ห้องสมุด

ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับคืนของชนิดไม้ยืนต้นในพื้นที่ฟื้นฟูป่าเขตร้อนจังหวัดเชียงใหม่ประเทศไทย

Date
2018
Authors
Ratanapongsai, Y.
Publisher
The Graduate School, Chiang Mai University
Serial Number
236
Suggested Citation
Ratanapongsai, Y., 2018. Factors Affecting the Recruitment of Tree Species in Restored Tropical Forest, Chiang Mai Province, Thailand. PhD Thesis, Chiang Mai University Graduate School
Factors affecting the recruitment of tree species in restored tropical forest, Chiang Mai province, Thailand

บทนนำ: FORRU-CMU ได้พัฒนาและประยุกต์ใช้วิธีการพรรณไม้โครงสร้าง (FWS) เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขตร้อน ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2537 เทคนิคการส่งเสริมกระบวนการการฟื้นตัวของป่าธรรมชาติ โดยการเลือกชนิดของต้นไม้ที่ดึงดูดสัตว์ผู้กระจายเมล็ด และสร้างสภาวะที่เอื้อต่อการงอกของเมล็ดและการตั้งตัวของต้นกล้าที่เข้ามาในพื้นที่ รายงานการวิจัยนี้ จึงได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของวิธีการดังกล่าว ต่อการเกิดใหม่ของต้นกล้าไม้ท้องถิ่น โดยการสำรวจแปลงที่ปลูกโดยวิธีการพรรณไม้โครงสร้าง ที่บ้านแม่สาใหม่ (BMSM) พื้นที่ศึกษาประกอบด้วยแปลงปลูกที่มีอายุต่างกัน 3 ช่วง: 6, 10 และ 14 ปี นับตั้งแต่เริ่มกิจกรรมการฟื้นฟู (อักษรย่อ R6, R10 และ R14) เปรียบเทียบกับพื้นที่ฟื้นฟูตามธรรมชาติอายุ 14 ปี (พื้นที่ควบคุม) และพื้นที่ป่าธรรมชาติเดิมที่หลงเหลืออยู่ (DSF) มีการสำรวจต้นกล้าของพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและต้นไม้ใหญ่อย่างเป็นระบบ ดัชนีพื้นที่ใบ (leaf area index: LAI) global site factor (GSF) และความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน (FC) ได้ถูกการประเมินเนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อการเกิดใหม่และอัตราการตายของต้นกล้า การศึกษาพบว่า 51% ของต้นไม้ใหญ่ทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณแปลง (รวมทั้งพรรณไม้โครงสร้าง) ประสบความสำเร็จในการเกิดใหม่เป็นต้นกล้าในทุก ๆ แปลงฟื้นฟู ปัจจัยจำกัดที่สำคัญคือการเป็นชนิดที่พบยากในพื้นที่รอบข้าง ขนาดเมล็ด รูปแบบการกระจายเมล็ด และ successional status ของพันธุ์ไม้ไม่ได้มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการเกิดใหม่ ช่วง 6-14 ปีหลังการฟื้นฟู ความหลากหลายของชนิดที่เกิดใหม่เพิ่มขึ้นจนกระทั่งมีความใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ (DSF) ต้นกล้าที่เกิดจากสัตว์ผู้กระจายเมล็ดพบได้บ่อยกว่าและมีอัตราการเกิดใหม่ที่สูงในทุกแปลงฟื้นฟู อัตราการเกิดใหม่ของต้นกล้าที่ไม่ใช่ไม้เบิกนำมีความคล้ายครึงกันในแปลงปลูกทั้ง 3 ช่วงอายุ ในขณะที่อัตราการตายของไม้เบิกนำในแปลง R6 ต่ำกว่าในแปลง R10-14 หลังจาก 6 ปีของการฟื้นฟู ความหนาแน่นและความเด่นในด้านพื้นที่หน้าตัด (BA) ของพรรณไม้โครงสร้างที่ปลูกนั้นสูงกว่าต้นไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในแปลง DSF นอกจากนี้ ความหนาแน่ของเรือนยอดป่าของต้นไม้ที่เป็นพรรณไม้โครงสร้างส่งผลให้ระดับแสงที่ส่องถึงพื้นในแปลงปลูกลดลงในระดับที่คล้ายกับแปลงธรรมชาติ DSF อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการกักเก็บความชื้นในดิน (เปอร์เซ็นต์ความชื้นที่ดินสามารถรองรับได้ FC) ของแปลงฟื้นฟู R ทั้งหมดต่ำกว่าแปลงของป่าธรรมชาติ DSF ทั้ง BA ของต้นไม้และสภาพแสงมีผลต่ออัตราการเกิดใหม่และการตายของทั้งต้นกล้าที่เป็นไม้เบิกนำและไม่ใช่ไม้เบิกนำ LAI และ BA ที่ต่ำของต้นไม้ชั้นพื้นล่างในพื้นที่ฟื้นฟู ช่วยส่งเสริมการเกิดใหม่ของต้นกล้าที่ไม่ใช่ไม้เบิกนำ ในขณะที่ GSF ต่ำและ BA สูงของต้นไม้ชั้นเรือนยอด จะลดการเกิดใหม่ของกล้าไม้เบิกนำ สภาวะใน R6 เอื้อต่อการตั้งตัวของไม้เบิกนำได้มากกว่าการเกิดในแปลงที่อายุมากกว่า โครงสร้างป่าของการฟื้นตัวตามธรรมชาติในแปลงควบคุม (หลังจาก 14 ปี) พัฒนาได้ไม่ดี ต้นไม้ชนิดที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ล้มเหลวในการเกิดใหม่ในแปลงควบคุม บริเวณแนวขอบของแปลงควบคุม R14 มีสภาพที่ดีกว่าสำหรับการตั้งตัวของเมล็ด

