ห้องสมุด

ชีพลักษณ์ของไม้ยืนต้นห้าชนิดสำหรับการฟื้นฟูป่าไม่ผลัดใบบนดอยสุเทพ

Date
21 Mar 2023
Authors
Phattarapol Soyson
Publisher
Chiangmai University
Serial Number
277
Suggested Citation
Soyson, P. 2023. Phenology of Five Tree Species for Restoration of Evergreen Forests on Doi Suthep. BSc special project, Chiangmai University
Macaranga denticulata leaf

บทคัดย่อ: จากการศึกษาชีพลักษณ์ของไม้ยืนต้นบางชนิดในป่าไม่ผลัดใบ ณ ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือน มีนาคม 2565 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งมีจำนวนพรรณไม้ที่ศึกษา 5 ชนิด ได้แก่ มะไฟ (Baccaurea ramiflora) ตาเสือ (Cryptocarya amygdalina) หมากขี้อ้าย (Aphanamixis polystachya) กะอวม (Acronychia pedunculata) และตองแตบ (Macaranga denticulata) โดยมีการเปรียบเทียบข้อมูลทางกายภาพของสภาพภูมิอากาศระหว่างปี พ.ศ.2537-2541 และ พ.ศ.2565-2566 บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่า การเปลี่ยนแปลงรูปแบบชีพลักษณ์เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของต้นไม้จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ หมากขี้อ้าย (C. amygdalina) เริ่มออกดอกช้ากว่าในอดีต และ กะอวม (A. pedunculata) เริ่มออกดอกเร็วกว่าในอดีต โดยข้อมูลทางชีพลักษณ์นี้สามารถนำไปใช้ในการกำหนดระยะเวลาการเก็บเมล็ดสำหรับการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม

Related Advice

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...