ห้องสมุด

ยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูป่าดิบที่ต่ำของจังหวัดกระบี่

Date
2008
Authors
The Forest Restoration Research Unit
Editors
Elliott, S., C. Kuaraksa, P. Tunjai, T. Polchoo, T. Kongho, J. Thongtao & J. F. Maxwell
Publisher
FORRU-CMU
Serial Number
258
Suggested Citation
The Forest Restoration Research Unit. 2008. A technical strategy for restoring Krabi’s lowland tropical forest. Compiled by Elliott, S., C. Kuaraksa, P. Tunjai, T. Polchoo, T. Kongho, J. Thongtao & J. F. Maxwell. Biology Department, Science Faculty, Chiang Mai University, Thailand, 200 pp.  
A Technical Strategy for Restoring Krabi’s Lowland Tropical Forest

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ การวิจัยและอนุรักษ์นกแต้วแร้วทองดำในประเทศไทยและประเทศพม่าซึ่งดำเนินการโดยองค์กรอนุรักษ์นกแห่งสหราชอาณาจักร (RSPB) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก Darwin Initiative สำหรับงบประมาณในการวิจัย รายงานนี้จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อปัญหาการขาดข้อมูลทางเทคนิคเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกทำลาย ในภาคใต้ของประเทศไทยให้กลับมาเป็นป่าดิบที่ราบต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ไม่เพียงเพื่อสร้างถิ่นที่อยู่อาศัยสำหรับนกแต้วแร้วท้องดำ แต่เพื่อส่งเสริมการกลับคืนมาของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงต่อป่าที่มีความพิเศษและกำลังถูกคุกคามเป็นอย่างมากนี้ด้วย

ข้อเสนอแนะในรายงานนี้อ้างอิงจากหลักการและวิธีการของการฟื้นฟูป่า ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (FORRU-CMU) ในภาคเหนือของประเทศไทย (เช่น การส่งเสริมกระบวนการฟื้นตัวโดยธรรมชาติ (ANR) วิธีการพรรณไม้โครงสร้าง และเทคนิคการผลิตกล้าไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 และได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพทางนิเวศวิทยาของป่าดิบชื้นที่ต่ำในภาคใต้ของประเทศไทย ดังนั้น ข้อมูลบางส่วนของรายงานนี้จึงได้รับการปรับปรุงมาจากงานตีพิมพ์ของ FORRU-CMU ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยงบประมาณจาก Darwin Initiative เช่นเดียวกัน (หนังสือ ปลูกอย่างไรให้เป็นป่าและ งานวิจัยเพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน” FORRU, 2549 และ 2551)

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

การฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์

ครงการฟื้นฟูป่าควรให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เรียนรู้เรื่องการผสมผสานการศึกษาและการฝึกอบรมในโครงการฟื้นฟูป่าของคุณได้ที่นี่

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

วิธีการในเรือนเพาะชำ

วิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการเรือนเพาะชำเพื่อการฟื้นฟูป่า รวมถึงขั้นตอนและตารางการผลิตกล้าไม้ในเรือนเพาะชำ

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...