ห้องสมุด

ประสิทธิภาพของไฮโดรซีดดิงในพืชสกุลมะเดื่อเพื่อการฟื้นฟูป่าในเหมืองหินปูนที่สิ้นสุดกิจกรรม

Date
May 2014
Authors
Khokthong, W.
Publisher
The Graduate School, Chiang Mai University
Serial Number
198
Suggested Citation
Khokthong, W., 2014. Efficacy of Ficus Hydroseeding for Forest Restoration in an Abandoned Limestone Quarry. MSc thesis. The Graduate School, Chiang Mai University.
Mine

บทคัดย่อ: การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่เหมืองหินปูนนั้นเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากเนื่องจากเหมืองหินปูนเป็นบริเวณที่ถูกทำลายจนเหลือแต่บริเวณหน้าผาหินที่ปราศจากหน้าดินปกคลุม พืชในสกุลมะเดื่อและ ไทร (Ficus spp.) สามารถพบเห็นได้ในหลายหลายพื้นที่ตั้งแต่บริเวณริมน้ำไปจนถึงพื้นที่สูงชันและพืชในสกุลนี้สามารถอยู่รอดได้ในสภาพของหินปูน การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นเพื่อใช้พืชสกุลมะเดื่อและไทรร่วมกับเทคนิคไฮโดรซีดดิงในพื้นที่ของเหมืองปูนบริษัทปูนซีเมนต์ไทยลำปาง จำกัด โดยเมล็ด ของ Ficus benjamina, F. hispida และ F. semicordata ถูกนำมาทดสอบกับไฮโดรเจลที่มี Sodium Carboxymethyl Cellulose (NaCMC) ผสมกับแป้งข้าวโพดหรือวุ้นในหลายอัตราส่วน

ไฮโดรเจลที่มีส่วนผสมของ NaCMC (0.1% w/v) ตั้งแต่สัดส่วน 0, 25, 50, 75 และ 100% v/v และถูกแทนด้วยสัดส่วนของวุ้น (0.45% w/v) หรือแป้งข้าวโพด (5% w/v) เพื่อทดสอบคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ พบว่าค่าความเป็นกรดด่างของไฮโดรเจลไม่แตกต่างทางสถิติ (pH 5.82 ถึง 6.08, ANOVA, p < 0.05) โดยไฮโดรเจลที่มีส่วนผสมของแป้งข้าวโพดจะมีค่าความหนืดมากที่สุดและแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) แต่ไฮโดรเจลที่มีส่วนผสมของวุ้นมากขึ้นจะทำให้ความหนืดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) อัตราส่วนของ NaCMC ที่สูงขึ้นจะเพิ่มปริมาณน้ำในไฮโดรเจลและสัดส่วนการดูดซึมน้ำกลับ อีกทั้งการเพิ่มอัตราส่วนของแป้งข้าวโพดยังทำให้ปริมาณน้ำ สัดส่วนการดูดซึมน้ำกลับและการแพร่ผ่านของไอน้ำผ่านไฮโดรเจลมีค่ามากกว่าไฮโดรเจลที่มีวุ้นใน อัตราส่วนที่เท่ากัน ส่วนผสมระหว่าง NaCMC กับวุ้นไม่มีความแตกต่างของการแพร่ผ่านของไอน้ำ ผ่านไฮโดรเจล หากเพิ่มอัตราส่วนของแป้งข้าวโพดทำให้การแพร่ผ่านของไอน้ำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) อีกทั้งยังพบว่าในสภาวะความชื้นสัมพัทธ์สูง ไฮโดรเจลที่มี NaCMC และวันจะมีค่าการดูดความชื้นมากกว่าแป้งข้าวโพดและ GAB model สามารถคำนวณค่าปริมาณ ความชื้นที่จุดสมดุล (Mo) ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0.573 ถึง 0.998 g/g

การทดสอบการงอกของมะเดื่อและไทรในจานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพบว่าอัตราส่วนของ NaCMC ที่สูงจะยับยั้งการงอก โดยค่าร้อยละการงอกในไฮโดรเจลแต่ละชนิดมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยชุดควบคุมซึ่งไม่ใช้ไฮโดรเจลจะมีค่าร้อยละการงอกสูงที่สุดในการทดลองวันที่ 10

การทดลองเทคนิคไฮโดรซีดดึงในเรือนเพาะชำจะใช้หลอดฉีดยาสำหรับบรรจุเมล็ดมะเดื่อและไทรร่วมกับไฮโดรเจลแต่ละชนิด ทำการฉีดพ่นส่วนผสมทั้งหมดไปยังผิวหน้าของดินที่เก็บตัวอย่างมา จากเหมืองหินปูน ผลของชนิดไฮโดรเจลไม่มีความแตกต่างทางสถิติในค่าร้อยละของการงอก ค่ากลางการพักตัวของเมล็ดหรือ MLD และร้อยละของการอยู่รอด (p < 0 0.05) แต่พบว่าชนิดของมะเดื่อและไทร ส่งผลต่อความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ต่อค่าร้อยละการงอก MLD และร้อยละการอยู่รอด (F. benjamina ต่ำกว่า F. hispida และ F. semicordata)

ไฮโดรเจลส่วนผสมระหว่าง NaCMC กับวุ้นหรือแป้ง (50:50) ถูกคัดเลือกเพื่อนำมาทดสอบ ด้วยเทคนิคไฮโดรซีดดิงกับเมล็ดมะเดื่อและไทร ในพื้นที่ลาดเอียงของเหมืองหินปูน โดยเริ่มทำการทดลองที่ช่วงเริ่มต้นฤดูฝนในปี 2556 พบว่าร้อยละของการงอกและการอยู่รอดในทุกชุดการทดลองมีค่าต่ำ ดังนั้นไฮโดรเจลที่ใช้ในการทดลองจึงยังไม่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้กับเมล็ดพืชสกุลมะเดื่อและไทร ในเทคนิคโฮโดรซีดดิง RSITY

Related Advice

ปลูกป่าโดยการหยอดเมล็ด

การหยอดเมล็ดง่ายกว่าการปลูกต้นกล้า แต่อาจจะไม่ได้ผลดีเสมอไป เรียนรู้วิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสมของการปลูกป่าโดยการหยอดเมล็ด