เทคนิค FWS ช่วยเร่งการฟื้นตัวของพื้นที่ป่าและการเกิดใหม่ของพรรณไม้ท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับ DSF และแปลงควบคุม ซึ่งเป็นการฟื้นตัวตามธรรมชาติ พรรณไม้โครงสร้างได้รับการพัฒนาอย่างดี ให้ที่ร่มรื่นสำหรับการตั้งตัวของกล้าไม้ และส่งเสริมการฟื้นตัวของพื้นที่อยู่อาศัยเกินขอบเขตของแปลง อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ FC ของดิน เนื่องจากการฟื้นตัวหลังจาก 14 ปีเป็นไปอย่างช้ากว่าที่คาดการณ์ ควรมีการนำพรรณไม้ท้องถิ่นที่หายไปจากพื้นที่หรือเป็นชนิดที่หายากในบริเวณภูมิประเทศโดยรอบมารวมไว้ในการปลูกแบบ FWS เพื่อเพิ่มความหลากหลาย เนื่องจากพรรณไม้เหล่านั้นไม่สามารถเกิดเองได้โดยธรรมชาติ การผสมผสานวิธีการฟื้นฟูที่หลากหลายวิธีอาจช่วยให้นักวิจัยเอาชนะข้อจำกัดของพื้นที่และเร่งการฟื้นตัวของป่าในภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ขึ้น

Related Advice

ความหลากหลายทางชีวภาพ

การฟื้นตัวของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการฟื้นฟูป่า อะไรเป็นตัวชี้วัดที่ดีและสามารถนำมาประเมินผลได้...

การเลือกชนิดพรรณไม้เพื่อการฟื้นฟูป่า

ข้อแนะนำสำหรับการเลือกชนิดพรรณไม้ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูป่า

นิเวศวิทยาป่าไม้

การรู้ว่าป่ามีการฟื้นตัวตามธรรมชาติได้อย่างไร (พลวัตของป่า) จะช่วยให้คุณวางแผนโครงการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ – คลิกที่นี่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า...