ห้องสมุด

พันธุ์ไม้อันทรงคุณค่าของเอเชียเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนภายใต้การถูกคุกคาม

Date
2021
Authors
Gaisberger, H., Fremout, T., Kettle, C. J., Vinceti, B., Kemalasari, D., Kanchanarak, T., Thomas, E., Serra-Diaz, J. M., Svenning, J.-C., Slik, F., Eiadthong, W., Palanisamy, K., Ravikanth, G., Bodos, V., Sang, J.,Warrier, R. R.,Wee, A. K. S., Elloran, C.
Publisher
Wiley Periodicals LLC on behalf of Society for Conservation Biology
Serial Number
243
Suggested Citation
Gaisberger, H., Fremout, T., Kettle, C. J., Vinceti, B., Kemalasari, D., Kanchanarak, T., Thomas, E., Serra-Diaz, J. M., Svenning, J.-C., Slik, F., Eiadthong, W., Palanisamy, K., Ravikanth, G., Bodos, V., Sang, J.,Warrier, R. R.,Wee, A. K. S., Elloran, C., Ramos, L. T.,…Jalonen, R. (2022). Tropical and subtropical Asia’s valued tree species under threat. Conservation Biology, e13873. https://doi.org/10.1111/cobi.13873
Tropical and subtropical Asia’s valued tree species under threat

ความหลากหลายของต้นไม้ในป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของเอเชียเป็นศูนย์กลางของการแก้ปัญหาโดยอิงธรรมชาติ ความเข้าใจต่อชนิดพันธุ์ที่มีความเปราะบางต่อการคุกคามหลายรูปแบบซึ่งส่งผลต่อการให้บริการทางระบบนิเวศของชนิดพันธุ์เหล่านั้นยังมีน้อย ในที่นี้เราได้ทำการประเมินความเปราะบางของต้นไม้ 63 ชนิด ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมทั่วทั้งภูมิภาค ต่อการใช้ประโยชน์ที่มากเกินไป ไฟไหม้ การถูกกินที่มากเกินไป การเปลี่ยนแปลงพื้นที่อยู่อาศัย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำการคัดเลือกต้นไม้สำหรับการประเมินจากลำดับความสำคัญระดับชาติ และการคัดเลือกนี้ได้รับการตรวจสอบโดยเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญจาก 20 ประเทศ เราได้ใช้ Maxent suitability modeling เพื่อทำนายช่วงการกระจายของชนิดพันธุ์ ชุดข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เข้าถึงได้ฟรีเพื่อสร้างแผนที่ความเสี่ยง รวมไปถึงลักษณะของต้นไม้เพื่อประเมินความอ่อนไหวต่อภัยคุกคาม แผนที่ความเปราะบางเฉพาะชนิดถูกสร้างขึ้นจากแผนที่ความเสี่ยงและการประมาณความเปราะบางของชนิด จากความเสี่ยงต่อภัยคุกคามในปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราได้พิจารณาถึงพื้นที่ที่มีความสำคัญสำหรับการอนุรักษ์และฟื้นฟู ซึ่งพบว่า 74% ของพื้นที่ที่มีความสำคัญสำหรับการอนุรักษ์ต้นไม้เหล่านี้อยู่นอกพื้นที่คุ้มครอง และทุกชนิดถูกคุกคามอย่างรุนแรง โดยเฉลี่ยราว 47% ของถิ่นที่อยู่เดิม ภัยคุกคามที่ใกล้เข้ามามากที่สุด คือ การใช้ทรัพยากรที่มากเกินไปและการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย ประชากรถูกคุกคามอย่างรุนแรงจากปัจจัยเหล่านี้โดยเฉลี่ย 24% และ 16% ของช่วงตามลำดับ แม้ว่าการศึกษาในบางชนิดอาจสูญเสียที่อยู่อาศัยมากกว่า 15% ภายในปี 2050 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่แบบจำลองของเราได้ทำนายผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยรวมที่ถูกจำกัด เรายังได้ทำการระบุพื้นที่ธรรมชาติที่จำเพาะในป่าฝนบนเกาะบอร์เนียวให้เป็นฮอตสปอตสำหรับการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมของป่าภายในถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ กว่า 82% ของพื้นที่ทั้งหมดอยู่นอกพื้นที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่คุ้มครอง นอกจากนี้เรายังจัดให้พื้นที่เสื่อมโทรมใน Western Ghats ป่าแล้งในอินโดจีน และป่าฝนสุมาตราเป็นจุดฮอตสปอตสำหรับการฟื้นฟูป่า ซึ่งการปลูกหรือการช่วยเพื่อเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติจะช่วยอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เหล่านี้ และพื้นที่เพาะปลูกทางตอนใต้ของอินเดีย รวมไปถึงประเทศไทยยังเป็นอีกทางเลือกที่สำคัญสำหรับการทำวนเกษตรอีกด้วย ผลการศึกษาของเราเน้นถึงความจำเป็นในการดำเนินการประสานงานระดับภูมิภาคเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ

Related Advice

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า