ห้องสมุด

การบูรณาการงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ร่วมกับชุมชนเพื่อการฟื้นฟูภูมิทัศน์ในภาคเหนือของประเทศไทย : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านแม่สาใหม่

Date
2012
Authors
Elliott, S., C. Kuaraksa, P. Tunjai, T. Toktang, K. Boonsai, S. Sangkum, S. Suwanaratanna & D. Blakesley
Editors
Stanturf, J., P. Madsen & D. Lamb
Publisher
Springer Science, DOI 10.1007/978-94-007-5338-9_7
Serial Number
210
ISBN
ISBN 978-94-007-5338-9
Suggested Citation
Elliott, S., C. Kuaraksa, P. Tunjai, T. Toktang, K. Boonsai, S. Sangkum, S. Suwanaratanna & D. Blakesley, 2012. Integrating scientific research with community needs to restore a forest landscape in northern Thailand: a case study of Ban Mae Sa Mai. Pp 149-152 in Stanturf, J., P. Madsen & D. Lamb (Eds), A Goal-Oriented Approach to Forest Landscape Restoration, Springer. DOI 10.1007/978-94-007-5338-9_7
Cover

หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือเล่มแรกที่เขียนเกี่ยวกับความร่วมมือและการทำงานร่วมกับชุมชนบ้านแม่สาใหม่เพื่อหามุมมองด้านการฟื้นฟูระหว่างนักวิทยาศาสตร์และนักสังคมศาสตร์ ตั้งแต่การก่อตั้งหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าจนถึงแปลงฟื้นฟูป่าในหมู่บ้านแม่สาใหม่ อาจารย์สตีเฟ่นและอาจารย์เดียนำเสนอในงานประชุมนานาชาติที่ประเทศเกาหลี พฤษภาคม 2007 กรณีศึกษา: การฟื้นฟูภูมิทัศน์ ขอขอบคุณเดวิด แลมบ์ ที่สนับสนุนให้เข้าร่วมงานและขอขอบคุณจอร์น สเตนเฟอ ที่นำเสนองานให้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือชื่อ เป้าหมายสู่การฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่า ในหนังสือมีการอ้างอิงงานวิจัยที่น่าสนใจหลากหลาย หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าได้รับเวอร์ชั่นสำเนา ถ้าหากคุณต้องการยืมสามารถติดต่อเราได้ ซึ่งมีหลายกรณีศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์และถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย เวอร์ชั่นล่าสุด นอกจากนั้นองค์กรระหว่างประเทศ (ITTO) ยังได้นำเนื้อหาใช้อ้างอิงในคู่มือการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าในเขตร้อน หน้าที่ 95 อีกด้วย

IUFRO Conference Korea
การประชุมของ IUFRO หรือความร่วมมือระหว่างประเทศในการวิจัยป่าไม้ กรุงโซล ประเทศเกาหลี ในปี 2007 - กรณีศึกษาชุมชนบ้านแม่สาใหม่ได้ถูกนำเสนอในที่ประชุม

บทนำ- โครงการฟื้นฟูป่าในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ประเทศไทย ประสบการณ์ความสำเร็จจากการร่วมมือของชุมชนในด้านวิทยาศาสตร์ โดยนำเสนอแปลงฟื้นฟูแห่งแรกของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า สังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อทดสอบวิธีพรรณไม้โครงสร้างในการฟื้นฟูป่าพร้อมความร่วมมือกับชนเผ่าม้งในหมู่บ้านแม่สาใหม่ โครงการริเริ่มด้วยความสำเร็จของวิธีการในการฟื้นฟูป่าดิบในพื้นที่เสื่อมโทรมและหาปัจจัยที่ทำให้ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูป่า

ชั้นเรือนยอดปกคลุมพื้นที่ในระยะเวลา 3 ปี หลังจากคัดเลือกพรรณไม้ท้องถิ่นปลูกในพื้นที่ประมาณ 20-30 ชนิด การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพประสบความสำเร็จจากการเข้ามาถึงพรรณไม้ 73 ชนิดและการเข้ามาของนกในแปลงฟื้นฟูในช่วงปีที่ 5 ถึงปีที่ 9 ซึ่งพบว่าพรรณไม้เพิ่มขึ้นจากเดิม 30 เป็น 88 ชนิดหลังจากผ่านไป 6 ปี

หน่วยจัดการต้นน้ำที่กำกับดูแลพื้นที่เป็นหนึ่งในแรงกระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการครั้งนี้ ซึ่งมุมมองด้านสังคมศาสตร์มีความสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าอุทยานแห่งชาติที่ลดมุมองที่มีต่อชุมชนในแง่ร้าย ส่วนในมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์ก็มีความสำคัญด้วยเช่นกัน โดยที่ค่าใช้จ่ายแรงงานและกิจกรรมภายในโครงการได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่าในการกระตุ้นให้เป็นรายได้หลักที่เข้าชุมชนและการเก็บของป่าเป็นรายได้รองของชุมชน

นอกจากนี้โครงการประสบความสำเร็จจากการที่ 1) ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดทิศทางในการฟื้นฟูป่าโดยผู้เขาสามารถตัดสินใจเลือกพรรณไม้ได้เอง 2) ภายในชุมชนแม่สาใหม่เป็นชุมชนขนาดใหญ่และมีการจัดการที่ดี 3) ชุมชนมีความต้องการผลผลิตจากป่าน้อย และ 4) ชุมชนเคยทำงานร่วมกับองค์กรภายนอกบ่อยครั้งจึงง่ายต่อการพูดคุยและหาข้อตกลงร่วมกัน

Related Advice

การประเมินพื้นที่อย่างรวดเร็ว

แนวความคิดและวิธีการประเมินระดับความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ควรดำเนินการและความเข้มข้นของงานที่จำเป็นสำหรับพื้นที่เป้าหมาย

มุมมองด้านสังคมและเศรษฐกิจในการฟื้นฟูป่า

การฟื้นฟูป่าไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่มีการสนับสนุนจากชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เรียนรู้มุมมองทางด้านสังคมกับการฟื้นฟูป่า

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

กลยุทธ์ในการฟื้นฟูป่า

ปลูกหรือไม่ปลูก? เข้าไปช่วยหรือปล่อยให้ป่าฟื้นเองตามธรรมชาติ? มาหาคำตอบกันว่าอะไรที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ฟื้นฟูของคุณ