ห้องสมุด

อิทธิพลของวัชพืชต่อการรอดชีวิตและการเติบโตของต้นกล้าพรรณไม้ท้องถิ่นในระหว่างการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Date
24 Aug 2018
Authors
Tiansawat, P., P. Nippanon, P. Tunjai & S. Elliott
Publisher
Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University
Serial Number
92
Suggested Citation
Tiansawat, P., P. Nippanon, P. Tunjai & S. Elliott, 2018. Effects of weeds on survival and growth of planted seedlings of native forest tree species during forest restoration in Northern Thailand. KKU Sci. J. 46(4):751-760
Effects of weeds on survival and growth of planted seedlings of native forest tree species during forest restoration in northern Thailand

บทคัดย่อ: วัชพืชมักเป็นอุปสรรคต่อโครงการฟื้นฟูป่า โดยลดการตั้งตัวของต้นกล้าที่ปลูกในพื้นที่ การศึกษานี้เปรียบเทียบการอยู่รอดการเติบโตและสุขภาพของต้นกล้าไม้ท้องถิ่นในที่ที่มีและไม่มีวัชพืชที่ระยะเวลา 1.5-2 ปีหลังการปลูกต้นกล้าเพื่อฟื้นฟูป่าดิบเขา (1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล) จากที่ดินการเกษตรที่ถูกทิ้งร้างในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ถูกปกคลุมด้วยหญ้ากินนี (Panicum maximum Jacq.) เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นอัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์ด้านคอราก (RGR-RCD) ของต้นกล้าไม้ท้องถิ่น 4 ชนิดเป้าหมายถูกเปรียบเทียบระหว่างแปลงที่ไม่มีการกำจัดวัชพืช และแปลงที่มีการกำจัดวัชพืช ไม้ท้องถิ่น 4 ชนิด คือ เสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegate L.) เติม (Bischofia javanica Blume) หมอนหิน (Hovenia dulcis Thunb) และนางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides Buch-.Ham .ex D.Don) แปลงวงกลมรัศมี 5 เมตร (พื้นที่ 78.5 ตารางเมตร) จำนวน 10 แปลงถูกจัดตั้งขึ้นแบบสุ่มในพื้นที่ศึกษา โดยใน 5 แปลง วัชพืชถูกกำจัดด้วยการตัดทุกสองเดือนและอีก 5 แปลงไม่มีการกำจัดวัชพืช เก็บข้อมูลจำนวนต้นกล้าในแปลงก่อนการทดลองและที่ประมาณ 6 เดือนหลังจากเริ่มต้นการทดลอง วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางคอราก (RCD) ของต้นกล้าที่รอดตายทั้งหมดและให้คะแนนสุขภาพต้นกล้า ในช่วงระยะเวลาการศึกษา ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของการอยู่รอด สุขภาพและ RGR-RCD ของต้นกล้าระหว่างแปลงไม่กำจัดและกำจัดวัชพืช การศึกษาพบว่าต้นกล้าขนาดใหญ่รอดชีวิตได้ดีกว่าต้นกล้าขนาดเล็ก ต้นกล้าที่มีชีวิตรอดแล้วหลังปลูก 1.5 ปี (สิ้นสุดฤดูฝนที่สองหลังจากปลูก) แข็งแรง และเติบโตพอที่จะทนต่อการแข่งขันจากวัชพืชรอบๆ สำหรับไม้ท้องถิ่นทั้ง 4 ชนิด RGR-RCD เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ 83.1% ต่อปีในนางพญาเสือโคร่ง (P. cerasoides) 40.4% ต่อปีในหมอนหิน (H. dulcis) 25.3% ต่อปีในเสี้ยวดอกขาว (B. variegata) และ 15.5% ต่อปีในเติม (B. javanica)

Related Advice

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...