Elliott, S., D. Blakesley, J.F. Maxwell, S,, Doust & S. Suwannaratana
PublisherFORRU-CMU
Format
Book

หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า ได้ตีพิมพ์หนังสือคู่มือเล่มนี้เมื่อปีพ.ศ. 2548  ในคู่มือเล่มนี้ประกอบด้วยหลักการทั่วไปทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติในการฟื้นฟูป่า  ซึ่งสามารถใช้ทั่วไปในการฟื้นฟูป่าเขตร้อน ...

29: การคัดเลือกเมล็ด Prunus cerasoides D. Don เพื่อการฟื้นฟูป่า

Publication date2004
Author(s)Pakkad, G., S. Elliott & D. Blakesley
PublisherNew Forests, Kluwer Academic Publishers, Netherlands
Format
Journal Paper

บทคัดย่อ: Prunus cerasoides D. Don ถูกระบุว่าเป็น "พรรณไม้โครงสร้าง" สำหรับการฟื้นฟูป่าผลัดไม่ผลัดใบในสภาพอากาศที่แห้งตามฤดูกาล...

30: การคัดเลือกพรรณไม้ท้องถิ่น เพื่อการฟื้นฟูป่าดิบแล้งบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โดยยึดประสิทธิภาพการเจริญในพื้นที่จริง

Publication date23 Mar 2003
Author(s)Elliott, S., P. Navakitbumrung, C. Kuarak, S. Zangkum, V. Anusarnsunthorn & D. Blakesley
PublisherForest Ecology & Management 184: 177-191
Format
Journal Paper

พรรณไม้ท้องถิ่น (Framework tree species) คือ พรรณไม้เฉพาะถิ่นที่เจริญเติบโตได้ในป่า ซึ่งถูกเพาะปลูกในบริเวณที่เสื่อมโทรม เพื่อทำให้ระบบนิเวศของป่าสมบูรณ์...