ห้องสมุด

การคัดเลือกพรรณไม้ท้องถิ่น เพื่อการฟื้นฟูป่าดิบแล้งบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โดยยึดประสิทธิภาพการเจริญในพื้นที่จริง

Date
23 Mar 2003
Authors
Elliott, S., P. Navakitbumrung, C. Kuarak, S. Zangkum, V. Anusarnsunthorn & D. Blakesley
Publisher
Forest Ecology & Management 184: 177-191
Serial Number
56
Suggested Citation
Elliott, S., P. Navakitbumrung, C. Kuarak, S. Zangkum, V. Anusarnsunthorn & D. Blakesley, 2003. Selecting framework tree species for restoring seasonally dry tropical forests in northern Thailand based on field performance. Forest Ecology & Management 184: 177-191
Selecting framework tree species for restoring seasonally dry tropical forests in northern Thailand based on field performance

พรรณไม้ท้องถิ่น (Framework tree species) คือ พรรณไม้เฉพาะถิ่นที่เจริญเติบโตได้ในป่า ซึ่งถูกเพาะปลูกในบริเวณที่เสื่อมโทรม เพื่อทำให้ระบบนิเวศของป่าสมบูรณ์ และเร่งการเกิดใหม่ของป่าให้เป็นไปอย่างธรรมชาติ รวมถึงส่งเสริมการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ งานวิจัยนี้ ทำการทดสอบเพื่อดูว่า พรรณไม้ที่เจริญในป่าจำนวน 37 สายพันธุ์ มีพันธุ์ใดบ้างที่สามารถทำหน้าที่เป็นพรรณไม้ท้องถิ่น เพื่อเร่งการฟื้นฟูป่าดิบแล้งบริเวณพื้นที่เสื่อมโทรมเหนือลุ่มน้ำในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยที่ภาคเหนือของประเทศไทย โดยปลูกต้นไม้ไว้ที่ความหนาแน่นเท่ากับ 3125 ha1 ในปีค.ศ. 1998 และ 1999 ภายในแปลงปลูก มีการถอนวัชพืชด้วยมือ ใส่ปุ๋ยรอบต้นไม้ที่ปลูกไว้สามครั้งในช่วงฤดูฝน มีการประเมินประสิทธิภาพในการเจริญในแปลงปลูกช่วงปลายฤดูฝนครั้งที่สอง หลังจากที่วัดความสูง ความกว้างทรงพุ่ม และวัชพืชโดยรอบ ในเดือนมีนาคม ปีค.ศ. 2001 เกิดไฟป่าขึ้นบางจุด จึงทำให้สามารถประเมินความสามารถในการฟื้นคืนสู่ปกติได้ในบางสายพันธุ์

พรรณไม้ท้องถิ่นที่ถูกจัดว่า ‘เหมาะสมที่สุด’ มี 9 สายพันธุ์ ได้แก่ Ficus hispida var. hispidaGmelina arborea, Hovenia dulcis, Melia toosendan, Michelia baillonii, Prunus cerasoides, Rhus rhetsoides และ Spondias axillaris.

พรรณไม้ท้องถิ่นที่ถูกจัดว่า ‘ยอมรับได้’ มี 15 สายพันธุ์ ได้แก่ Acrocarpus fraxinifolius, Balakata baccata, Castanopsis acuminatissima, Ficus altissima, Ficus benjamina var. benjamina, Ficus glaberrima var. glaberrima, Ficus racemosa var. racemosa, Ficus subulata var. subulata, Glochidion kerrii, Heynea trijuga, Macaranga denticulata, Machilus bombycina, Nyssa javanica, Sapindus rarak and Sarcosperma arboreum.

พรรณไม้ท้องถิ่นที่ถูกจัดว่า ‘พอใช้’ มีเพียง 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Bischofia javanica, Ficus heteropleura var. heteropleura, Manglietia garrettii และ Quercus semiserrata. 

พรรณไม้ท้องถิ่นที่ไม่สามารถใช้ได้ มี 9 สายพันธุ์ ได้แก่ Aglaia lawii, Callicarpa arborea var. arborea, Cinnamomum caudatum, Diospyros glandulosa, Helicia nilagirica, Horsfieldia thorelii, Lithocarpus fenestratus, Phoebe cathia และ Pterocarpus macrocarpus.

Related Advice

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า