ห้องสมุด

ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อชีพลักษณ์ของพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือประเทศไทย

Date
09 Apr 2020
Authors
Nutchanok Kumsut
Publisher
Chiangmai University
Serial Number
273
Suggested Citation
Kumsut, N. 2023. The Impact of Climate Change on Tree Phenology for Forest Restoration in Northern Thailand. BSc special project, Chiangmai University
Michelia baillonii

บทคัดย่อ: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางกายภาพ อาทิเช่นอุณหภูมิ ปริมาณน้าฝน และความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งส่งผลให้ต้นไม้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการเจริญ เติบโตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งการศึกษาชีพลักษณ์ของต้นไม้สามารถบ่งชี้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ โดยทาการศึกษาชีพลักษณ์ของต้นไม้ 9 ชนิดพันธุ์ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ระยะเวลา 12 เดือน ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ.2562 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 และทาการเปรียบเทียบข้อมูลชีพลักษณ์ระหว่างปี พ.ศ. 2538-พ.ศ. 2541กับปี พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2563 พบการเปลี่ยนแปลงรูปแบบชีพลักษณ์การสืบพันธุ์ของต้นไม้ 5 ชนิดพันธุ์ 1) มะไฟ (Baccaurea ramiflora Lour.) 2) เติม (Bischofia javanica Blume) 3) ดีหมี (Cleidion spiciflorum (Burm.f.) Merr.) 4) จาปีป่า (Michelia baillonii (Pierre) Finet & Gagnep 5) หม่อนหลวง (Morus macrou- ra Miq.)

ซึ่งจากผลการศึกษาปัจจัยทางกายภาพระหว่างปี พ.ศ. 2537-พ.ศ .2541กับ พ.ศ. 2558-พ.ศ.2562 พบว่าปัจจัยทางกายภาพ 2 ปัจจัย คืออุณหภูมิเฉลี่ย (°C) และความชื้นสัมพัทธ์ (%) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อทดสอบด้วยวิธีการทดสอบ Paired sample t-Test

Related Advice

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...