ชนิดของเมล็ดพันธุ์ไม้ในธนาคารเมล็ด

ชนิดของเมล็ดพันธุ์ไม้ในธนาคารเมล็ด

ณ ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ

Language:

"บทบาทของธนาคารเมล็ดพันธุ์ไม่เพียงแต่ปกป้องความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ไม้ท้องถิ่นในภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนโครงการฟื้นฟูและเรือนเพาะชำต้นไม้ขนาดเล็กในโรงเรียนและชุมชนในการขยายพันธุ์ต้นพันธุ์สำหรับโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าด้วย"

seed bankธนาคารเมล็ดเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมของไม้ท้องถิ่นภาคเหนือ โดยศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติ เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2563 เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์พืชและเป็นแหล่งเมล็ดสำหรับการนำไปใช้ในด้านการฟื้นฟูป่า การรักษาเมล็ดภายหลังจากการเก็บเมล็ดจากป่าธรรมชาติเป็นขั้นตอนที่สำคัญเนื่องจากจำเป็นต้องรักษาความมีชีวิตของเมล็ดให้ยาวนานที่สุดเพื่อการใช้ประโยชน์ในอนาคต โดยดำเนินการภายใต้วิธีการที่ได้อ้างอิงจากวิธีการของธนาคารเมล็ด (The Millennium Seed Bank) สวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว ประเทศอังกฤษ

การจัดตั้งธนาคารเมล็ดภายในศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ ยังสามารถใช้เป็นสถานที่เผยแพร่ความรู้ให้กับผู้คนที่สนใจและใช้เป็นแหล่งส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้อีกด้วย ดังนั้นการจัดทำสื่อเพื่อให้ความรู้จึงเป็นภาระกิจหนึ่งที่จำเป็นต้องมี เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาสื่อสารให้กับผู้ที่สนใจที่เข้ามาเยี่ยมชม และร่วมกิจกรรมกับศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ ดังนั้นโครงการนี้จึงมีการจัดทำสื่อเน้นที่ความรู้เกี่ยวกับเมล็ด การเพาะเมล็ด และความรู้ด้านการฟื้นฟู่ป่าอีกด้วย

ปัจจุบันนี้ การดำเนินการของธนาคารเมล็ด ได้ศึกษาพฤติกรรมของเมล็ดจากพรรณไม้ท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น 110 ชนิด และจัดเก็บเมล็ดไว้ทั้งหมด 68 ชนิดและสามารถเข้าถึงข้อมูลชนิดได้จากแถบด้านข้างในหน้านี้

รายชื่อพรรณไม้ที่เก็บรักษาเมล็ดไว้ในธนาคารเมล็ด ได้แก่:

