ห้องสมุด

ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อชีพลักษณ์ของพรรณไม้สำหรับการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย

Date
09 Apr 2020
Authors
Pattraporn Damminset
Publisher
Chiangmai University
Serial Number
274
Suggested Citation
Damminset, P. 2023. The Effects of Climate Change on Tree Phenology for Forest Restoration in Northern Thailand. BSc special project, Chiangmai University
Styrax benzoides

บทคัดย่อ: สภาพภูมิอากาศของโลกในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบต่อปัจจัยแวดล้อมทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ปัจจัยทางกายภาพบางประการมีอิทธิพลต่อระบบนิเวศป่าเขตร้อน ซึ่งพืชดอกตอบสนองด้านชีพลักษณ์ต่อปัจจัยดังกล่าวแตกต่างกันทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงระยะของใบ การออกดอก และการติดผล ปัญหาพิเศษนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางกายภาพ เช่น ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิอากาศ และความชื้นสัมพัทธ์ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2541 และ 2558-2562 ต่อชีพลักษณ์ของพรรณไม้ 13 ชนิด รวม 60 ต้น ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติดอยสุเทพ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ โดยบันทึกข้อมูลทางชีพลักษณ์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562 ถึง กุมภาพันธ์ 2563 ด้วยวิธี crown density จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญระหว่าง 2 ช่วงเวลาข้างต้นจากการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย t-test (p = 0.05) พบว่า ตาเสือ (Aphanamixis polystachya) และก่อเดือย (Castanopsis acuminatissima) มีระยะการออกดอกยาวนานขึ้น ไทรย้อยใบทู่ (Ficus microcarpa) และกำยาน (Styrax benzoides) มีระยะการออกดอกเร็วขึ้น โดยชีพลักษณ์ของพรรณไม้จะได้รับอิทธิพลจากอุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณน้ำฝนตามลำดับ ข้อมูลนี้สามารถนำไปใช้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่ารวมถึงเป็นข้อมูลในการสนับสนุนงานวิจัยอื่น ๆ ทีเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ผู้วิจัยเสนอแนะให้สำรวจชีพลักษณ์ของพรรณไม้ทั้งหมดที่ศึกษาอีกอย่างต่อเนื่องเพื่อศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงชีพลักษณ์ในอนาคต

 

Related Advice

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...