โครงการ

โป่งแยงเทรล โปรเจค #4: ฟื้นฟูป่า 4 ไร่ ณ โป่งแยงใน

Tree Planting
Aug 01
2021
-
Dec 31
2022
บ้านโป่งแยงใน, อำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่

โครงการฟื้นฟูป่าร่วมกับกลุ่มนักวิ่งโป่งแยงเทรล และศูนย์ศึกษาธรรมชาติดอยสุเทพฯ โดยเปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนการฟื้นฟู สำหรับหลักการฟื้นฟูในครั้งนี้ใช้วิธีพรรณไม้โครงสร้างฟื้นฟูพื้นที่ป่าดิบเขาตามแนวคิดพื้นฐานและการออกแบบการทดลองของหน่วยวิจัยฟื้นฟูป่า (FORRU-CMU)

FORRU team and DSNC staff
ถ่ายภาพกลุ่มร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพและหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าในแปลงฟื้นฟูโป่งแยงในในวันที่ 13-14 สิงหาคม พ.ศ.2564

โครงการริเริ่มในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2564 ผ่านการพูดคุยกับภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้อง และเริ่มกระบวนการลงสำรวจประเมินพื้นที่แบบสังเขป เพื่อทราบศักยภาพเชิงพื้นที่ต่อการฟื้นฟูที่มีอยู่เดิมและอุปสรรคขัดขวางการฟื้นฟู หลังจากประเมินศักยภาพในเบื้องต้นนำไปสู่การคำนวณงบประมาณที่ใช้สำหรับโครงการฟื้นฟู การระดมทุนในการดูแลตลอดโครงการตั้งแต่กิจกรรมเรือนเพาะชำ การเตรียมกล้าไม้ การเตรียมพื้นที่ปลูก งานปลูกจริง การออกแบบการทดลองทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชี้วัดความสำเร็จของโครงการฟื้นฟู ฯลฯ ซึ่งพื้นที่เป้าหมายของการฟื้นฟูครั้งนี้ คือ พื้นที่ 4 ไร่ บริเวณบ้านโป่งแยงใน ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับพื้นที่ฟื้นฟูได้รับความอนุเคราะห์จากอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้านมาก่อน ภายหลังผ่านกระบวนการขอคืนพื้นที่และถูกปล่อยให้ฟื้นตัวตามธรรมชาติมากว่า 10 ปี แต่อัตราการฟื้นตัวกลายเป็นป่าตามธรรมชาติยังค่อนข้างต่ำ โดยการเตรียมพื้นที่ก่อนได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านโป่งแยงใน และเจ้าหน้าที่ของหน่วยวิจัยฟื้นฟูป่า โดยกิจกรรมเตรียมแปลงฟื้นฟูก่อนปลูก และจัดกิจกรรมปลูกกล้าไม้จำนวนทั้งหมด 1,350 ต้น ในวันที่ 13-14 สิงหาคม พ.ศ. 2564 นอกจากนั้นได้มีการติดตามผลการการรอดของต้นกล้าหลังจากปลูก 2 สัปดาห์ และได้ดำเนินการดูแลด้วยการตัดหญ้าและใส่ปุ๋ยอีก 3 ครั้ง ในระหว่างฤดูฝน เป็นระยะเวลา 2 ปี

ชนิดของต้นไม้ที่ปลูกเพื่อฟื้นฟูในโครงการนี้สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 20 ชนิด โดยจำนวนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ เป็นพรรณไม้เบิกนำ 10 ชนิด และพรรณไม้เสถียรอีก 10 ชนิด ซึ่งในโครงการฟื้นฟูครั้งนี้ยังได้ทำการทดลองกับต้นกล้าบางชนิด เปรียบเทียบระหว่างต้นไม้ที่ใช้ไบโอชาร์รองก้นหลุมปลูกและไม่ได้ใช้ โดยตัวอย่างชนิดต้นไม้ที่ทำการทดลอง อาทิ เลี่ยน หมอนหิน มะกัก นางพญาเสือโคร่ง ทังใบช่อ และฝาละมี เป็นต้น และตัวอย่างชนิดต้นไม้ที่ไม่ได้ทำการทดลอง อาทิ สลีนก สะเดาช้าง คำแสด ก่อตาหมูหลวง หมากขี้อ้าย และอบเชย เป็นต้น

สำหรับวิดีโองานปลูกป่าสามารถรับชมได้ที่ "กิจกรรมปลูกป่า" 

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การปลูกป่าและการดูแลกล้าไม้หลังปลูก

วิธีการปลูกกล้าไม้และดูแลกล้าไม้หลังปลูก รวมถึงการใส่ปุ๋ย ตัดหญ้า และการทำกระดาษคลุมโคนต้น

31: การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ไม้สำหรับโครงการฟื้นฟูป่า: กรณีศึกษาโดยใช้มะกอกห้ารู (Spondias axillaris Roxb. Anacardiaceae)

Publication date03 Feb 2003
Author(s)Pakkad, G., F. Torre, S. Elliott & D. Blakesley.
PublisherForest Ecology & Management 182: 363-370
Format
Journal Paper

มะกอกห้ารู (Spondias axillaris Roxb. วงศ์ Anacardiaceae) (ชื่อพ้อง: Choerospondias axillaris (Roxb.) Burtt and Hill)...

