ห้องสมุด

ความสามารถในการฟื้นตัวหลังถูกไฟไหม้ของพรรณไม้โครงสร้างในระบบนิเวศป่าดิบเขา

Date
Jun 2016
Authors
Nippanon, P. & D. P. Shannon
Publisher
3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand
Serial Number
219
Suggested Citation
Nippanon, P. & D. P. Shannon, 2016. Fire resilience of framework tree species in hill evergreen forest. Pages 57-64 in Proceedings of the 3rd National Meeting on Biodiversity Management in Thailand, The Impress Nan Hotel, Nan Province, Thailand. June 15-17, 2016.
Duck

บทคัดย่อ: วิธีพรรณไม้โครงสร้างเป็นการปลูกกล้าไม้ท้องถิ่น 20-30 ชนิดในพื้นที่เสื่อมโทรมเพื่อส่งเสริมกระบวนการฟื้นตัวและการ กลับมาของความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบนิเวศป่าภาคเหนือมักพบการรบกวนจากไฟในช่วงฤดูแล้ง ความสามารถฟื้นตัวได้หลัง ถูกไฟไหม้จึงเป็นคุณลักษณะส าคัญอย่างหนึ่งของกล้าไม้เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศดังกล่าว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติตตามสภาพของ พรรณไม้โครงสร้าง รวมทั้งพลวัตรและองค์ประกอบของสังคมพืชหลังถูกไฟไหม้ มีการบันทึกการเจริญเติบโต (เส้นผ่านศูนย์กลางคอราก ความสูง และความกว้างทรงพุ่ม) ความรุนแรงของไฟ และสังคมพืชพื้นล่างในแปลงฟื้นฟูอายุต่างกัน (อายุ 1 2 14 และ 17 ปี) จ านวน 3 ครั้ง คือ หลังแปลงถูกไฟไหม้เป็นเวลา 2 18 และ 30 สัปดาห์ จากผลการศึกษาพบว่าความรุนแรงของไฟและขนาดของความกว้างคอราก ส่งผลต่อความสามารถในการรอดชีวิตของพรรณไม้โครงสร้าง ร้อยละการรอดชีวิตของแปลงอายุ 14 และ 17 ปี หลังโดนไฟไหม้ไม่มี ความแตกต่างกัน (ร้อยละ 87 และ 94 ตามล าดับ) ในขณะที่แปลงอายุ 1 และ 2 มีร้อยละการรอดชีวิตแตกต่างกันทางสถิติ(ร้อยละ 62 และ 22 ตามล าดับ) ในระดับชนิดพบว่ากล้าไม้ 7 ชนิด มีร้อยละการรอดชีวิตสูงจัดอยู่ในเกณฑ์ดี (>70) ได้แก่ เติม (Bischofia javanica) มะเดื่อใบใหญ่ (Ficus auriculata) ตาเสือทุ่ง (Heynea trijuca) มณฑาแดง (Manglietia garrettii) มะแฟน (Protium serratum) นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides) และมะกอกห้ารู (Spondias axillaris) เมื่อพิจารณาความสามารถในการแตกกอ ใหม่หลังโดนไฟไหม้ พบว่ากล้าไม้ 8 ชนิด มีความสามารถดังกล่าวสูงกว่าชนิดอื่น ได้แก่ เติม (B. javanica) ก่อหมูดอย (Castanopsis calathiformis) กล้วยฤๅษี (Diospyros glandulosa) มะเดื่อใบใหญ่ (F. auriculata) มณฑาแดง (M. garrettii) ตองหอม (Phoebe lanceolata) นางพญาเสือโคร่ง (P. cerasoides) และ มะยาง (Sarcosperma arboreum)

Related Advice

การติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้

การติดตามการเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตของกล้าไม้หลังการปลูกให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้

ไฟป่า

ในช่วงฤดูแล้ง ไฟป่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อโครงการฟื้นฟูป่าเป็นอย่างมาก เรียนรู้วิธีการป้องกันและการจัดการเมื่อไฟป่าลุกลามเข้าแปลงฟื้นฟู