  1. สะเดาช้าง (Acrocarpus fraxinifolius Wight ex Arn. (FABACEAE))
  2. มะกล่ำต้น (Adenanthera microsperma Teijm & Binn.(FABACEAE))
  3. มะกล่ำตาควาย (Adenanthera pavonina L.(FABACEAE))
  4. มะตูม (Aegle marmelos (L.) Corrêa (RUTACEAE))
  5. มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib (FABACEAE))
  6. ฝาละมี (Alangium kurzii Craib(ALANGIACESE))
  7. กางหลวง (Albizia chinensis (Osb.) Merr.(FABACEAE))
  8. พฤกษ์ (Albizia lebbeck (L.) Bth.(FABACEAE))
  9. กางขี้มอด (Albizia odoratissima (L.f.) Benth. (FABACEAE))
  10. ทิ้งถ่อน (Albizia procera (Roxb.) Benth.(FABACEAE))
  11. มะเม่าดง (Antidesma bunius (L.) Spreng.(PHYLLANTHACEAE))
  12. เม่าไข่ปลา (Antidesma ghaesembilla Gaertn.(PHYLLANTHACEAE))
  13. มะเม่าสาย (Antidesma sootepense Craib(PHYLLANTHACEAE))
  14. เสี้ยวดอกแดง (Bauhinia purpurea L.(FABACEAE))
  15. เติม (Bischofia javanica Bl. (EUPHORBIACEAE)) (Seed & seedling information here.)
  16. สิวาละที (Bridelia glauca Bl. var. glauca(EUPHORBIACEAE))
  17. มะม่วงหัวแมงวัน (Buchanania lanzan Spreng.(ANACARDIACEAE))
  18. ทองกวาว (Butea monosperma (Lam.) Taub.(FABACEAE))
  19. มะกอกเกลื้อน (Canarium subulatum(BURSERACEAE))
  20. กรวยป่า (Casearia grewiaefolia Vent. var. grewiifolia(SALICACEAE))
  21. กัลปพฤกษ์ (Cassia bakeriana Craib(FABACEAE))
  22. ราชพฤกษ์ (Cassia fistula L.(FABACEAE))
  23. กาฬพฤกษ์ (Cassia grandis L.f. (FABACEAE))
  24. นุ่น (Ceiba pentandra (L.) Gaertn.(BOMBACACEAE))
  25. มะกัก (Choerospondias axillaris (Roxb.) B.L.Burtt & A.W.Hill(synonym Spondias axillaris Roxb.) (ANACARDIACEAE)) (Seed & seedling information here.)
  26. จวงหอม (Cinnamomum caudatum Nees. (LAURACEAE))
  27. ชิงชัน (Delbergia oliveri Gamble ex Prain.(FABACEAE))
  28. ตับเต่าต้น (Diospyros ehretioides Wall. ex G. Don(EBENECEAE))
  29. กล้วยฤษี (Diospyros glandulosa Lace(EBENACEAE))
  30. มะองนก (Drypetes roxburghii (Wall.) Hurus.(PUTRANJIVACEAE))
  31. พีพ่าย (Elaeocarpus lanceifoliusRoxb. (ELAEOCARPACEAE))
  32. พอหะแย่ (Elaeocarpus prunifoliusWall. ex Muell. (ELAEOCARPACEAE))
  33. คำมอกหลวง (Gardenia sootepensis Hutch.(RUBIACEAE))
  34. ซ้อ (Gmelina arborea Roxb. (VERBENACEAE)) (Seed & seedling information here.)
  35. ยาบน้อย (Grewia eriocarpa Juss. (MAVALCEAE))
  36. กระเชา (Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch. (ULMACEAE))
  37. หมอนหิน (Hovenia dulcis Thunb. (RHAMMACEAE)) (Seed & seedling information here.)
  38. กระบก (Irvingia malayana Oliv. ex Benn.(IRVINGIACEAE))
  39. อ้อยช้าง (Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.(ANACARDIACEAE))
  40. ละมุดป่า (Madhuca thorelii (Pierre ex Dubard) H.J.Lam(SAPOTACEAE))
  41. จำปีป่า (Magnolia baillonii Pierre (MAGNOLIACAE))
  42. ขมิ้นต้น (Mahonia nepalensis DC.(BERBERIDACEAE))
  43. มณฑาแดง (Manglietia garrettii Craib(MAGNOLIACAE))
  44. เลี่ยน (Melia toosendan Sieb. & Zucc. (MELIACEAE)) (Seed & seedling information here.)
  45. จำปา (Michelia champaca L. x M. montana Bl.(MAGNOLIACAE))
  46. พลับพลา (Microcos tomentosaSmith. (TILIACEAE))
  47. กระพี้จั่น (Millettia brandisiana Kurz(FABACEAE))
  48. ยอป่า (Morinda tomentosa Heyne ex Roth (RUBIACEAE))
  49. มะกล่ำสุมาตรา (Ormosia sumatrana(Miq.) Prain (FABACEAE))
  50. เพกา (Oroxylum indicum (L.) Kurz(BIGNONIACEAE))
  51. มะคังดง (Ostodes paniculata Bl.(EUPHORBIACEAE))
  52. มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.(EUPHORBIACEAE))
  53. มะองนก (Putranjiva roxburghii Wall. (PUTRANJIVACEAE))
  54. นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides D. Don (ROSACEAE)) (Seed & seedling information here.)
  55. กอกกัน (Rhus rhetsoides Craib (ANACARDIACEAE)) (Seed & seedling information here.)
  56. สะแล่งหอมไก๋ (Ridsdalea sootepensis (Craib) J.T.Pereira (RUBIACEAE))
  57. มะซัก (Sapindus rarak DC.(SAPINDACEAE))
  58. ขี้หนอน (Scleropyrum pentandrum (Dennst.) Mabb.(SANTALACEAE))
  59. มะค่าแต๊ (Sindora siamensis Teijsm. ex Miq.(FABACEAE))
  60. มะห้อ (Spondias lakonensis Pierre(ANACARDIACEAE))
  61. มะกอกป่า (Spondias pinnata (L. f.) Kurz (ANACARDIACEAE))
  62. สมอพิเภก (Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.(COMBRETACEAE))
  63. แหนนา (Terminalia glaucifolia Craib.(COMBRETACEAE))
  64. มะฝ่อ (Trewia nudiflora L.(EUPHORBIACEAE))
  65. มะกอกฟาน (Turpinia pomifera (Roxb.) Wall. ex DC.(STAPHYLEACEAE))
  66. ผ่าเสี้ยน (Vitex canescens Kurz(LAMIACEAE))
  67. กาสามปีก (Vitex peduncularis Wall. ex Schauer(LAMIACEAE))
  68. แดง (Xylia xylocarpavar. kerrii. (FABACEAE))

นอกจากการอนุรักษ์แล้ว ธนาคารเมล็ดพันธุ์ยังทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลการศึกษาสำหรับนักเรียน นักวิจัย และโครงการของโรงเรียน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงการสร้างสื่อเพื่อแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับเมล็ด การเพาะปลูกเมล็ด และการฟื้นฟูป่าจากการวิจัยกับผู้เยี่ยมชมและผู้เข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์

ธนาคารเมล็ด ยังมีเมล็ดบางชนิดที่สามารถแบ่งปันสำหรับนักวิจัยและนักศึกษาที่ทำโครงการวิทยานิพนธ์และสำหรับโรงเรียนในท้องถิ่นเพื่อเริ่มต้นกิจกรรมในเรือนเพาะชำต้นไม้สำหรับโครงการฟื้นฟูป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เข้าร่วมโครงการยุวชนฟื้นฟูป่า 

หากต้องการเยี่ยมชมธนาคารเมล็ดของเรา สามารถเดินทางตามแผนที่ด้านล่างนี้แผนที่ไปธนาคารเมล็ด

FORRU - ชนิดของเมล็ดพันธุ์ไม้ในธนาคารเมล็ด