ห้องสมุด

การกระจายของต้นกล้าก่อหมูดอย (Castanopsis calathiformis (Skan)Rehder & E.H.Wilson) ใต้ต้นแม่ในแปลงฟื้นฟูป่า

Date
2022
Authors
Kaewsomboon, S. & Chairuangsri, S.
Publisher
Environment Asia
Serial Number
263
Suggested Citation
Kaewsomboon, S. & Chairuangsri, S. (2022). Distribution of Castanopsis calathiformis (Skan) Rehder & E.H. Wilson seedlings beneath maternal tree crowns in forest restoration plotsEnvironment Asia 15 Special Issue, 106-110. DOI 10.14456/ea.2022.27
Sand in her study site

บทคัดย่อ: ก่อหมูดอย (Castanopsis calathiformis (Skan)Rehder & E.H.Wilson) เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ก่อ (Fagaceae) ที่ปลูกในปี 2541 ในแปลงป่าฟื้นฟูใกล้กับหมู่บ้านแม่สาใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเวลาผ่านไปก่อหมูดอยเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรงและผลิตเมล็ดร่วงลงสู่แปลงฟื้นฟู ซึ่งเมล็ดเหล่านี้ได้งอกจนต้นกล้าและกล้าไม้ของก่อหมูดอยได้เติบโตกลายเป็นพรมที่หนาแน่นภายใต้ต้นแม่ของมัน ทำให้พืชชนิดอื่นไม่สามารถเติบโตได้ในพื้นที่บริเวณนั้น ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบประชากรต้นกล้าของก่อหมูดอยกับต้นไม้อีก 2 ชนิดในวงศ์ก่อ (ก่อสีเสียด (Quercus brandisiana Kurz.) และก่อตาหมูหลวง (Quercus semiserrata Roxbin)) ภายในแปลงฟื้นฟูดังกล่าวข้างต้น และ (2) เพื่อพิจารณาถึงการล่าเมล็ดและการกระจายเมล็ดรอบต้นแม่ของก่อหมูดอย ผลการศึกษาพบว่า ความหนาแน่นของต้นกล้าก่อสีเสียดและก่อตาหมูหลวงน้อยกว่าก่อหมูดอยอย่างมีนัยสำคัญ ความหนาแน่นของต้นกล้าก่อหมูดอยลดลงอย่างมีนัยสำคัญตามระยะห่างจากต้นแม่ที่เพิ่มขึ้น และไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของต้นแม่ (ความสูง เส้นรอบลำต้นที่ระดับอก (GBH) และความกว้างทรงพุ่ม) กับความหนาแน่นของต้นกล้า ในส่วนของการศึกษาการทำลายเมล็ดของก่อหมูดอย พบว่าเมล็ดถูกทำลาย 14.1% (แบ่งเป็นเมล็ดที่งอก = 4.31% และเมล็ดที่ไม่งอก = 9.76%) ในขณะที่เมล็ดที่ไม่ถูกทำลายและงอกได้สูงถึง 82.7% นอกจากนี้ในการทดลองการล่าเมล็ดพบว่าไม่มีการนำเมล็ดของก่อหมูดอยออกจากแปลง การศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับการปลูกก่อหมูดอยในพื้นที่ฟื้นฟู ซึ่งควรพิจารณาอย่างรอบคอบในแต่ละสถานที่เพื่อเพิ่มความหลากหลายของชนิดพันธุ์ในการฟื้นฟูป่าอย่างมีประสิทธิภาพ

Related Advice

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...