32: อีเดนช่วยฟื้นฟูป่าเขตร้อนของประเทศไทย

Publication date2003
Author(s)Elliott, S. and D. Blakesley
PublisherEden Project Friends 10: 33-35.
Format
Magazine Article

โครงการความร่วมมือในต่างประเทศแห่งใหม่ของ Eden ทำงานร่วมกับชุมชนชาวเขาในภาคเหนือของประเทศไทยเพื่อตระหนักถึงความคิดที่ว่าการทำลายป่าเขตร้อนของโลกจะกลับคืนมาได้...

33: การทดสอบพรรณไม้โครงสร้างเพื่อการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2002
Author(s)Elliott, S., P. Navakitbumrung, C. Kuarak, S. Zangkum, D. Blakesley and V. Anusarnsunthorn,
PublisherThe Art and Practice of Conservation Planting. Taiwan Forestry Research Institute, Taipei.
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีการพรรณไม้โครงสร้างได้รับการออกแบบมาเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ที่หลากหลายบนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการปกป้องสิ่งแวดล้อม...

34: การทดสอบพรรณไม้โครงสร้างเพื่อการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication date2001
Author(s)Elliott, S., P. Navakitbumrung, C. Kuarak, S. Zangkum, D. Blakesley & V. Anusarnsunthorn
PublisherThe Biodiversity Research and Training Program, Bangkok
Format
Conference Paper

บทคัดย่อ: การฟื้นฟูป่าโดยวิธีการพรรณไม้โครงสร้างได้รับการออกแบบมาเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ที่หลากหลายบนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการปกป้องสิ่งแวดล้อม...

35: ผลของกิจกรรมต่างๆ ในการฟื้นฟูสภาพป่าต่อความหลากหลายของไม้พื้นล่างและกล้าไม้

Publication date2000
Author(s)Khopai, O.
PublisherThe Graduate School, Chiang Mai University
Format
MSc Thesis

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบว่า การปลูกพรรณไม้ท้องถิ่นและการกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยใน การฟื้นฟูสภาพป่ามีผลต่อการเพิ่มขึ้นของไม้พื้นล่างและกล้าไม้หรือไม...

36: วาระการวิจัยเชียงใหม่เพื่อฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Publication date2000
Author(s)Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
Editors(s)Elliott, S.
PublisherInternational Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Conference Paper

ย้อนกลับไปในปี 2000 การวิจัยฟื้นฟูป่ายังห่างไกลจากทางหลัก...

37: ประสิทธิภาพของพรรณไม้ท้องถิ่น 6 ชนิด เพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทยและการตอบสนองของพรรณไม้ต่อการใส่ปุ๋ย

Publication date2000
Author(s)Elliott, S., P. Navakitbumrung, S. Zangkum, C. Kuarak, J. Kerby, D. Blakesley & V. Anusarnsunthorn
Editors(s)Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
PublisherInternational Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Conference Paper

บทนำ: ศึกษาประสิทธิภาพของพรรณไม้ท้องถิ่น 6 ชนิด เพื่อการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำที่เสื่อมโทรมในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ประเทศไทย และการตอบสนองของพรรณไม้ 4 ชนิดต่อการใส่ปุ๋ย...

38: การฟื้นฟูป่าเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า (2543)

Publication date2000
Editors(s)Elliott, S., J. Kerby, D. Blakesley, K. Hardwick, K. Woods & V. Anusarnsunthorn
PublisherInternational Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Book

เอกสารการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ จัดโดย ITTO และหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เอกสารการประชุม การฟื้นฟูป่าเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพรรณพืช ซึ่งจัดในช่วงเดือน มกราคม -...

39: การตั้งรกรากของต้นไม้ในพื้นที่แผ้วถางทางการเกษตรที่ถูกทิ้งร้างในป่าดิบเขตร้อนตามฤดูกาลในภาคเหนือของประเทศไทย

Publication dateOct 1999
Author(s)Hardwick, K.
PublisherPhD Thesis University of Wales, Bangor. Please note, downloads of all chapters are scanned (non-searchable) PDF's.
Format
PhD Thesis

บทนำ: ในปี พ.ศ. 2537 รัฐบาลไทยได้ดำเนินโครงการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศ แนวทางหนึ่งในความพยายามดังกล่าวคือการเร่งกระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติ (ANR)...

40: เมล็ดและกล้าไม้ยืนต้นเพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย 

Publication date26 Mar 1998
Author(s)FORRU-CMU
Editors(s)Kerby, J., S. Elliott, J. F. Maxwell, D. Blakesley & V. Anusarnsunthorn
PublisherThe Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Format
Book

พื้นที่ป่าในภาคเหนือของประเทศไทยกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว พร้อมกับสัตว์ป่า ผลิตภัณฑ์จากป่า และการบริการทางนิเวศวิทยาที่มีประโยชน์ต่อชุมชนและเศรษฐกิจ...